กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน รมว.วท.พร้อมคณะที่ปรึกษา รมว. เยี่ยมชมหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์ฯ

รมว.วท.พร้อมคณะที่ปรึกษา รมว. เยี่ยมชมหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์ฯ

พิมพ์ PDF


  ดร.วีระชัย  วีระเมธีกุล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  พร้อมคณะ เยี่ยมโครงการ “วิถีชีวิต คือวิทยาศาสตร์  อุดมด้วยศาสตร์  พัฒนาด้วยเทคโนโลยี” ของเครือข่ายหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน  ณ อาคารศูนย์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน  และศูนย์การเรียนรู้เกษตรครบวงจนอย่างยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดนครปฐม  พร้อมทั้งมอบป้ายหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เครือข่ายหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 10 หมู่บ้าน และชมนิทรรศการของเครือข่ายหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ โดยมี ผศ.ดร.ปราโมทย์  สฤษดิ์นิรันดร์  ผู้ประสานงานเครือข่ายหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นายสุรพล แสวงศักดิ์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม  และนายนอบ  คงพูน  นายอำเภอกำแพงแสน ให้การต้อนรับ   เมื่อวันที่  17  กันยายน 2553
        ดร.วีระชัย  วีระเมธีกุล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า  ความร่วมมือต่อไปในอนาคตโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายและหมู่บ้านสมทบ  กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  อาจจะมีโอกาสมาสัมผัสกับข้างล่างน้อย  แต่เราก็พยายาม เพราะกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ไม่มีหน่วยงานในต่างจังหวัด  ไม่มีหน่วยงานในท้องที่  เพราะฉะนั้นเรื่องการสร้างเครือข่ายผมถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด  โครงการหมู่บ้านแม่ข่ายฯ  เราก็มีเครือข่ายในแต่ละภาค  สิ่งที่ผมอยากจะเห็นต่อไปในอนาคต  คือท่านจะทำอย่างไรที่ท่านจะลงไปสนับสนุนคนที่อยู่ในพื้นที่ของท่าน  ให้เขาสามารถที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ทางกระทรวง วิทยาศาสตร์ฯ มีจุดแข็งหลายอย่าง  ทางมหาวิทยาลัยของท่านก็มีจุดแข็งหลายเรื่อง  ตัวอย่างเรามีองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  และนวัตกรรมเยอะ  ท่านก็มี  แต่ว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ไม่ได้อยู่ในพื้นที่  ฉะนั้นเราจำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายอย่างพวกท่าน  แต่มีเครือข่ายที่เป็นมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ  เราต้องสร้างเครือข่ายในวงกว้าง  ที่สำคัญที่สุดเลยคือทางจังหวัด  ทางกระทรวงมหาดไทย  ซึ่งเป็นเรื่องหลักที่จะลงไปสัมผัสกับชุมชน  ลงไปทำงานกับชุมชนเพื่อให้ทราบความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง  และจะต้องรู้ว่าเขามีศักยภาพที่จะทำหรือไม่  ถ้ามีจะต่อยอดอย่างไร  และที่สำคัญถ้าเขาไม่มี  เรามีกำลังพอที่จะลงไปสนับสนุนเขาหรือไม่  ในการทำเรื่องต่าง ๆ   องค์ความรู้ที่เรามีมีอยู่มากมายที่สำคัญคือ วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี และนวัตกรรม  สิ่งสำคัญคือความร่วมมือที่เรามีกันอยู่แล้วจะต้องมีความใกล้ชิด  มีการขยายความสัมพันธ์การทำงานไปมากยิ่งขึ้น  อยากจะเน้นว่าการทำงานต่อไปในอนาคต อยากเห็นการลงไปพบปะพูดคุย ทำงานกับชาวบ้านให้มากขึ้น  โดยจะต้องมีทั้งจังหวัดและภาคประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วย  วันนี้ผมจะได้มีโอกาสไปดูหมู่บ้านแม่ข่าย 10 แห่งที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้วว่ามีความเหมาะสมที่จะให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ลงไปพัฒนาหมู่บ้านของเขา  ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของหมู่บ้านเขาดีขึ้น  เพราะสร้างงาน  สร้างรายได้มากขึ้น    
         ดร.วีระชัย  วีระเมธีกุล  กล่าวภายหลังเยี่ยมชมนิทรรศการฯ ว่า  กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มาเป็นระยะเวลานานแล้ว  วันนี้ผมดีใจที่ได้มาตรวจเยี่ยมโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ซึ่งมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน  เป็นโครงการที่จะนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงมาสู่ประชาชน ชุมชน  เราจะเอาวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี มาช่วยพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น  ทั้งนี้  เพื่อเป็นการสร้างรายได้  ยกระดับคุณภาพชีวิต  วันนี้ที่มาดูก็เป็นโครงการที่ได้รับการยอมรับ  10 หมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ  ซึ่งเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการที่จะนำไปพัมนาหมู่บ้านอื่น ๆ  ต่อไปในอนาคต  10 หมู่บ้านนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับ 2 เรื่อง  1. การเกษตรหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร  เราก็มีโครงการที่จะขยายเครือข่ายหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ เพิ่มเติม  ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 160 หมู่บ้าน  ปีหน้าจะเพิ่มอีก 30-35 หมู่บ้าน  การทำโครงการฯ อย่างนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ไม่สามารถทำเพียงลำพังได้  มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครือข่ายเพิ่มขึ้น  อย่างกรณีนี้ก็เป็นเรื่องของทางสถาบันการศึกษา  จังหวัด  ภาคประชาสังคม  และเครือข่ายภาคประชาชน
         การทำงานลงไปในชุมชนจำเป็นต้องอาศัยเครือข่าย  ตั้งแต่มหาวิทยาลัย  สถาบันการศึกษาต่างๆ   จังหวัด  ภาคเอกชน  และภาคประชาสังคม เรื่องของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงไปในชุมชน  ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และสถาบันการศึกษาที่ร่วมมือด้วย มีความพร้อมในเรื่องนี้  ซึ่งจะทำได้มากน้อยเพียงใดจะขึ้นอยู่กับชุมชนด้วยว่ามีมากน้อยเพียงใด  อย่างที่ได้เห็น 10 หมู่บ้านแม่ข่ายฯ  ได้ผ่านการคัดเลือกได้รับการยอมรับมาแล้วว่า เป็นหมู่บ้านที่พร้อมที่จะนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ลงไปปรับปรุงกระบวนการผลิต  เพิ่มคุณภาพสินค้าและบริการของเขา
         เครือข่ายหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 10 หมู่บ้าน  ได้แก่
         1.  หมู่บ้านหน่อไม้ฝรั่งและข้าวโพดฝักอ่อน  บ้านรางเกตุ  ต.ทุ่งลูกนก  อ.กำแพงแสน  จ.นครปฐม
          2.  หมู่บ้านข้าวสุขภาพปลอดภัยจากสารพิษ  บ้านหนองจิก  ต.ทุ่งลูกนก  อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
          3.  หมู่บ้านไม้ผลไทยเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร  หมู่บ้านรางสีหมอก  ต.ท่านัด  อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
          4.  หมู่บ้านผักครบวงจรเพื่ออุตสาหกรรมสดและการแปรรูปเชิงพาณิชย์  หมู่บ้านดอนขุนวิเศษ ต.ห้วยหมอนทอง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
          5.  หมู่บ้านผักและผลไม้อินทรีย์  หมู่บ้านหนองจอก ต.หนองพันธ์ กิ่งอ.บ้านคา จ.ราชบุรี
          6.  หมู่บ้านวนเกษตรธนาคารพันธุ์พืช  บ้านเขาพลู ต.ท่ากุ่ม อ.เมือง จ.ตราด
          7.  หมู่บ้านไม้กฤษณา  บ้านตากแว้ง ต.บ่อพลอย อ.บ่อไร่ จ.ตราด
          8.  หมู่บ้านเกษตรปลอดสารพิษเพื่อการท่องเที่ยว  บ้านเขาป้อม ต.หน้าเมือง อ.เกะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
          9.  หมู่บ้านไผ่หัตถกรรมพื้นบ้าน  บ้านวังเขมร  ต.ท่าเสา  อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
          10.  หมู่บ้านสมุนไพรไทยสุคนธบำบัด  หมู่บ้านเกาะสมบูรณ์  ต.เจ็ดเสมียน  อ.โพธาราม จ.ราชบุรี


 

 

ผู้เขียนข่าว  :  นายปราโมทย์  ป้องสุธาธาร  โทร. 0-2333-3700 ต่อ 3728
                       โทรสาร 02-354-3763     E-Mail :  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

ภาพข่าวโดย : นางสาวสุนิสา ภาคเพียร กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ 02-333-3700 ต่อ 3732

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป