กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เป็นประธานในงานเลี้ยงพิเศษ The 2nd APEC Fut

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เป็นประธานในงานเลี้ยงพิเศษ The 2nd APEC Fut

พิมพ์ PDF

 

              ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในงานเลี้ยงพิเศษ The 2nd APEC Future Scientist Conference ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ระหว่างวันที่ 1-6 กุมภาพันธ์ 2553 จัดโดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ APECMentoring Center for the Gifted in Science (AMGS) ประเทศเกาหลี จัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชน ในประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย – แปซิฟิก (APEC)
 The 2nd APEC Future Scientist Conference หรือ งานประชุมเยาวชนผู้มีอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ จากประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย – แปซิฟิก เพื่อเป็นการส่งเสริมเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ Giftedand Talented Children ) ให้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตัวเอง ผ่านกระบวนการทำกิจกรรมร่วมกับเยาวชนจากประเทศอื่นๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ และในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ในทุกประเทศในขณะนี้ โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมก็คือการใช้พลังงานของมนุษย์ ขณะเดียวกันปัญหาการขาดแคลนพลังงานก็สร้างความวิตกให้กับประชาชน โดยแนวทางการแก้ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แนวทางการจัดงานในปีนี้จึงให้นักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษได้ทำกิจกรรมและโครงงานภายใต้หัวข้อ “พลังงานสะอาดเพื่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”
วัตถุประสงค์ของการจัดงาน
1.เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ ในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก
2.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการให้การศึกษาวิทยาศาสตร์แก่นักเรียนที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนระดับมัธยมปลาย ผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ ตัวแทนประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก จาก 15 ประเทศ ได้แก่ บรูไน จีน ไต้หวัน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เม็กซิโก มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และไทย จำนวนประเทศละ 2 คน และอาจารย์ที่ปรึกษาประเทศละ 1 คน
ระยะเวลา และสถานที่ของการจัดงาน
วันที่ 1 – 6 กุมภาพันธ์ 2553
ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
 
กิจกรรม
1.     การบรรยายพิเศษของนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
2.     การแข่งขันการนำเสนอโปสเตอร์ของนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์
3.     การจัดทำและประกวดโครงงานกลุ่ม โดยสมาชิกในกลุ่มจะมาจากหลายประเทศ
4.     จัดพิมพ์ผลงานโครงการและโปสเตอร์ของเยาวชนเพื่อการเผยแพร่แก่นานาประเทศ
 
เขียนข่าวโดย : นางสาวสุนิสา ภาคเพียร กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ โทร 02-354-4466 ต่อ 199
ภาพโดย        : นางสาวสุนิสา ภาคเพียร อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» เปิดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโลกมืด กับ “ค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น” ครั้งที่ 9
» ก.วิทย์ฯ เตรียมจัดงาน "มหกรรมวิทย์ฯ ประจำปี 2559" อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้ปีแห่งถั่วพัลส์ ปีสากลของยูเนสโก
» รู้จัก..อพวช.
» กิจกรรมท่องโลกเทคโนโลยีชีวภาพ (World Biotech Tour Thailand) 18 มิถุนายน 2559
» เปิด “เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประจำปี 2559” หวังพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารให้กับเด็กปฐมวัย ภายใต้หัวข้อ “โลกแห่งการสื่อสาร”
» ติดปีกความรู้นอกห้องเรียน 7 พฤษภาคม 2559
» สวทช. จัดค่ายวิทยาศาสตร์ระบบราง คัด 70 เยาวชนไทย ปูพื้นความรู้ระบบขนส่งทางราง
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป