กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้าน Green Thailand

พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้าน Green Thailand

พิมพ์ PDF

วันนี้ (13 กรกฎาคม  2553) เวลา 15.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "การแก้ปัญหาวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุตสาหกรรม (Green Thailand)  ระหว่าง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา เพื่อร่วมกันแก้ปัญหา โดยกำหนดพื้นที่มาบตาพุดเป็นพื้นที่นำร่อง นับเป็นครั้งแรกในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรม ที่ได้บูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคอุตสาหกรรม และได้นำผู้เชี่ยวชาญไทยในประเทศสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมแก้ปัญหา

 

 

      

      นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรี  กล่าวในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุตสาหกรรม ว่า รู้สึกยินดีป็นอย่างยิ่งที่รัฐมนตรีว่าการทั้ง 4 กระทรวง คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงอุตสาหกรรม  และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ได้ร่วมมือกับ สภาอุตสหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมนักวิชาชีพไทยในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา  ในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุตสาหกรรม และการจัดให้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการแก้ปัญหาวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุตสาหกรรมในวันนี้
    
       การพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเป็นการพัฒนาที่มีความสมดุล  ไม่เพียงเฉพาะในประเทศไทย แต่ในทุกๆประเทศซึ่งมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ  และการแปลงสภาพของสังคมจากเดิมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม  โดยมีผลกระทบตามมา  แม้ว่าในเบื้องต้นจะประสบความสำเร็จในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ  สร้างรายได้  สร้างอาชีพ  ให้แก่ประชาชน  แต่ว่าเมื่อการพัฒนาขยายตัวไปถึงระดับหนึ่งแล้ว จะเกิดผลที่ตามมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ  ซึ่งถ้าหากว่าไม่ได้รับการแก้ไข  จะย้อนกลับมาทำลายขีดความสามารถและศักยภาพการพัฒนาโดยเฉพาะช่วงหลังยิ่งชัดเจนขึ้นว่า การที่เราแก้ไขปัญหา คือ เมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้ว มักจะไม่ทันการและสำคัญที่สุดคือ ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่เป็นลบในเรื่องการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม ความไว้วางใจที่พึงจะมีระหว่างอุตสาหกรรมชุมชน และเอื้อประโยชน์กันกลับต้องเกิดปัญหาความขัดแย้ง 

       ประเทศไทยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรม  ในช่วง 10 – 20 ปีที่ผ่านมา เริ่มเกิดปัญหาความขัดแย้งมากขึ้นระหว่างประชาชน ชุมชนกับภาคอุตสาหกรรม  กรณีของมาบตาพุดเป็นสัญลักษณ์ของปัญหาที่ชัดเจนที่เกิดขึ้นได้  
       
       รัฐบาลแน่วแน่ที่จะปรับเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน และเริ่มวางแนวทางในอนาคตไม่เพียงแต่ปัญหาที่เกิดในมาบตาพุดเท่านั้นแต่ในพื้นที่อื่นๆ ด้วยที่เราจะต้องพัฒนาต่อไป เช่น พื้นที่ในภาคใต้  เราให้ความสำคัญอย่างมากกับการพิจารณาแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ เพราะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว  วิถีชีวิตของประชาชน และชุมชนในพื้นที่  ดังนั้น แนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมต้องคำนึงถึงผลกระทบรอบด้าน

       การแก้ไขปัญหากรณีของมาบตาพุดนั้น  ฝ่ายต่างๆต้องเข้ามามีส่วนร่วม 4 ฝ่าย ทั้งจากภาครัฐ  ภาคอุตสาหกรรม  ภาคประชาชนและภาควิชาการ  แม้ว่าความสนใจจะมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาในเชิงข้อกฎหมายเกี่ยวกับโครงการต่างๆที่ค้างอยู่  แต่จริงๆแล้ว กรรมการทั้ง 4 ฝ่าย ทำงานมากกว่านั้น คือ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานะปัจจุบันปัญหาที่มาบตาพุดด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านมลพิษทางอากาศ  ผลกระทบต่อชุมชน  ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน  นอกจากความร่วมมือจากหลายกระทรวงแล้วสิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนคือ การขาดความรู้  ประสบการณ์ ทางวิชาการโดยเฉพาะโครงสร้างการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมายังขาดกรอบการแก้ไขในภาพรวม ถ้าเราไม่กำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาที่ดี  ที่สุดเมืองนั้นก็จะเข้าสู่ยุคที่มีความเสื่อมโทรม เสียค่าใช้จ่ายมหาศาลและเวลาที่ใช้ในการฟื้นฟู

       หวังว่าประสบการณ์ที่คนไทยไปสั่งสมที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา  จะมีบทบาทสำคัญช่วยประเทศไทยอันเป็นที่รักของเราทุกคนในด้านนี้ด้วย

       ขอขอบคุณทุกกระทรวงที่ให้ความร่วมมือจัดทำข้อตกลงในวันนี้  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดำเนินการครั้งนี้จะเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่เพียงแต่การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆของภาครัฐ แต่การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน  ภาควิชาการ รวมถึงพี่น้องประชาชน คนไทยซึ่งมีความรู้ ความสามารถ มามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้ได้  และนำไปสู่ความเชื่อมั่นศักยภาพของประเทศไทยในการพัฒนาอุตสาหกรรมและความไว้วางใจที่จะกลับคืนมา

      อนึ่ง การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เกิดผลกระทบทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาภาวะมลพิษอย่างมากมายบริเวณโดยรอบพื้นที่อุตสาหกรรม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในพื้นที่มาบตาพุด  ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่และสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อาศัยโดยรอบพื้นที่  ดั้งนั้น  ด้วยความร่วมมือทั้ง 6 ภาคี ภายใต้กรอบระยะเวลาการดำเนินงาน 3 ปี ( 13 กรกฎาคม 2553 - 12 กรกฎาคม 2556) โดยผลลัพธ์ของโครงการจะเป็นระบบการจัดการสารอันตรายและวัสดุเคมีที่ถูกต้อง  ระบบการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน  ระบบเฝ้าระวังตลอดจนเทคโนโลยีสะอาด  เทคโนโลยีฟื้นฟูการปนเปื้อนจากสารเคมีและของเสียอันตราย รวมถึงพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการสื่งแวดล้อม 

        ขอบเขตของหน่วยงานในการดำเนินการในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด คือ

              กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  จะเร่งดำเนินการในส่วนของการดำเนินการร่วมวิจัย  และประสานงานกับสมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา

              กระทรวงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  จะเร่งดำเนินการในส่วนของการศึกษาวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหา  การกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน
     
|             กระทรวงอุตสาหกรรม  จะเร่งดำเนินการในส่วนของการจัดทำมาตรการที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม  สร้างความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม  ภาครัฐ  และภาควิชาการ เพื่อส่งเสริมการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
กระทรวงศึกษาธิการ  จะเร่งดำเนินการในส่วนของการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  ศึกษาวิจัยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม  มลพิษ และของเสียอันตราย และสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิชาการและการพัฒนาบุคลากรเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหา

              สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  จะเร่งดำเนินการในส่วนของการสนับสนุนด้านงบประมาณ  การสนับสนุนด้านข้อมูลและการดำเนินงานในพื้นที่  และระดมความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาควิชาการ และภาครัฐ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

              สมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา หรือ ATPAC จะเร่งดำเนินการในส่วนของการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบุคลากร ทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่ และดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการลดมลพิษ การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อม

       ทั้งนี้  ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นดังกล่าว จะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน  ลดการทำงานที่ซับซ้อน  มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และสร้างความเชื่อมั่นทางด้านการลงทุนกลับคืนสู่ประเทศต่อไป
 

"Get the Flash Player" "to see this gallery."

 เขียนข่าวและถ่ายภาพโดย : นางสาวอุษา  ขุนเปีย     กลุ่มงานประชาสัมพันธ์   โทร 0 2333 3700  ต่อ 3732

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมทัพ 35 หน่วยงานรัฐ-เอกชน เดินหน้า “ประชารัฐร่วมใจยกระดับ โอทอป ด้วย วทน.”
» สทน. ลงนามความร่วมมือกับวินอะตอม เวียดนาม ร่วมวิจัยและสร้างมาตรการความปลอดภัยทางนิวเคลียร์
» ผู้แทนจากฟิลิปปินส์เข้าเยี่ยม รมว.วท. เตรียมร่าง 'ข้อตกลงฯ ด้านวิทยาศาสตร์ฯไทย-ฟิลิปปินส์' อีกครั้ง
» 3 หน่วยงานร่วมมือผุดเมืองสุขภาพที่ปราจีนบุรี ดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม
» นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิดงาน Startup Thailand 2016 (ทำเนียบ รัฐบาล)
» สวทช. ผนึกกำลัง กรมอุทยานแห่งชาติฯ ม.สงขลานครินทร์ และ จ.ตรังใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฟื้นฟู ปกป้อง และจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลหาดหยงหลำและเกาะมุก อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง
» กระทรวงวิทย์ สวทช. และ ออโต้เดสก์ ร่วมขยายอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการผลิตดิจิทัลในประเทศไทย
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป