กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน รมว.วท. เป็นประธานแถลงข่าว ความก้าวหน้าโครงการรีไซเคิลลำไยค้างสต๊อค

รมว.วท. เป็นประธานแถลงข่าว ความก้าวหน้าโครงการรีไซเคิลลำไยค้างสต๊อค

พิมพ์ PDF

ดร.วีระชัย  วีระเมธีกุล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และ นายศุภชัย  โพธิ์สุ  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เป็นประธานร่วมในงานแถลงข่าว ความก้าวหน้าโครงการรีไซเคิลลำไยค้างสต๊อค โดยใช้เป็นพลังงานชีวมวล ผลสำเร็จการบดลำไยหน้าโกดัง    ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เมื่อวันที่ 14  กรกฎาคม  2553  เวลา  15.30 น. โดยมี  รศ.ดร.วีระพงษ์  แพสุวรรณ  รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  ผศ.ดร.รังสรรค์  ทองทา   อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   คุณณรงค์  สกุลศิริรัตน์  อุปนายกสมาคมเครื่องจักรกลไทย   แขกผู้มีเกียรติ  และสื่อมวลชน  ร่วมงาน 

 

      ดร.วีระชัย  วีระเมธีกุล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เปิดเผยถึงแนวคิดในการแก้ปัญหาลำไยค้างสต๊อค ว่า ปีที่ผ่านมาลำไยในประเทศไทย 80-90% จะนำส่งขายในประเทศจีน ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ เรื่องของคุณภาพ  การปลอมปนระหว่างลำไยเก่าและลำไยใหม่  ทำให้ราคาลำไยตกต่ำลงส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ลดลง  ดังนั้น การรีไซเคิลลำไยจึงเป็นวิธีที่ช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้  วิธีการมี 2 ขั้นตอน  ขั้นตอนแรก คือ การบดทำลายลำไย  ซึ่งขั้นตอนนี้ทำสำเร็จแล้ว  ขั้นตอนต่อไปอยู่ในระหว่างการดำเนินการคือ การนำลำไยที่บดแห้งแล้วอัดเป็นแท่งพลังงานชีวมวล  ตรงนี้สามารถนำไปขายได้  ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  ประโยชน์ที่จะได้รับ มี 2 มิติ  มิติแรก เป็นเรื่องของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนลำไย  เป็นเรื่องสำคัญที่สุด  โดยสามารถนำลำไยค้างสต๊อกที่เป็นปัญหาคาราคาซังหลายปีออกจากตลาดโดยการทำลาย  สร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศจีนที่เป็นผู้ซื้อว่าลำไยประเทศไทยมีคุณภาพ  ไม่มีปัญหาเรื่องการปลอมปนลำไยเก่ากับลำไยใหม่  ตรงนี้จะทำให้ราคาลำไยสูงขึ้น  ทำให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนลำไยมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น  มิติที่ 2 ในเรื่องของรัฐบาล  จากเดิมที่เคยเสียค่าเช่าโกดัง หลายล้านบาท  ต่อไปนี้ไม่ต้องแล้ว  นอกเหนือจากนั้น การที่เราใช้วิธีอัดแท่งลำไยบดเป็นพลังงานชีวมวล ถือเป็นพลังงานทดแทนอย่างหนึ่งสามารถนำไปขายได้  ประมาณการไว้น่าจะได้ราคาที่ 10-30  ล้านบาท  เป็นรายได้ที่กลับเข้ามาสู่ภาครัฐ

 

        ด้าน นายศุภชัย  โพธิ์สุ  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าวว่า  นับว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม  เพราะปัญหานี้มีมาตั้งแต่ ปี 2546-2547  พี่น้องเกษตรกรก็มีปัญหาหนัก  ผู้บริโภคก็เป็นกังวลว่าจะได้บริโภคลำไยสดที่เก็บได้ในปีนี้หรือเป็นลำไยเก่าที่ปลอมปน  ทางหน่วยงานของกระทรวงเกษตร โดยเฉพาะ  อตก.  หรือที่โกดังสินค้า มีปัญหาในการบริหารจัดการ  ฉะนั้น การที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ได้ช่วยในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้  โดยการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรด้วย  จึงถือว่าเป็นการร่วมมือกันอย่างบูรณาการที่เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนมาก กระทรวงเกษตรฯ ขอขอบคุณกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาตรงนี้  
 

       ผศ.ดร.รังสรรค์  ทองทา  สืบค้า  อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า  ในช่วงแรกได้มีการเตรียมการทดสอบเครื่องมือโดยได้รับความร่วมมือจากสมาคมเครื่องจักรกลไทย และได้รับความร่วมมืออย่างดี จากพี่น้องเกษตรกร  อตก. ในการสำรวจโกดัง  สื่อมวลชนทุกท่านที่ช่วยกันประชาสัมพันธ์  สร้างความเข้าใจให้กับพี่น้องเกษตรกรถึงความตั้งใจของ  มทส. ที่จะทำเรื่องนี้   อย่างการติดตั้งเทคโนโลยี RSID  , GPRS PACKING  เพื่อให้งานนี้ออกมาสามารถตรวจสอบได้  รัดกุม  ยกตัวอย่างรถขนลำไยก็ติด GPRS เพื่อติดตามว่ารถขนลำไยไปในเส้นทางใด เพื่อป้องกันการสูญหายระหว่างทาง  สำหรับการดำเนินงานของ มทส. สามารถบดลำไยได้ 36 ล้านกิโลกรัมจากทั้งหมด 46 ล้านกิโลกรัม กิโลเฟส 2 ที่กำลังดำเนินการอยู่ คือ อัดแท่งลำไยชีวมวล มีสถานที่พักลำไยบด 2 ที่ ที่จังหวัดลำพูนและจังหวัดสระบุรี  กำลังการผลิตวันละ 250 ตันต่อที่ และได้ตกลงจำหน่ายแท่งชีวมวลเชื้อเพลิงกับภาคอุตสาหกรรม  คือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) โดยจะนำไปใช้ที่โรงงานแก่งคอยและท่าหลวง

 

       ด้าน คุณณรงค์  สกุลศิริรัตน์  อุปนายกสมาคมเครื่องจักรกลไทย  เปิดเผยว่า  การดำเนินงานของสมาคมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีเสถียรภาพ  โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยระดับอุตสาหกรรมประยุกต์ใช้ในการทำงานจนบรรลุผลสำเร็จ  และกำลังเริ่มติดตั้งชุดหัวเผาอัจฉริยะสำหรับใช้ในโรงงานอบลำไยของเกษตรกร  เมื่อทดลองใช้แล้วผลเป็นที่พอใจ  เพราะแต่เดิมชุมชนใช้ไม้ท่อนใหญ่เป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดมลภาวะควัน  ต้องหาผู้เชี่ยวชาญในการป้อนเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง  24 ชม.  แต่เมื่อได้พัฒนาหัวเผาอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง  ปรากฏว่าชุมชนที่ได้ทดลองกับเรามีความพึงพอใจอย่างมาก  จึงมีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างมาก

 

"Get the Flash Player" "to see this gallery."

      

 

ผู้เขียนข่าว    : นางสาวอุษา  ขุนเปีย           กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  โทร 0 2333 3700  ต่อ 3732

ถ่ายภาพโดย : นางสาวสุนิสา  ภาคเพียร      กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  โทร 0 2333 3700  ต่อ 3732

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป