กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน การประชุมวิชาการ เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ประจำปี 2552 “GEONFOTECH 2009”

การประชุมวิชาการ เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ประจำปี 2552 “GEONFOTECH 2009”

พิมพ์ PDF

                 ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ประจำปี2552ในวันที่ 16 ธันวาคม 2552  โดยทางสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ กรมแผนที่ทหาร, สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย, สมาคมการสำรวจและการแผนที่, สมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย ณ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 16-18 ธันวาคม 2552


  


               ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเปิดสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมTHEOS อย่างเป็นทางการ ทรงมีความสนพระทัยด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศและสารสนเทศแห่งประเทศไทยได้สร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยในหลายด้าน และทรงรับสั่งว่าTHEOS สามารถที่จะช่วยติดตามโครงการพระราชดำริ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวข้องกับการชลประธานและการเกษตร ซึ่ง THEOS จะช่วยติดตามและดำเนินการอยู่ในขณะนี้
                  ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช กล่าวต่อว่า ผลงานของ สทอภ. กว้างขวางมากมายทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง มีการพัฒนาอุปกรณ์  และผู้ที่สนใจให้มาร่วมกับโครงการของเรามากขึ้น ตั้งแต่ระดับนักเรียน ผู้สนใจทั่วไป นักวิจัยและนักวิชาการ ดังที่ทราบกันดีว่าโลกเรากำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
                 เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเท่าที่ทราบจะเป็นเครื่องมือสำคัญเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าใจถึงประสบการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น เหมือนตาวิเศษที่สามารถส่องดูทั่วโลกได้ ที่ไหน ๆ เราก็ถ่ายภาพด้วยดาวเทียมTHEOS ที่ใช้ระยะเวลาเดินรอบโลกรอบนึง 100 นาที ฉะนั้น เมื่อเป็นดาวเทียมของเราเอง เจ้าหน้า นักวิทยาศาสตร์ของเราสามารถที่จะปรับระดับของสถานที่และมุมว่าอยากได้แบบใด อย่างไรก็ตามเรากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาร่วมกัน เพื่อสร้างความรู้ให้กับคนไทย ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ให้การสนับสนุน และมีเป้าหมายว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะต้องสร้างงาน สร้างเงิน สร้างคุณภาพชีวิตให้กับคนไทย 


                รศ.สมเจตน์ ทิณพงษ์ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1.เพื่อส่งเสริมให้นักวิชาการและนักวิจัยได้เสนอผลงานการวิจัย2.เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ด้านภูมิสารสนเทศ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง 3.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์ ตลอดจนเปิดโอกาสให้นักเรียนนำเสนอผลงานโครงงานวิจัยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศระดับเยาวชน ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมประมาณ 800 คน จากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา

 
               การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ประจำปี2552 หรือ “GEONFOTECH 2009” ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2552 จะเป็นการผลักดันให้นำผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาด้านภูมิสารสนเทศและการต่อยอดสิทธิบัตร รวมทั่งส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนได้เรียนรู้ เข้าใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในการทำโครงงานวิจัยและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างดี พร้อมกันนี้ยังได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากองค์กรพันธมิตร ได้แก่ บริษัท GEOEYE , บริษัท EADS Astrium , Digital Globe International และ Percise Steel@consstrucktion
 สำหรับสาระการประชุมประกอบด้วย การบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 เรื่อง  ได้แก่
               - “บทบาทและทิศทางเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศไทย” โดย รศ.สมเจตน์ ทิณพงษ์ ประธานกรรมการบริหารสำนักเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
               - “GIS-Technologies for Environmental Monitoring and Nature-Use Problems” โดย Dr. Anna Lyubimova, Head of GIS Department, Russian Academy of Natural Science (RANS) ประเทศรัสเซีย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สทอภ. มีความร่วมมือกับ RANS ด้านเทคโนโลยีอวกาศในการสำรวจทรัพยากร ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 14-25 ธันวาคม 2552 คณะผู้เชี่ยวชาญจาก RANS มาถ่ายทอดความรู้ ทั้งจากการบรรยาย การฝึกปฏิบัติ และการวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคลากรของ สทอภ. รวมทั้งขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
                - การบรรยาย “THEOS Approach of 3D Mapping”  โดย ดร.ดาราศรี ดาวเรือง รักษาการผู้อำนวยกรสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
                - การบรรยาย “THEOS TO GO” โดย ผศ. ดร. ไพศาล สันติธรรมนนท์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
               - และ “เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก” โดย ผศ.ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและกรรมการบริหาร สทอภ. นอกจากนี้ ยังมีการอภิปราย “การรับมือการเปลี่ยนแปลงโลกด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ” โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, กรมแผนที่ทหาร, กรมพัฒนาที่ดิน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สทอภ.

 
             ภายในบริเวณงานยังมีส่วนนิทรรศการที่นำเสนอบทความทางวิชาการ ผลงานวิจัยความก้าวหน้า และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศชองหน่วยงานภาครัฐ 27 แห่ง และเอกชน 18 แห่ง รวมถึงการนำเสนอบทความวิชาการด้านการเกษตร, ป่าไม้, การใช้ที่ดิน, การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ, สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ รวมทั้งการทำแผนที่ โดยนักวิชาการ นักวิจัย นิสิต-นักศึกษา มาจัดแสดงสำหรับผู้ที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วย
 
ผู้เขียนข่าว : นางสาวณัฎฐธิดา คุมพรรค  กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ โทร. 02 354  4466 ต่อ 120
ถ่ายภาพโดย : นางสาวสุนิสา ภาคเพียร กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ โทร. 02 354  4466 ต่อ 199

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป