กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน รมว.วิทย์ฯ ให้แนวนโยบายพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ในที่ประชุม ทวท.

รมว.วิทย์ฯ ให้แนวนโยบายพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ในที่ประชุม ทวท.

พิมพ์ PDF

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ทวท.) ครั้งที่ 4/2553 ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2553 โดยมี ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  บรรยายพิเศษ หัวข้อ “แนวนโยบายการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”  ณ  ห้องประชุมสารนิเทศ  อาคารบริหาร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2553  เวลา  14.00 น.  
              ดร.วีระชัย  วีระเมธีกุล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เปิดเผยว่า  วันนี้ได้มาพูดคุยกับอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องนโยบายของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ได้พูดไว้เมื่อวันก่อนว่า  อยากเห็นการทำวิจัยและการใช้ประโยชน์จากการทำวิจัยมากขึ้น  โดยเฉพาะเรื่องของการต่อยอดทางด้านธุรกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ  ว่าเราควรจะร่วมมือกันทำอะไรบ้าง  งบในการทำวิจัยมีอยู่แล้ว  มีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เราสนับสนุนอยู่  แต่วันนี้ที่มาพูดไม่ใช่เรื่องงบประมาณ  ในการที่เราจะทำงานวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจะต้องทำอะไรบ้าง  เรื่องที่หนึ่งที่พูดถึง คือเรื่องแนวความคิดว่า แนวความคิดภาครัฐภาคเอกชนควรให้ความสำคัญทางด้านการวิจัยควรจะทำอย่างไร   เรื่องที่สองเป็นความร่วมมือกันทางด้านบุคลากร  สามเป็นเรื่องของเงินทุน  เงินงบประมาณ  เรื่องที่สี่เป็นโครงสร้างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย  และห้าเรื่องการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา  ซึ่งเรื่องต่างๆ ที่ผมพูดเป็นเรื่องที่ทางภาคเอกชนสะท้อนมาว่าเขาอยากเห็น          

              สำหรับในเรื่องเส้นทางวิชาชีพวิทยาศาสตร์  ต้องทำอย่างน้อย 2 เรื่อง  เรื่องที่ 1  เราจะทำอย่างไรให้คนที่เรียนจบทางด้านวิทยาศาสตร์ออกมาทำงานทางด้านนี้แล้วมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี  2. เป็นอาชีพที่มีรายได้มั่นคง  ไม่แพ้คนที่จบมาทางด้านวิทยาศาสตร์อื่น ๆ  เช่น แพทย์  วิศวะ ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ก็ได้ปรับทางด้านนี้ตลอดเวลา  เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ สวทช. ก็ได้ปรับเงินเดือนคนที่จบปริญญาเอกใหม่  
              ถ้าต้องการต่อยอดงานวิจัยไปสู่ภาคเอกชน สิ่งที่ดีที่สุดต้องให้นักวิจัยมาทำงานร่วมกัน  จะทำให้นักวิจัยเข้าใจโจทย์ของทางด้านภาคธุรกิจและภาคเอกชน  และเรื่องระเบียบของภาครัฐที่ไม่เอื้ออำนวยให้นักเรียนทุนของเรา เมื่อจบออกมาแล้วได้มีโอกาสมีประสบการณ์การทำงานกับบริษัทข้างนอกหรือภาคเอกชน  อย่างไรก็ตามก็มีช่องทางที่สามารถจะทำได้ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์กรนั้นจะมีแนวคิดในเรื่องนี้อย่างไร        
              ด้าน ศาสตราจารย์  ดร.ประสาท  สืบค้า  อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า มทส. เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  และเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติหนึ่งในเก้าแห่งของประเทศ  ซึ่งเน้นการเรียนการสอนและการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ  เราตระหนักถึงพันธกิจหลักในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพป้อนเข้าสู่ระบบแรงงาน  ในยุคเทคโนโลยีที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ทงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง  การได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาบรรยายพิเศษดังกล่าว  มทส. รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งและถือเป็นโอกาสอันดีที่ทุกฝ่ายจะได้รับทราบแนวนโยบายด้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมนี้  จะสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สามาถนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
              ด้าน  รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร  มากตุ่น  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  เป็นประธานที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ทวท.)  ครั้งที่ 4/2553  กล่าวว่า  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อน  การพัฒนาวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย  ได้กำหนดจุดมุ่งหมายและจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพ  และมุ่งเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นกลไกในการผดุงรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์  ของสถาบันอุดมศึกษา  ดังนั้นสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง  จึงได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการให้การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง  
              ที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ทวท.)  ซึ่งมีความร่วมมือของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน  25 แห่ง  และมีปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นที่ปรึกษา  ได้จัดประชุมและมีกิจกรรมร่วมกันมาตลอด  มีการหมุนเวียนและจัดการประชุมอย่างต่อเนื่อง  เพื่อหาแนวทางในการจัดการศึกษาและการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ของปี 2553   ที่สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มทส. จังหวัดนครราชสีมา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ และมีจุดประสงค์เพื่อเป็นเวทีที่จะเผยแพร่ความรู้และแลกเปลี่ยนการดำเนินกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ของเครือข่ายในสถาบันอุดมศึกษา  และนำแนวนโยบายในการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาประเทศ  ให้เป็นประเทศที่ใช้วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ 

 

 

 

 


ผู้เขียนข่าว  :  นายปราโมทย์  ป้องสุธาธาร  โทร. 0-2333-3700 ต่อ 3728
                       โทรสาร 02-354-3763     E-Mail : 
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

ภาพข่าว      :  นายไววิทย์ ยอดประสิทธิ์      โทร. 0-2333-3731

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป