กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน ก. วิทย์ - ก. เกษตรฯ ร่วมผนึกกำลังใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความเข้มแข็งให้ภาคเกษตร

ก. วิทย์ - ก. เกษตรฯ ร่วมผนึกกำลังใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความเข้มแข็งให้ภาคเกษตร

พิมพ์ PDF

 

ดร. สุจินดา  โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมลงนามความร่วมมือกับ นายยุคล  ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการสร้างความเข้มแข็งของภาคเกษตรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2553 ณ ห้องประชุม 123 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                  การลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเกษตรกรรมพร้อมรับมือกับภาวะโลกร้อน รวมถึงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเทคนิควิชาการ ก่อให้เกิดผลงานและวิทยาการใหม่ๆ ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสู่การนำไปใช้ประโยชน์ และเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับภาคเกษตรกรรม โดยมี
เป้าหมายในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พัฒนาความเข้มแข็งให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน อาทิ เกษตรกร สถาบันเกษตรกรรม อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการค้า การแปรรูป และการส่งออก รวมถึงกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่ผลิตเพื่อการยังชีพด้วย

 

                 ดร. สุจินดา  โชติพานิช กล่าวว่า ทั้งสองกระทรวงได้ร่วมมือกันในเชิงนโยบาย เพื่อการวิจัยพัฒนาการเกษตร เตรียมความพร้อมรองรับภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจุบันภาคการเกษตรจำเป็นต้องนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เนื่องจากเหตุผลดังนี้

1. สถาบันนานาชาติเพื่อการจัดการ (Institute for Management Development : IMD) จัดให้ภาคเกษตรของประเทศไทยมีประสิทธิภาพการผลิต
อยู่อันดับที่ 53 จาก 57 ประเทศ ซึ่งมีอันดับลดลงสองอันดับเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนนั้น

                                2. ผลผลิตต่อพื้นที่ของสินค้าเกษตรหลายชนิดของประเทศไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การขาดแคลนพันธุ์ที่ดี
การบริหารจัดการที่เหมาะสม การใช้เทคโนโลยีไอที เป็นต้น

3. พื้นที่เพาะปลูกมีปริมาณจำกัด แต่ความต้องการใช้ผลผลิตทางการเกษตรทั้งในและต่างประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมและอุตสาหกรรมใหม่ เช่น อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ พลังงานชีวภาพ เป็นต้น

4. การขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้าไปเพื่อทดแทนแรงงานที่หายากและมีราคาแพงมากขึ้น

5. ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและความปลอดภัย

6. ภาวะโลกร้อนจะกระทบต่อภาคเกษตรค่อนข้างมาก ดังนั้น การทำเกษตรกรรมในปัจจุบันจะมีการผสมผสานระหว่างศาสตร์แขนงต่างๆ มากขึ้น
ทั้งวิทยาศาสตร์เกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ อิเล็กทรอนิกส์ วัสดุศาสตร์ และนาโนเทคโนโลยี เพื่อให้การทการเกษตรมีความแม่นยำสูง ที่เรียกว่า
“Precision Farming” เป็นการทำการเกษตรโดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูง รวมถึงการเพาะปลูกในระบบโรงเรือนเพื่อป้องกันความสูญเสียจากโรคแมลง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และลดข้อจำกัดของฤดูกาลเพาะปลูก

 

 

นายยุคล  ลิ้มแหลมทอง กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร อันดับต้นๆ ของโลก ภาคเกษตรจึงมีบทบาทในการสร้างรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ แม้จะไม่สูงเทียบเท่ากับภาคอุตสาหกรรม แต่เป็นภาคที่เกี่ยวข้องกับประชากรจำนวนมาก และแม้ว่าโลกจะเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ และวิกฤติอาหาร คนไทยก็ยังมีอาหารเพียงพอ แต่ในปัจจุบันภาคเกษตรต้องเผชิญกับความท้าท้ายใหม่หลายประการ ในเรื่องประสิทธิภาพที่ลดลง ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยเมื่อประกอบกับความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการทำการเกษตรอย่างเข้มข้น ทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ที่สภาพทรัพยากรธรรมชาติยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่ ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงจำเป็นต้องอาศัยการวิจัย พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำมาสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดจากภาวะเรือนกระจก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตภาคเกษตรทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการเกษตรต้องปรับการผลิตให้เป็นแบบ Low Carbon เพื่อร่วมมือลดปัญหาโลกร้อน
ดังนั้นในการจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตร ได้กำหนดให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การเพิ่มมูลค่าสินค้า เพื่อสนองความต้องการของตลาด การปรับปรุงระบบ
โลจิสติกส์ ตลอดจนการปรับระบบการผลิต การบริโภคที่เป็น
Cool and Green ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

 

 

ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวต่อว่า การดำเนินการเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยการผลิตบนพื้นฐานองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มรายได้ของเกษตรกร ลดแรงจูงใจในการออกจากภาคเกษตร และสนับสนุนการเจริญเติบโตของภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรอย่างต่อเนื่องตลอดไป

 

เขียนข่าวโดย : น.ส.ชลารัตน์  มีแก้ว

ภาพโดย : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ โทร. 0 2333 3732

 

 

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมทัพ 35 หน่วยงานรัฐ-เอกชน เดินหน้า “ประชารัฐร่วมใจยกระดับ โอทอป ด้วย วทน.”
» สทน. ลงนามความร่วมมือกับวินอะตอม เวียดนาม ร่วมวิจัยและสร้างมาตรการความปลอดภัยทางนิวเคลียร์
» ผู้แทนจากฟิลิปปินส์เข้าเยี่ยม รมว.วท. เตรียมร่าง 'ข้อตกลงฯ ด้านวิทยาศาสตร์ฯไทย-ฟิลิปปินส์' อีกครั้ง
» 3 หน่วยงานร่วมมือผุดเมืองสุขภาพที่ปราจีนบุรี ดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม
» สวทช. ผนึกกำลัง กรมอุทยานแห่งชาติฯ ม.สงขลานครินทร์ และ จ.ตรังใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฟื้นฟู ปกป้อง และจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลหาดหยงหลำและเกาะมุก อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง
» กระทรวงวิทย์ สวทช. และ ออโต้เดสก์ ร่วมขยายอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการผลิตดิจิทัลในประเทศไทย
» สวทช. ผนึกกำลัง กรมอุทยานแห่งชาติฯ ม.สงขลานครินทร์ และ จ.ตรัง ใช้ วท. ฟื้นฟู ปกป้อง และจัดการ ทรัพยากรชายฝั่งทะเล
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป