กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน “การพัฒนาแบบยั่งยืนเพื่อรักษาโลก : เทคโนโลยีและกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ 2050”

“การพัฒนาแบบยั่งยืนเพื่อรักษาโลก : เทคโนโลยีและกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ 2050”

พิมพ์ PDF

มื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ ฉลองครบรอบวันสถาปนา 48 ปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง “การพัฒนาแบบยั่งยืนเพื่อรักษาโรค : เทคโนโลยีและกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ 2050 ” ณ  โรงแรม Hilton Millennium ถนนเจริญนคร กรุงเทพฯ

 

 

 

 

 

 

 

            มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ดำเนินการมาครบ 48 ปี  ใน ปี 2551 มุ่งก้าวเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและการ วิจัยในระดับโลก การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ นอกจากเพื่อเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 48 ปี มจธ. แล้วยังเป็นการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยและหน่วย งานอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศเพื่อสร้างฐานความรู้ด้านการวิจัยให้มีคุณภาพและมีทิศ ทางร่วมกันมากขึ้น เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและสมานฉันท์ทางวิชาการด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อมและศาสตร์อื่นๆ ของประเทศในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเพื่อมองปัญหาและแสวงหาเทคโนโลยีและกลยุทธ์ในการแก้ไขในอนาคตร่วมกัน

            จากหัวข้อการประชุม “การพัฒนาแบบยั่งยืนเพื่อรักษาโรค : วิสัยทัศน์ 2050” เนื่อง จากปัจจุบันประเด็นด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาทั้งระดับท้องถิ่น ภูมิภาคและระดับโลก ที่เกิดจากวิกฤตการใช้พลังงานแบบไม่สมดุล ทำให้มีผลกระทบต่อโลกและสภาพภูมิอากาศที่เห็นชัดเจนขึ้นอย่างต่อเนื่อง การแก้ปัญหานี้ไม่เพียงต้องการเฉพาะความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยี แต่ต้องมีการสร้างกลยุทธ์ที่เหมาะสมด้วยเพื่อสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของ โลกได้อย่างยั่งยืน การประชุมจึงได้มุ่งเน้นไปที่มุมมองของการพัฒนาแบบยั่งยืน ในกรอบอนาคตอีก 40 ปีข้างหน้า (วิสัยทัศน์ 2050) เพื่อแสวงหางานวิจัยที่มีความสนใจร่วมกันโดยมุ่งหวังการศึกษาและการวางแผน แก้ปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคแบบยั่งยืน เพื่อเตรียมตัวและสร้างความพร้อมสำหรับปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนจัดเตรียมข้อมูลในการวางกลยุทธ์ในทางวิชาการของภูมิภาคครอบคลุมทั้ง ประเทศในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้มีทิศทางในอนาคตและสร้างความเข็มแข็งร่วมกัน

            การจัดประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อฉลอง 48 ปี มจธ.  นอก จากการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและความร่วมมือทางวิชาการจากเครือข่ายเดิม ยังเป็นการขยายขอบข่ายอื่นระดับชาติและนานาชาติของมหาวิทยาลัยที่มีความสนใจ และมีงานวิจัยสอดคล้องกับการเทคโนโลยีและกลยุทธ์พลังงานในศาสตร์และมุมมอง อื่น เพื่อช่วยสร้างยุทธศาสตร์ในการรักษาโลกและสิ่งแวดล้อมให้ครบด้านมากขึ้น และเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาพลังงานอย่างสมบูรณ์และนำไปใช้ใน การพัฒนาแบบยั่งยืนได้อย่างจริงจังมากขึ้น

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» การประชุมวิชาการสวทช.ประจำปี 2559 (NAC 2016) 2 เมษายน 2559
» รมว.วท. เป็นประธานเปิดงาน “YPO-SASIN Executive Leadership Program” สะท้อนนวัตกรรมไทยสู่การพัฒนา
» กระทรวงวิทย์ฯ โดย สวทช. จัดงานประชุมวิชาการ 2 งานใหญ่ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
» สดร. จับมือ สสวท. เปิดเวทีนำเสนอโครงงานดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน ทั่วประเทศร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
» กระทรวงวิทย์ฯ สนับสนุนศูนย์นวัตกรรมแห่งแรกของโลกกับกลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน และมหาวิทยาลัยมหิดล
» กระทรวงวิทย์ฯ ดันดาราศาสตร์จัดประชุมวิชาการเพื่อเยาวชนระดับชาติครั้งแรกของไทย
» รมว.วท.เปิดงานจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการ NECTEC ACE 2014 “ตอบโจทย์ประเทศไทย งานวิจัยใช้ได้จริง
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป