กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน กระทรวงวิทย์ฯ ตระหนักด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการรีไซเคิลลำไยฯ จัดเสวนาสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนภาคเหนือ

กระทรวงวิทย์ฯ ตระหนักด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการรีไซเคิลลำไยฯ จัดเสวนาสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนภาคเหนือ

พิมพ์ PDF

     (6 กุมภาพันธ์ 2553) ดร.วีระพงษ์  แพสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารโครงการรีไซเคิลลำไยค้างสต๊อคปี 2546 และ 2547 โดยใช้เป็นพลังงาน     ชีวมวล  และผู้เกี่ยวข้องในโครงการรีไซเคิลลำไยฯ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานในพื้นที่ พร้อมร่วมเสวนาชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในกรณีการป้องกันปัญหาที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานในพื้นที่  
นายวีระพงษ์  แพสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ใช้เวทีการจัดงาน “วันเกษตรอินทรีย์     วิถีพอเพียง” ซึ่งจัดโดยเทศบาลตำบลอุโมงค์ อ.เมือง จ.ลำพูน ชี้แจงทำความเข้าใจพร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากชุมชน โดยกล่าวว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีความห่วงใยในคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ดำเนินการบดทำลายลำไยฯ โดยกำชับให้ผู้ดำเนินโครงการตระหนักในปัญหาที่อาจจะส่งผลกระทบในสอง-สาม ประเด็น ได้แก่ ปัญหาทางเสียงรบกวน  ปัญหาการฟุ้งกระจาย และการตกสู่พื้นของลำไย  ซึ่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อมทางดิน น้ำ มลพิษทางเสียง และระบบทางเดินหายใจ  ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงถือโอกาสนี้ทำความเข้าใจกับผู้ได้รับหรืออาจได้รับผลกระทบ พร้อมรับฟังปัญหาจากประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์สถานภาพความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการในปัจจุบันด้วย

สำหรับกรณีเกิดผลกระทบนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้วางแนวทางแก้ไขเบื้องต้นไว้ ดังนี้
1. กรณีนำลำไยที่ตกพื้นกองรวมไว้บริเวณหน้าโกดัง เนื่องจากปริมาณลำไยที่บดแล้วเพิ่มปริมาณมากขึ้นและพื้นที่ในโกดังกลางไม่ว่าง  ผู้ดำเนินการ จะเร่งจัดหาโกดังกลางเพิ่มและขนย้ายลำไยที่บดแล้วดังกล่าวไปเก็บไว้ภายในโกดัง ภายใน 7-10 วัน 
2.กรณีฝุ่นฟุ้งกระจาย ที่ผ่านมาผู้ดำเนินการได้ใช้ถุงกรองดักฝุ่นสามารถลดปัญหาได้ระดับหนึ่ง  และจะเร่งดำเนินการอุดรอยรั่วตามรอยต่อของเครื่องบด พร้อมทั้งนำระบบดูดเก็บฝุ่นในถุงขนาดใหญ่ (Filtered bag) มาใช้ ซึ่งเป็นหลักการแก้ไขป้องกันที่แหล่งของปัญหา (at source reduction)
3.กรณีเสียงดังรบกวนของเครื่องจักร  จะเร่งดำเนินการออกแบบระบบลดระดับความดังของเสียงเครื่องจักร เช่น สร้างผนังดูดซับเสียงแบบเคลื่อนย้ายได้ (Knock down sound protection wall) และสามารถนำไปใช้งานในโกดังอื่นๆ ได้อีก


   นอกจากนี้ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เปิดเผยถึงความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการว่า “นับจากที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ได้เริ่มดำเนินงานโครงการรีไซเคิลลำไยค้างสต๊อคฯ ในพื้นที่โดยบดทำลายลำไยหน้าโกดังและอัดแท่งเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล  อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2552 จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 (56 วัน) ผู้ดำเนินการในพื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)  และสมาคมเครื่องจักรกลไทย ได้บดทำลายลำไยหน้าโกดังไปแล้ว 19 โกดัง โดย มทส. ดำเนินการได้ 18 โกดัง สมาคมเครื่องจักรกลไทย 1 โกดังคิดเป็น จำนวน 10,466.98  ตัน

      อัตรากำลังการผลิตเฉลี่ยประมาณ 194 ตัน/วัน หรือ คิดเป็นร้อยละ 22.35 ของลำไยทั้งหมด  และเพื่อให้ปฏิบัติงานทันต่อเวลาตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทำบันทึกในข้อตกลงไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ขณะนี้ทั้งสองหน่วยงานกำลังเร่งดำเนินการเพิ่มกำลังการผลิตให้สูงยิ่งขึ้นมากกว่าร้อยละ 60 คือ คาดว่าจะดำเนินการได้เสร็จตามเวลาที่เหลืออีก 96 วัน

        สำหรับแผนการดำเนินงานในปัจจุบัน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี แบ่งสายการผลิตออกเป็นเป็น 4 สาย กำลังการผลิตรวม 400 ตัน/วัน ในส่วนของสมาคมเครื่องจักรกลไทยแบ่งสายการผลิต   5 สาย  สายที่ 1-2 มีกำลังการผลิตรวม 200-300 ตัน/วัน และสายที่ 3-5 กำลังการผลิตรวม 360-420 ตัน/วัน
 

       

    ผลลัพธ์ในเชิงเศรษฐกิจ
ขณะนี้เมื่อประเมินผลจากการบดย่อยลำไยแล้ว 19 โกดัง ภาครัฐสามารถลดค่าใช้จ่ายใน
การเช่าโกดังเป็นเงิน 1.67 ล้านบาท/เดือน และก่อให้เกิดการจ้างแรงงานในพื้นที่สร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง  และภายหลังเสร็จสิ้นโครงการแล้ว กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ยินดีสนับสนุนเครื่องบดลำไยขนาดย่อมให้กับกลุ่มเกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์กับกิจกรรมข้องชุมชนที่ต้องการและนำไปใช้ประโยชน์จริงๆ อีกทั้งยินดีนำเทคโนโลยีสนับสนุนกิจกรรมความเข้มแข็งชุมชน เพื่อต่อยอดจากโครงการรีไซเคิลลำไยการริเริ่มโครงการหมู่บ้านลำไย เพื่อการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆจากลำไย การพัฒนาสร้างชุดหัวเผาอัจฉริยะโดยใช้เชื้อเพลิงแท่งตะเกียบ เพื่อต่อยอดการดำเนินงานให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับเตาอบลำไยของเกษตรกรในภาคเหนือ
การประชุมเสวนาในครั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้นำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาร่วมแสดงและสาธิตไว้ในงานด้วย ได้แก่ ไซโลเก็บข้าว เครื่องสีข้าวชุมชน เครื่องกะเทาะเปลือกและคัดแยกเมล็ดสบู่ดำ เครื่องหีบน้ำมันสบู่ดำ เครื่องกรองน้ำมันสบู่ดำ เป็นต้น  ซึ่งได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่     และให้ความร่วมมือกับการดำเนินงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นอย่างดี
 

---------------------------

ข่าวโดย: เทียรทอง ใจสำราญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการ
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทร 02 354 4466 ต่อ 633

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป