กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน มทส. ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จัดโครงการพัฒนาศักยภาพครูวิทยาศาสตร์

มทส. ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จัดโครงการพัฒนาศักยภาพครูวิทยาศาสตร์

พิมพ์ PDF

 

            ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมความรู้ครูวิทยาศาสตร์ นำร่องในจังหวัดนครราชสีมา ระดมนักวิชาการระดับแนวหน้าร่วมเผยแพร่วิทยาการและเทคโนโลยีล้ำยุค ระหว่างวันที่ 29 เมษายน- 2 พฤษภาคม 2553 โดยมี ศ.ดร.ประสาท  สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และ ดร.สุจินดา  โชติพานิช  ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมในพิธิฯ  ณ ห้องประชุมสุรนารี อาคารสุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


             ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า การอบรมครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในหัวข้อ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีล้ำยุค” เป็นครั้งแรกของกระทรวง วิทยาศาสตร์ฯ ที่จัดให้มีการอบรมขึ้น  ซึ่งเป็นความตั้งใจของรัฐบาล กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  ท่านนายกรัฐมนตรีอยากเห็นความร่วมมือของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และกระทรวงศึกษาธิการในหลาย ๆ ด้าน เพื่อสร้างบุคลากรของประเทศไทย   เราเลือกมหาวิทยาลัยนี้เป็นครั้งแรก และโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมามีความประสงค์ที่จะพัฒนาการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นความคิดที่ตรงกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่จะทำให้คนไทยเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสนุกได้อย่างไร  อยากเห็นบทบาทวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สามารถพัฒนายกระดับความเป็นอยู่ของคนไทยไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร นักอุตสาหกรรม หรือนักบริการ อยากเห็นความเชื่อมโยงผลงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่มีอายุหลายสิบปีแล้ว  และได้สร้างผลงานเชิงพาณิชย์ช่วยประเทศชาติในด้านเศรษฐกิจ  ดิฉันรับนโยบายมาจึงได้ดำเนินการ ตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (กรอ.วท.)  เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนและเชื่อมโยงกับเอกชนทุก ๆ ด้าน  และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้เป็นกรรมการในคณะกรรมการ กรอ. ของรัฐบาล  ทำให้ผลักดันผลงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ไปต่อยอด ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และแข่งขันได้ในผลิตผลต่างๆ ทั้งเกษตร  อุตสาหกรรมและการบริการ 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            ด้าน ดร.สุจินดา  โชติพานิช  ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ดำเนินโครงการอบรมครูวิทยาศาสตร์ขึ้น  เพื่อเพิ่มเติมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ก้าวหน้า (Frontier Science) ในสาขาต่าง ๆ อาทิ เช่น นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เทคโนโลยีดาราศาสตร์ เป็นต้น  ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ครูได้รับรู้เรื่องราวใหม่ ๆ สอดคล้องกับความก้าวหน้าของโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สำหรับการอบรมครูวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้  มีกำหนดการอบรมระหว่างวันที่ 29 เมษายน- 2 พฤษภาคม 2553 ณ อาคารสุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อมุ่งเน้นการต่อยอดและช่วยเสริมความเข้มแข็งทางด้านวิชาการให้ครูวิทยาศาสตร์ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีล้ำยุค  และสร้างเครือข่ายครูวิทยาศาสตร์ในจังหวัดนครราชสีมา  ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ครูวิทยาศาสตร์ตามนโยบายของกระทรวง วิทยาศาสตร์ฯ  การอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 220 คน  ซึ่งเป็นครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมปลาย ในจังหวัดนครราชสีมา  โดยแบ่งเป็นครูจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน 50 แห่ง  และครูจากโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 58 แห่ง  โดยมีรูปแบบผสมผสานระหว่างการดูห้องปฏิบัติการจริง  การฟังการบรรยาย การทดลอง  และการสาธิตโดยเชิญผู้เชี่ยงชาญทางวิทยาศาสตร์เฉพาะด้าน มาเป็นวิทยากรในการบรรยาย ในหัวเรื่องที่น่าสนใจ  ซึ่งคาดว่าครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์จะมีแหล่งเรียนรู้  เกิดเครือข่ายความร่วมมือของครูวิทยาศาสตร์  เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเกิดความตื่นตัวและมีความใฝ่รู้ที่จะค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม  และนำไปประยุกต์ใช้และถ่ายทอดให้กับนักเรียนต่อไป
             ด้าน  ศ.ดร.ประสาท  สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)  กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จัดโครงการอบรมครูวิทยาศาสตร์นำร่องในจังหวัดนครราชสีมาเป็นแห่งแรก  โดยได้ระดมทีมวิทยากรชั้นนำหน่วยงานต่างๆ มาร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์  โดยมีหัวข้อการบรรยายและการสาธิตด้านวิทยาศาสตร์ขั้นสูงที่น่าสนใจ อาทิ “เทคโนโลยีตัวอ่อนและเซลล์ต้นกำเนิด” (Cloning Technology) โดย ผศ.ดร.รังสรรค์  พาลพ่าย หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยีตัวอ่อนและเซลล์ต้นกำเนิด  มทส.  “เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน” (Synchrotron Technology) โดย ผศ.ดร.ประยูร  ส่งสิริฤทธิกุล จาก สซ. “กำเนิดจักรวาล” (The origin of universe) โดย ดร.บุรินทร์  กำจัดภัย  ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์ มน. รวมทั้งนักวิจัยและนักวิชาการจาก สวทช. อาทิ “เทคโนโลยีดีเอ็นเอและสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม  พร้อมสาธิตการทดลองการตัดต่อพลาสมิดดีเอ็นเอ การสกัดดีเอ็นเอจากสิ่งมีชีวิตใกล้ตัว และการต่อโมเดลดีเอ็นเอ” โดย ดร.บุญญานาถ  นาถวงษ์  และทีมวิทยากร  การบรรยายเรื่อง “ภาวโลกร้อน : เมื่อโลกป่วยเราช่วยอย่างไรดี?” โดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์  “เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ : NEW MATERIALS” โดย ดร.อัญชลี มโนนุกูล  “มารู้จักกับNANOTECHNOLOGY” โดย ดร.ณัฐพันธุ์  ศุภกา  และกิจกรรมการทดลองเพื่อการเรียนการสอนทางด้านนาโนเทคโนโลยีอย่างง่ายประกอบด้วย น้ำกลิ้งบนใบบัว , ผ้ากันน้ำนาโน และ Bucky Ball กระดาษ โดย คุณเวฬุรีย์  ทองคำ
             เพื่อให้ครูได้มีโอกาสรับรู้ถึงความเคลื่อนไหวรวมถึงการเปิดโลกทัศน์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันต่อเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  การจัดโครงการนี้ขึ้นจึงนับได้ว่าเป็นการสร้างประโยชน์ต่อสถาบันการศึกษาและส่งผลต่อการพัฒนาเยาวชนของชาติอย่างแท้จริง  ซึ่งตรงตามแนวคิดในการเติมความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้า (Frontier Science)  หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ มทส. ก็พร้อมที่จะสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวในระดับภาคหรือระดับประเทศต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้เขียนข่าว  :  นายปราโมทย์  ป้องสุธาธาร  โทร. 0-2333-3700 ต่อ 3728
                       โทรสาร 02-354-3763     E-Mail : 
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป