กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน รมว.กระทรวงวิทย์ฯ บรรยายพิเศษ วปอ.การพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รมว.กระทรวงวิทย์ฯ บรรยายพิเศษ วปอ.การพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พิมพ์ PDF

  

     ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "การพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"  แก่ผู้เข้าอบรมหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.)  รุ่นที่ 52 และ หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.)  รุ่นที่ 22  ปีการศึกษา  2552 2553   ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร  สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ  วันที่ 4  กุมภาพันธ์  2553

          ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นกรณีพิเศษ นายกรัฐมนตรีแนะนำให้ดำเนินการ  ประการแรก ทำอย่างไรให้คนไทยตระหนัก และเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น  ประการที่สอง นักเรียนที่เรียนดี สนใจในวิชาวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทำอย่างไรที่จะส่งเสริมให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ในที่สุด  ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯได้ดำเนินการหลายโครงการ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยเรียนรู้ พื้นฐาน เหตุผลของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสนับสนุนคนไทยที่สนใจวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ  กระทรวงวิทย์ฯ มีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่รังสิตคลอง 5 และที่จามจุรีสแควร์ มีคารวานวิทยาศาสตร์สัญจรไปทั่วประเทศ ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เช่นโครงงานวิทยาศาสตร์ เครื่องบินพับกระดาษ ฯลฯ แก่นักเรียน ประชาชนทั่วไป ในพื้นที่ต่างๆ

        ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  กล่าวต่อว่า ความมั่นคงแห่งชาติเป็นเรื่องสำคัญ ตัวอย่าง เช่น เรื่องของโรคระบาด กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีส่วนร่วมในการทำชุดตรวจ H5 N1 และ H1 N1  และเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่นักวิจัยไทยสามารถผลิตต้นแบบ วัคซีน ได้เป็นครั้งแรก  อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ผงแบคทีเรียสำหรับใส่ในแหล่งน้ำนิ่ง น้ำขัง มีประสิทธิภาพทำลายลูกน้ำยุงลาย  ได้นำไปใช้ตามชุมชนต่างๆเพื่อความปลอดภัยของชีวิตในชุมชนมากขึ้น

        ด้านความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงกลาโหม จัดทำเครื่องตัดสัญญาณ คลื่นความถี่เพื่อจุดระเบิดในภาคใต้ ขณะนี้ กำลังพัฒนาและกำลังจะเสนอให้พิจารณาทำเรื่องคลื่นอื่นๆ ด้วย เช่น Walkie Talkie การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ภาษามาลายู  จัดค่ายสำหรับเยาวชน หรือ จัดทำข้อมูลดาวเทียมธีออสพื้นที่ภาคใต้

        ด้าน เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  กล่าวต่อว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์มีคณะกรรมการ กรอ.วท. เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนนำผลงานวิทยาศาสตร์ไปสู่เชิงพาณิชย์  จากการประเมินกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ ผลปรากฏว่า  5 ปี ย้อนหลังเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ 127,000  ล้านบาท   กระทรวงวิทยาศาสตร์มีหน่วยงาน 15 องค์กร  มีบุคลากรที่จบปริญญาเอก 12.7%   ปริญญาโท  41%    ปริญญาตรี  41 %  และอื่นๆ  14 %  เมื่อรวมกันแล้วถือว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์เป็นชุมชนที่ มีความหลากหลาย  ต่างมีความชำนาญและความเป็นเลิศในด้านต่างๆ  ผลิตผลงานออกมามากมาย  และมีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศ  และผลงานออกมาเป็นรูปธรรม เช่น โรงสีข้าว  โรงเลี้ยงไก่  การอบยางแผ่นรมควัน  ใช้เทคโนโลยีง่ายๆ ที่ผู้ประกอบการสามารถทำได้และประสบผลสำเร็จ เพิ่มมูลค่า ลดต้นทุน หากแหล่งใดมีปัญหา กรอ.วท.จะเป็นตัวช่วยพัฒนา ปรับปรุง ให้ดีขึ้น

 

ผู้เขียนข่าว : นางสาวอุษา  ขุนเปีย  กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  โทร 0 2354 4466  ต่อ  120
ถ่ายภาพโดย : นางสาวสุนิสา  ภาคเพียร   กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  โทร 0 2354 4466  ต่อ  199

 

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» รมว.วท.บรรยายในหัวข้อ"Thailand's Policy on Innovation,Science and Technolgy ให้แก่สถาบันพระปกเกล้า
» ดร.สุจินดา โชติพานิช ปกท.วท.บรรยายพิเศษเกี่ยวกับโครงการ วมว. และปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ประจำปี 2553
» รมว.กระทรวงวิทย์ฯ บรรยายพิเศษ การรับมือกับภาวะโลกร้อน : นโยบายประเทศไทย ในประชุมวิชาการ NAC 2010
» รมว.กระทรวงวิทย์ฯ บรรยายพิเศษ “วิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในชีวิตประจำวัน”
» รมว.วท. ประชุมคณะกรรมการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดจีที200 เพื่อกำหนดแนวทางการทดสอบ
» ก.วิทย์ประชุมวางกรอบทดสอบจีที 200 ครั้งแรก 4 ก.พ. พร้อมเปิดโอกาสสื่อมวลชนร่วมสังเกตการณ์ ยืนยันความถูกต้อง
» รมว.วิทย์ฯ ตั้งผู้เชี่ยวชาญตรวจ จีที200
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป