|
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ร่วมกับ จังหวัดชุมพร หอการค้าจังหวัด และกลุ่มเกษตรกรและการแปรรูป ผลักดันจังหวัดชุมพร ให้เป็นเมืองไบโอเทคโนโลยี โดย วท. สนับสนุนเทคโนโลยีลงสู่ชุมชน เพื่อสานงานตามแนวทางพระราชดำริ
ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ของชุมชน และเป็นประธานในการแถลงข่าว “ชุมพร เมืองไบโอเทคโนโลยี” (CHUMPORN BIOTECHNOLOGY CITY : CBB) ร่วมกับ นายสุรพล วาณิชเสนี รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร รศ.ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และนายธงชัย ลิ้มตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพร ณ ศูนย์บริการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และดาราศาสตร์ ภาย ใต้โครงการพระราชดำริ พื้นที่หนองใหญ่ อ.เมือง จ.ชุมพร ใน วันที่ 23 มิถุนายน 2553
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กำหนดให้โครงการเทคโนโลยีชีวภาพใน จ. ชุมพร เป็นแผนงานหนึ่งของกระทรวงฯ ที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 โดยกระทรวงวิทยา ศาสตร์ฯ เน้นการนำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ไปพัฒนาจังหวัดชุมพรให้เป็นเมืองไบโอเทคโนโลยี โดยประยุกต์องค์ความรู้ให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและเป็นส่วนหนึ่งของในชีวิต ประจำวัน ซึ่งเป็นโครงการนำร่องใน จ. ชุมพร เพื่อให้เป็นต้นแบบของการดำเนินการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเชิง พื้นที่ (Area Based)
สำหรับ การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปพัฒนา จ. ชุมพรให้เป็นเมืองไบโอเทคโนโลยี มีจุดประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตทางการเกษตรที่เกินจากความต้องการของตลาด (2) เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการ (3) เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการของจังหวัดชุมสู่มาตรฐานสากล (4) เพื่อพัฒนาชุมชน/กลุ่มผู้ประกอบการให้ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในภาคการผลิตทั้งจังหวัด
ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย (1) นิทรรศการหน่วยงานในสังกัด วท. ได้แก่ ดาวเทียมธีออสและการใช้ประโยชน์ภาพถ่ายทางอากาศ ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การผลิตข้าวพื้นเมือง เห็ด นกยูง ผลิตภัณฑ์จากผักเหลียง เช่น ชาผักเหลียง ข้าวเกรียบผักเหลียง เครื่อง ดื่มผักเหลียงกึ่งสำเร็จรูป ผลงานวิจัยด้านการแปร รูปผลผลิตทางการเกษตร (ผลไม้) เช่น น้ำมังคุด น้ำกล้วยหอมทอง (จาก อ.ละแม) แสง ซินโครตรอนและการใช้ประโยชน์ เป็นต้น (2) นิทรรศการของคลินิกเทคโนโลยีเครือ ข่าย ได้แก่ การประยุกต์ใช้สมุนไพรพื้นบ้านของจังหวัดชุมพร การ ผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะ และการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมัน ใช้แล้ว และปาล์มน้ำมัน (3) นิทรรศการของดีจังหวัดชุมพร ที่นำสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้จากหน่วยงาน ต่างๆของจังหวัดชุมพร มาจัดแสดงในงานด้วย
![]() |
![]() |
อนึ่ง จังหวัดชุมพรมีศักยภาพด้านการเกษตรสูง กล่าวคือ สามารถปลูกทุเรียนเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ปลูกกาแฟเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ปลูกปาล์มน้ำมันเป็นอันดับ 3 ของประเทศ (รองจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดกระบี่) และปลูกมังคุดและลองกองเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จังหวัดชุมพรจึงกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา จ. ชุมพร (พ.ศ. 2553 – 2556) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) พัฒนาชุมพรเป็นเมืองน่าอยู่ 2) ส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยว 3) พัฒนาระบบการตลาดและสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ 4) ส่งเสริมวิถีพอเพียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสตร์ที่ 3 เรื่องการพัฒนาระบบการตลาดและสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปพัฒนาเพื่อให้จังหวัดชุมพร เป็นเมืองไบโอเทคโนโลยี ซึ่งนับว่าเป็นจุดแข็งของจังหวัดชุมพร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดต่อไป
ผู้เขียนข่าว : นาง สาวอุษา ขุนเปีย กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ โทร. 0 2333 3700 ต่อ 3732
ผู้ตรวจข่าว : นางอภิญญา ตันติรังสี หัวหน้ากลุ่มงานประชาสัมพันธ์ โทร. 0 2333 3700 ต่อ 3727