กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน 10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม ประจำปี 2552 (TOP TEN INNOVATIVE BUSINESS 2009) โดยฝีมือคนไทย

10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม ประจำปี 2552 (TOP TEN INNOVATIVE BUSINESS 2009) โดยฝีมือคนไทย

พิมพ์ PDF

 

     ดร.สุจินดา  โชติพานิช   ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นประธานในงานประกาศและมอบเกียรติบัตร 10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม ประจำปี 2552 (TOP TEN INNOVATIVE BUSINESS 2009) โดยมี นายโฆษิต  ปั้นเปี่ยมรัษฎ์  ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ  ดร.ศุภชัย  หล่อโลหการ  ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) (สนช.)  และเจ้าของผลงาน 10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม ร่วมงาน  ห้องอินฟินิตี้ 2 โรงแรมพูลแมน ถนนรางน้ำ กรุงเทพ  วันที่ 24 ธันวาคม  2552

       นายโฆษิต    ปั้นเปี่ยมรัษฎ์  ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ  กล่าวว่า  สนช. มุ่งเน้นสนับสนุนให้เกิดการยกระดับทักษะความสามารถด้านนวัตกรรม  การบริหารจัดการ และส่งเสริมความสำเร็จด้านนวัตกรรม เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมนวัตกรรมทั้งในระดับอุตสาหกรรม  องค์กร และประชาชนทั่วไปผ่านกิจกรรมโครงการต่างๆ 
      
       การจัดอันดับ 10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม นับเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ สนช. จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 เพื่อประกาศเกียรติคุณ ยกย่อง และเชิดชูผู้ประกอบการไทยที่สร้างนวัตกรรมให้กับธุรกิจของตน  ขอแสดงความชื่นชมกับเจ้าของผลงานนวัตกรรมทุกๆ โครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของผลงาน
10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม ประจำปี 2552 ถือเป็น นักนวัตกร  ที่มีคุณค่ายิ่งต่อประเทศชาติ เป็นตัวอย่างความสำเร็จของผู้ดำเนินการนวัตกรรม ตลอดจนเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆ เกิดความสนใจที่จะดำเนินกิจการโดยมีการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง  และหวังว่าจะไม่หยุดสร้างความแตกต่างและจุดเด่นให้เกิดขึ้นในธุรกิจ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะธุรกิจนวัตกรรมให้สามารถเติบโตสร้างงานให้คนไทย  สร้างตลาดใหม่ให้กับประเทศชาติต่อไป

 

       ด้าน ดร.ศุภชัย  หล่อโลหการ  ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) (สนช.)  กล่าวว่า  การคัดเลือก 10 สุดยอดธุรกิจวัตกรรม ประจำปี 2552 หรือ TOP TEN INNOVATIVE BUSINESS 2009  ได้คัดเลือกผลงานจากโครงการที่ สนช. ให้การสนับสนุนจากจำนวนทั้งสิ้น 432 โครงการ วงเงินสนับสนุน 423.51 ล้านบาท ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนกว่า 7,600 ล้านบาท โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณา ได้แก่ 1.เป็นรูปแบบธุรกิจใหม่  2. สนับสนุนด้วยเทคโนโลยีที่โดดเด่น  3.มีศักยภาพสูงในตลาดโลก  4. มีการบริหารจัดการองค์กรที่ดี  5. การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา  และ 6. ก่อให้เกิดกระแสตื่นตัวด้านนวัตกรรม   

       ดร.ศุภชัย  หล่อโลหการ  กล่าวต่อว่า  สนช. ได้ตั้งเป้าหมายเพื่อเป็นตัวอย่างในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมของภาคเอกชน รวมถึงแสดงแนวโน้มทิศทางธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพในประเทศไทย  และหวังสร้างให้เกิดบรรยากาศการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

       สำหรับผลงาน10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม ประจำปี 2552  หรือ TOP TEN INNOVATIVE BUSINESS 2009 ที่ได้รับการคัดเลือก ได้แก่

                          อันดับ 1
  ดินสอ  หุ่นยนต์บริการอัจฉริยะ ของบริษัท ซีที เอเชีย โรโบ-ติกส์ จำกัด
                                        ได้ 95 คะแนน 

 

 

 


                          อันดับ 2
  ซีออส  แนวป้องกันการกัดเซาะพื้นที่ป่าชายเลน ของบริษัท ไทยไฮบริด จำกัด
                                        ได้ 91.8 คะแนน 

 

 



                          อันดับ 3   
เบบี้ ยัมมี่  อาหารเสริมสำเร็จรูปสำหรับเด็กเล็กจากข้าว ของบริษัท บางซื่อ  
                                        โรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด ได้ 91 คะแนน 

 

 


                          อันดับ 4   
เจทีไอ  ถังคอมโพสิตบรรจุก๊าซแอลพีจี ของบริษัท อุตสาหกรรม จอบไท จำกัด
                                        ได้
90 คะแนน 

 

 



                          อันดับ 5   
ไวท์ ฟาวเวอร์  น้ำผึ้งอินทรีย์ทางการแพทย์ ของบริษัท สยามเมียลอินเตอร์
                                        เนชั่นแนล จำกัด ได้ 8
9 คะแนน

 

 

 


                          อันดับ 6
  พาลาทีน  นวัตกรรมน้ำตาลเพื่อสุขภาพ บริษัท น้ำตาลราชบุรี จำกัด
                                        ได้ 87 คะแนน 

 

 



                          อันดับ 7   
นีท  ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูปไร้น้ำมัน  ของโรงงานเส้นก๋วยเตี๋ยว น. นิตย์  สวรรคโลก
                                        ได้ 85 คะแนน 

 

 



                          อันดับ 8
  “เชอริช”  ขนมฟังก์ชั่นสำหรับสุนัข ของบริษัท อินโนเพ็ต โปรดักส์ จำกัด
                                        ได้ 84 คะแนน 

 

 



                          อันดับ 9
 “ซีมูฟ”  ระบบบริหารการขนส่งแบบต่อเนื่อง ของบริษัท ดี เอ็กซ์ อินโนเวชั่น จำกัด
                                        ได้ 82 คะแนน 

 

 



                 และ   อันดับ 10
ไบโอพลาสเทค  เครื่องเป่าขึ้นรูปฟิล์มพลาสติกชีวภาพแบบสามชั้น ของบริษัท อุตสาหกรรมถุงพลาสติคไทย จำกัด  
                                           
                                             ได้ 80 คะแน

 

       นอกจากนี้ สนช.ได้จัดทำหนังสือ “Thailand Top Innovative Companies 2010”  โดยนำเสนอตัวอย่างบริษัทนวัตกรรมของไทยเพื่อส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัว และตระหนักถึงความสำคัญของการนำแนวคิดแบบนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาองค์กร และบุคลากร พร้อมทั้งเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ธุรกิจ และเศรษฐกิจไทยในระดับสากล  จัดพิมพ์เนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ สี่สีทั้งเล่มเผยแพร่ออกไปยังหน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศทั่วโลก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนทั่วโลก ศูนย์พาณิชยกรรมไทยในต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆ สมาคมธุรกิจ เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย ฯลฯ และบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

 

ผู้เขียนข่าว : นางสาวอุษา  ขุนเปีย  กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  โทร. 0 2354 4466 ต่อ 120

ถ่ายภาพโดย : นายไววิทย์  ยอดประสิทธิ์  กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  โทร. 0 2354 4466   ต่อ 118

 

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป