กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน สวทช. กระทรวงวิทย์ฯ และทีมนักวิจัยไทยจับมือนานาชาติ ตามรอยประชากรภูมิภาคเอเชีย สำเร็จ ผลงานได้ตีพิม

สวทช. กระทรวงวิทย์ฯ และทีมนักวิจัยไทยจับมือนานาชาติ ตามรอยประชากรภูมิภาคเอเชีย สำเร็จ ผลงานได้ตีพิม

พิมพ์ PDF

     

 

       ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นประธานในการแถลงข่าวความสำเร็จที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และทีมนักวิจัยไทยจับมือนานาชาติ ตามรอยประชากรภูมิภาคเอเชีย สำเร็จ  ผลงานได้ตีพิมพ์ในวารสาร Science โดยมี รศ.นพ.ประสิทธิ์  ผลิตผลการพิมพ์   รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ( สวทช. )  ศ.นพ.สุทัศน์  ฟู่เจริญ  จากสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลมหาวิทยาลัยมหิดล    รศ.ดร.ดาวรุ่ง  กังวานพงศ์  จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  และดร.ศิษเฎศ  ทองสิมา  นักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ  ร่วมแถลงข่าวด้วย  ณ ห้องโถงชั้น 1  อาคารพระจอมเกล้า  กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2552
              

 

        ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  กล่าวว่า  ครั้งนี้เป็นการวิจัยครั้งแรกที่ได้มีโอกาสร่วมมือกับ 10 ประเทศ  12  เขตเศรษฐกิจ  ขอบคุณและขอแสดงความชื่นชม ยินดีในความสำเร็จ  ถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และประเทศไทย   ได้ตีพิมพ์ผลงานความสำเร็จในวารสาร Science  ที่มีชื่อเสียงอีกฉบับหนึ่งของโลกด้านวิทยาศาสตร์   นับว่าเป็นความสำเร็จของคนไทย
               กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  สนับสนุนการวิจัยที่เกี่ยวกับทางด้านสาธารณสุข  สิ่งมีชีวิต  สัตว์  พืช  และคน  หากมีการระบาดของโรคภัยไข้เจ็บในแต่ละครั้ง เช่น ไข้หวัดนก  Sars ฯลฯ  ก็มีส่วนร่วมในการวิจัย  พัฒนา เครื่องตรวจโรคที่ตรวจได้เร็ว แม่นยำ รวมไปถึงการผลิตวัคซีนต้นแบบไข้หวัดใหญ่ 2009   ที่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลต่างๆ  เป็นความภาคภูมิใจที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้มีส่วนร่วม
               รศ.นพ.ประสิทธิ์  ผลิตผลการพิมพ์   รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า  ในปัจจุบันการวิจัยทางการแพทย์มีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านพันธุกรรมของมนุษย์  ที่มีข่าวกันมานานก็คือ จีโนมมนุษย์   เรามีความเข้าใจกับปัจจัยทางพันธุกรรม โรค และผลของการใช้ยาต่างๆ  การรักษาในปัจจุบันจึงมีการตรวจทางพันธุกรรมก่อนให้ยาบางชนิด   จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศต่างๆ ต้องทราบถึงโครงสร้างพันธุกรรมของประชากรตนเอง  เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานไปสู่การวินิจฉัย  การทำนายอัตราเสี่ยงของโรค  การป้องกัน และการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาที่มาประชากรในภูมิภาคเอเชียจากข้อมูลด้านพันธุกรรมของมนุษย์เพิ่มเติมจากข้อมูลแหล่งที่อยู่อาศัย  และภาษาศาสตร์ในแต่ละเชื้อชาติ   เป็นครั้งแรกในความร่วมมือของภูมิภาคเอเชียกับกลุ่มนักวิจัยประเทศต่างๆ ถึง 90 คน จาก The Human Genome Organization’s (HUGO’s) Pan-Asia SNP Consortium    10 ประเทศ  ได้แก่  สิงคโปร์  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์  ไต้หวัน  จีน  เกาหลี  ญี่ปุ่น  อินเดีย  และไทย  
               รศ.นพ.ประสิทธิ์  ผลิตผลการพิมพ์  กล่าวต่อว่า สวทช. ได้ผลักดันและสนับสนุนการวิจัยด้านจีโนมและพันธุกรรมมนุษย์มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว  สำหรับในโครงการนี้  นอกจากมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมเจรจากับกลุ่มผู้ริเริ่มนานาชาติในช่วงต้นแล้ว  ยังได้ดำเนินการประสานงานและผลักดันให้เกิดการทำงานขึ้นระหว่างทีมนักวิจัยด้านพันธุศาสตร์ในประเทศไทย

 

 
               ด้าน ศ.นพ.สุทัศน์  ฟู่เจริญ  กล่าวว่า  โครงการนี้เป็นการแสดงความสามารถทางด้านความร่วมมือของนักวิจัยซึ่งไม่ว่าแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจอย่างไร  แต่งานวิจัยนี้ก็สามารถสำเร็จได้ ท้ายที่สุดจะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่าของมนุษยชาติในอนาคต
               ด้าน รศ.ดร.ดาวรุ่ง  กังวานพงศ์    กล่าวว่า  ประชากรในการศึกษามาจาก 13  กลุ่มชาติพันธุ์  ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณอาสาสมัครทุกท่านที่ให้ตัวอย่างเลือดในการทำวิจัย  นักวิจัยจากสถาบันชาวเขา  และผู้นำชุมชนระดับกำนันและผู้ใหญ่บ้านที่ให้ความอนุเคราะห์และประสานงานเชิญอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ  ด้วยความสนใจในงานวิจัยเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของตนโดยไม่มีปัญหาหรือความรู้สึกว่าเป็นการแบ่งแยกทางเชื้อชาติเลยแม้แต่น้อย
               ดร.ศิษเฎศ  ทองสิมา  กล่าว่า  โครงการวิจัยขั้นพื้นฐานอย่างโครงการนี้นอกจากจะผลักดันให้เกิดความตื่นตัวในแง่ความร่วมมือแล้วยังเพิ่มศักยภาพของนักวิจัยได้จากการเรียนรู้การทำงานร่วมกับนานาประเทศ  ข้อมูลและองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากโครงการสามารถนำไปต่อยอดงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อคนไทยได้

 


              ความร่วมมือระดับนานาชาติภายใต้โครงการ “Mapping Human Genetic Diversity in Asia”  หรือ ตามรอยชาติพันธุ์ของประชากรภูมิภาคเอเชีย  แสดงให้เห็นถึงความสามารถของนักวิจัยจากนานาประเทศในการร่วมมือกันทำงานด้านจีโนมและพันธุศาสตร์ร่วมกัน  จนสามารถสร้างผลงานที่เกิดประโยชน์ในแต่ละประเทศและภูมิภาคเอเชียนำไปสู่ความเข้าใจด้านวิวัฒนาการของมนุษย์ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในงานวิจัยด้านระบาดวิทยา  พันธุศาสตร์  นิติวิทยาศาสตร์ และพันธุศาสตร์ประชากร  ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาด้านโรคพันธุกรรมและการรักษาโรคต่อไปในอนาคต

 

 

 


ผู้เขียนข่าว : น.ส.อุษา  ขุนเปีย กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  โทร 0 2354 4466 ต่อ 120
ถ่ายภาพโดย : น.ส.สุนิสา  ภาคเพียร  กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  โทร 0 2354 4466 ต่อ 199
 

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป