![]() |
![]() |
วันนี้ (21 สิงหาคม 2553) เวลา 13.30 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเยี่ยมชม "งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2553" โดยมี ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้การต้อนรับ
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมนิทรรศการเทิดพระเกียรติและกิจกรรมของหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่แสดงให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักผลงานแห่งความสำเร็จของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนิทรรศการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ทุกหน่วยงานบรรจงสร้างเพื่อร่วมแสดงในกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี ดังนี้
1. สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) : Rhythm of Time (จังหวะของเวลา)
การพัฒนาขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการด้านเวลาและความถี่จนเป็นที่ยอมรับในระดับสากลแล้ว โดยได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO:17025จากสถาบันรับรองมาตรฐานระดับโลกจากประเทศเยอรมันและ ประเทศญี่ปุ่นการสามารถเข้าถึงเวลาได้ถึง 4 วิธี (1) การสอบเทียบเครื่องมือวัดทางด้านเวลาและความถี่ (2) วิธีการเปรียบเทียบเวลามาตรฐานผ่านทางอินเตอร์เน็ต (3) วิธีการเปรียบเทียบเวลามาตรฐานผ่านทางระบบโทรศัพท์พื้นฐาน (4) วิธีการเปรียบเทียบเวลามาตรฐานผ่านทางระบบ FM/RDS
2. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพ.) : นิทรรศการตา
3. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (สซ.) : แสงซินโครตรอนเพื่อประชาคมวิจัยไทย
ฉายมัลติมีเดียกระบวนการผลิตแสงซินโครตรอน นิทรรศการแสดงผลงานวิจัยเด่นประจำปี สซ. กิจกรรมเล่นเกมส์ มอบของรางวัล
4. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
โลกสีเขียวกับพลาสติกชีวภาพกิจกรรมเพื่อให้ทุกคน รู้จักพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อธรรมชาติ พร้อมทั้งสร้างจิตสำนึกให้รักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
5. สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)
จากอดีตสู่ปัจจุบันนิวเคลียร์ไทย นิทรรศการเล่าเรื่องในอดีตของนิวเคลียร์ในประเทศไทยตลอดจนเหตุการณ์สำคัญในยุคนั้น จนได้พัฒนามาเป็นเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในปัจจุบัน
6. เทคโนโลยีเพื่อผู้พิการ หรือ เทคโนโลยีเพื่อความเท่าเทียม แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นให้มีส่วนในการเพิ่มศักยภาพ ความสามารถ และคุณภาพชีวิตของผู้พิการประเภทต่างๆ รวมทั้งการสร้างความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันระหว่างผู้พิการกับคนทั่วไป
7. กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
ธรรมชาติสู่ชีวิต ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ (1)การจัดเป็นสวนและพืชสมุนไพร แหล่งน้ำให้ความรู้การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ การนำผลงานวิจัยพัฒนาช่วยแก้ปัญหาแหล่งน้ำอุปโภค-บริโภค ด้วยเทคโนโลยีการผลิตสารกรองสนิมเหล็กในน้ำบาดาลเครื่องกรองน้ำ เรืออัตโนมัติเพื่อเก็บตัวอย่างน้ำ การตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างง่ายๆ (2) ความรู้เกี่ยวกับพืชสวนและพืชสมุนไพร ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากพืชสวน (3) บ้านซึ่งเป็นแล็ปในสวนธรรมชาติ มีผลงานวิจัยของ วศ. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากข้าวหอมนิล น้ำยาล้างงานจากสมุนไพร ภาชนะเซรามิก วัสดุเหลือทิ้งจากธรรมชาติ วัสดุสัมผัสอาหารจากธรรมชาติถึงปัจจุบัน
8. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
9. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร : การจัดการทรัพยากรน้ำด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10. สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) : Getting to know mebetter (รู้จักเชื่อมั่นปส.)
เสนอกิจกรรมบทบาทหน้าที่ของ ปส.ผ่านเกมส์ และกิจกรรมแจกของรางวัล
11. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ : ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ได้มุ่งเป้าหมายไปค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ เพื่อหาคำตอบว่ายังมีดาวเคราะห์ที่คล้ายโลกของเราหรือไม่ และถ้ามีจะมีสิ่งมีชีวิตหรือเปล่า ตอนนี้จึงจะมีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ บางส่วนแล้วแต่ยังไม่พบดาวเคราะห์ที่สามารถดำรงชีพได้
12. สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
โดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยี จัดแสดงและสาธิตผลงานการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยคลินิกเทคโนโลยี
13. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สทอภ.
นำเสนอเกี่ยวกับ ขั้นตอนการปล่อยจรวดการรับสัญญาณ ข้อมูลดาวเทียม การผลิตข้อมูล การประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านต่างๆนอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการอื่นๆที่น่าสนใจของงาน อาทิ
วิกฤติโลก แสดงการสร้างความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวกับปัญหาที่คนไทยและคนในโลกกำลังเผชิญ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อน ภัยพิบัติ พลังงาน น้ำ โรคอุบัติซ้ำ-อุบัติใหม่ โดยให้เห็นถึงสาเหตุ ผลที่เกิดขึ้นวิธีการป้องกัน ชะลอและการรับมือกับวิกฤติเหล่านั้น
ความหลากหลายทางชีวภาพ นิทรรศการและกิจกรรมร่วมฉลองปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างประสบการณ์ที่ให้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะในประเทศไทย
ข่าวโดย : อุษา ขุนเปีย กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร 02.333-3700 ต่อ 3732
ภาพข่าวโดย : สุนิสา ภาคเพียร กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
: PICO