กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดสัมมนา ดูงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้กิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร ณ จังหวัดเลย ระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนรับทราบและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่ได้นำผลงานวิจัยพัฒนาและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปช่วยพัฒนาเพิ่มศักยภาพของชุมชนในท้องถิ่น แก้ปัญหาความยากจน ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเน้นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและนโยบายรัฐบาลในการเชื่อมโยงและประยุกต์นำผลงานวิจัยพัฒนาไปช่วยพัฒนาอาชีพ/ผลิตภัณฑ์ เพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ และการจ้างงาน อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่นต่อไป
ในการจัดสัมมนาดูงานครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน วท. โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา ทั้งหมด 73 คน ประกอบด้วย 1) สื่อมวลชน จำนวน 32 คน 2) ข้าราชการและเจ้าหน้าของหน่วยงาน วท. จำนวน 41 คน ทั้งนี้ ผู้บริหาร วท. ที่ร่วมคณะ ได้แก่ ดร.สมพร จองคำ ผสทน. นายพายับ นามประเสริฐ รักษาการรอง อวศ. ดร.สุริยา สาสนรักกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร วว. นายธีระ สระตันติ์ ที่ปรึกษา สสนก. นางนิตยา พัฒนรัชน์ ผอ.สส. และ นางนิชา หิรัญบูรณะ ผอ.สบ. สป.วท. โดยได้นำสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมใน 3 พื้นที่ ดังนี้
1. โรงงานต้นแบบผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ถ่ายทอดเทคโนโลยีโรงงานต้นแบบผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ให้แก่กลุ่มเกษตรกรบ้านหัวด่าน ตำบลนามาลา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง เพื่อช่วยสร้างงาน สร้างเงิน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เกษตรกรไทย ซึ่งสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสำหรับใช้ในพื้นที่ อ.นาแห้วและพื้นที่ใกล้เคียง โดยในปี 2553 นี้ กลุ่มฯตั้งเป้าหมายในการผลิตที่ 100 ตัน
ในการสัมมนาดูงานครั้งนี้ ดร.สุริยา สาสนรักกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร เป็นผู้แทน วว. ต้อนรับคณะ พร้อมด้วยกลุ่มผู้นำชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดอาวุโส กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านประมาณ 100 คน ร่วมต้อนรับและให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน
2 หมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย (หมู่บ้านสตรอเบอรี่) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสตรอเบอรี่ การส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า การส่งเสริมอาชีพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบบูรณาการของเยาวชน ซึ่งช่วยสร้างงาน สร้างเงิน สร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ชาวบ้านให้ดีขึ้น
ในการนี้ พลตรี อรรถพร โบสุวรรณ เสนาธิการคณะทำงานโครงการพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการปลูกพืชเศรษฐกิจเมืองหนาว ในพื้นที่ดังกล่าว ตั้งแต่ พ.ศ. 2532 ได้มาร่วมต้อนรับและชี้แจงความเป็นมาให้สื่อมวลชนทราบว่า หมู่บ้านบ่อเหมืองน้อยและห้วยน้ำผัก ได้รับการ จัดตั้งเป็นหมู่บ้านชุมชนใหม่ตามแนวชายแดน ภายใต้โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ในพื้นที่อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย โดยให้กองทัพภาคที่ 2 และ 3 รับผิดชอบ แต่ละหมู่บ้านมีจำนวน 75 ครอบครัว รวม 150 ครอบครัว ได้รับการจัดสรรพื้นที่ทำกิน จำนวน 10 ไร่ต่อครอบครัว สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าทึบและภูเขาสูงชัน สูงจากระดับน้ำทะเล
โดยในปี พ.ศ. 2538 กองทัพภาคที่ 2 ได้รับความร่วมมือจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกสตรอเบอรี่เป็นโครงการนำร่อง จนในปี พ.ศ. 2552 ได้รับการบรรจุในโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ ตามมา โดยในปีการเพาะปลูก 2552/2553 มีเกษตรกรเข้าร่วม 10 ราย มีพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่
3 โครงการ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมหม่อนไหม” โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) ได้ทดลองนำผงไหมไปเป็นส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร ทำให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะนุ่มเหมือนกับของที่ทำใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยคุณ
4 การผลิตสารกรองสนิมเหล็กในน้ำและการผลิตเครื่องกรองน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเครื่องกรองน้ำดื่มให้กับชุมชนจำนวน 60 ครัวเรือน เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในการบริโภคของชุมชนในอำเภอภูหลวง จังหวัดเลย เนื่องจากการทำเกษตรกรรม ทำให้แม่น้ำมีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย และน้ำบาดาลมีหินปูนในปริมาณที่สูง ในระดับ 300-500 มิลลิกรัม/ลิตร ทั้งนี้ ผู้เข้าอบรมจะมีเครื่องกรองน้ำของตนเองไว้ที่บ้านซึ่งสามารถผลิตน้ำที่มีคุณภาพเหมาะสำหรับการบริโภคได้ทันที และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อให้กับชุมชนอื่น ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
-----------------------------------------------------
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี