จากรายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ พบว่านักเรียนในโรงเรียนโครงการพระราชดำริ ณ จังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพ โรคที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ โรคทางเดินหายใจ โรคเหงือกและฟัน โรคผิวหนัง และโรคทางเดินอาหาร ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และความห่างไกลของพื้นที่ ทำให้แพทย์ไม่สามารถเข้าไปดูแลรักษาผู้ป่วยได้เต็มที่เหมือนกับจังหวัดอื่นๆ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท และหน่วยบริหารจัดการความรู้ ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำ โครงการพัฒนา หลักสูตรวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการอยู่ดีมีสุขสำหรับโรงเรียนในจังหวัดชาย แดนภาคใต้) เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาในท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาหลัก สูตรวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ใช้ความรู้และเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ บูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระต่าง ๆ และความเป็นท้องถิ่น เพื่อการพึ่งพาตัวเองในการดูแลรักษาสุขอนามัยในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ระยะเวลาดำเนินการโครงการตั้งแต่ตุลาคม 2551 - กันยายน 2553
แผนการดำเนินงานประกอบด้วย การสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนและนักวิชาการในพื้นที่ โดยรับสมัครครูจาก22 โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการอยู่ดี มีสุข จัดทำแผนการสอน สื่อและหนังสืออ่านประกอบการเรียน และการวัดประเมินผล โดยมีนักวิชาการคอยให้คำแนะนำ และประเมินคุณภาพหลักสูตร จัดพิมพ์ชุดหนังสืออ่านประกอบการเรียนให้กับโรงเรียนในโครงการจำนวน 3,000 ชุด เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น มีการทดลองใช้หลักสูตรในโรงเรียนและติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรที่มีต่อ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลรักษาสุขภาพและทัศนคติที่มีต่อวิชาวิทยา ศาสตร์ของนักเรียน
สาขาผลงาน : การศึกษา
ชื่อผู้ผลิตผลงาน :
นางสาวกิตติมา ไกรพีรพรรณ
นางสาวกนกพรรณ เสลา
นางสาวชุลีพร อรุณแสงสุรีย์
นางรักฉัตร เวทีวุฒาจารย์
นางสาวปัทมาภรณ์ ชุมแสง