กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน การสัมมนาวิชาการ เรื่อง ทางออกการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ในกระบวนการ EIA ประเภทรุนแรง

การสัมมนาวิชาการ เรื่อง ทางออกการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ในกระบวนการ EIA ประเภทรุนแรง

พิมพ์ PDF

 

 

 

 

       สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดการสัมมนาวิชาการ เรื่อง ทางออกการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ในกระบวนการ EIA ประเภทรุนแรง  ณ ห้องจูปิเตอร์  โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ  เมื่อวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2553

       ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์  เมนะเศวต  กรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   เปิดเผยถึงผลสรุปจากการสัมนาว่า  เป็นที่ทราบกันดีว่า จากการขับเคลื่อนทางรัฐธรรมนูญ 2550 โดยเฉพาะในส่วนมาตรา 67 วรรคสอง  ซึ่งได้กำหนดให้ โครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พร้อมทั้งเน้นการมีส่วนร่วมโดยจัดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และองค์การอิสระก่อนพิจารณาอนุญาต
 

 

 


       ผลต่อมาได้มีการประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ พ.ศ. 2552 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2552  และประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2552  ซึ่งจากการดำเนินงานมาระยะหนึ่ง พบว่า มีปัญหาการดำเนินงาน คือ

1.  การกำหนดประเภทรุนแรง
                        ความไม่แน่ใจในกฎระเบียบของภาครัฐที่อาจนำไปสู่การตีความในอนาคต กรณีวินิจฉัยข้อร้องเรียนให้ทำ HIA ทั้งตามประกาศกระทรวงทรัพยากรฯ ข้อ 1.2 และมาตรา 11 ของพระราชบัญญัติ สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

            2.  กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

             2.1 ขาดความเข้าใจอย่างชัดเจนต่อวัตถุประสงค์ในแต่ละขั้นตอนการศึกษา  ประกอบกับรูปแบบที่กำหนดไว้อย่างแข็งตัวในกฎหมาย ทำให้ขาดความยืดหยุ่น และเกิดการตีความตามกฎหมายเป็นหลัก ทำให้ไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และสังคม

                        2.2 HIA  เป็นกระบวนการที่ต้องการใช้ข้อมูลและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในการประเมินฯ เนื่องจากมิติสุขภาพมีความซับซ้อนและเชื่อมโยง ดังนั้น จึงต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน รวมทั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม

                        2.3 ความสอดคล้องระหว่างรูปแบบของกระบวนการที่กำหนดไว้ กับลักษณะพื้นที่ที่มีรูปแบบเฉพาะตัว เช่น เขตนิคมอุตสาหกรรม หรือ เขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้เกิดกิจกรรมตามกลไกซ้ำๆ หลายครั้งในการทำงานระดับพื้นที่

            3.  ความรู้ ความเข้าใจของแต่ละกลุ่มคณะ

                            3.1 ภาครัฐ ต่อบทบาทและหน้าที่ที่ต้องสอดประสานกันในกลไกของการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ รวมทั้งมาตรการป้องกันและลดผลกระทบ

                            3.2 กลุ่มชุมชนและผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับบทบาทและมีความสำคัยมากที่สุด แต่มักเป็นกลุ่มที่มีความเข้าใจต่อ HIA ค่อนข้างจำกัด

            4.  HIA เป็นกระบวนการที่ต้องใช้งบประมาณ ทรัพยากรบุคคล และเวลาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากความคิดเห็นและข้อวิตกกังวลในบางประเด็นมีพื้นฐานมาจากความเชื่อใจและความพึงพอใจการเข้าถึงและการได้มาของข้อมูลในระดับพื้นที่บางครั้งจะต้องใช้ทรัพยากรที่หลากหลายในการบริหารจัดการ

            5.  ขาดฐานข้อมูลระดับชุมชนในทุกมิติ เช่น สถานะสุขภาพ โรค

            6.  ขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญในเรื่อง HIA

       ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์  เมนะเศวต  กล่าวต่อว่า จากการสัมมนาครั้งนี้ ผู้ร่วมการอภิปรายได้ร่วมกันเสนอประเด็นและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างหลากหลาย  คือ

            1.   หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกกฎหมาย ควรต้องหาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง เพราะการดำเนินงานที่ผ่านมาต้องใช้ค่าใช้จ่ายและเวลาจำนวนมาก และประชาชนพื้นที่ก็เริ่มสับสนกับโครงการต่างๆ ที่เข้ามา โดยเฉพาะการเริ่มต้นโครงการ HIA ในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความซับซ้อนมาก

            2.  ควรศึกษาความพร้อมของข้อมูลพื้นฐานที่จะต้องนำมาใช้ในการประเมินผลทางสุขภาพในพื้นที่

           
3.  ควรพัฒนาบุคลากรทางด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ  ควรจะต้องมีมุมมองทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

            4.  การให้ความรู้กับทุกภาคส่วนที่หน่วยงานราชการ ผู้ประกอบการ ประชาชน ให้เข้าใจกระบวนการศึกษา HIA

            5.  เจ้าของโครงการควรมีทัศนคติที่ดีต่อกระบวนการมีส่วนร่วม  เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน

            6.  การดำเนินการตามกฎหมายประกาศกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ขอให้ดำเนินการอย่างมีสติ และเป็นไปตามหลักวิชาการ

            7.  การปรับปรุงประกาศกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สามารถดำเนินการได้ โดยขอให้เสนอเหตุผลไปที่ กกวล. โดยการจัดตั้งเป็นคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อไป


 

 

 

ผู้เขียนข่าว : นางสาวอุษา  ขุนเปีย   กลุ่มงานประชาสัมพันธ์   โทร 0 2333 3700  ต่อ 3732

ถ่ายภาพโดย : นายไววิทย์  ยอดประสิทธิ์  กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  โทร 0 233 3700 ต่อ 3731

 

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป