กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน

ข่าวสารหน่วยงาน

รวบรวมข่าวสารประชาสัมพันธ์ และข่าวทั่วไป ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คลอบคลุม ทั้ง ข่าวกิจกรรม ภาพข่าวกิจกรรมของ หน่วยงานในสังกัดกระทรวง

 



อพวช. ผนึกสมาคมวิทย์ เป็นเจ้าภาพจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาเซียน ครั้งที่ 2

พิมพ์ PDF

 

 

            กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นเจ้าภาพจัด “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 2” (The 2nd ASEAN Student Science Project Competition) เวทีการประกวดทางวิทยาศาสตร์ระดับสากล ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียนมาร่วมแข่งขันและแสดงผลงาน ระหว่างวันที่ 25 – 29 กรกฎาคม นี้  ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

 

 

            25 กรกฎาคม 2558 – ปทุมธานี/ นางกรรณิการ์ เฉิน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวในฐานะหน่วยงานหลักในการจัดการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียนว่า เดิมเวทีนี้เกิดขึ้นจากการหารือระหว่าง อพวช. กับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยทั้งสองหน่วยงานมีความมุ่งหวังที่จะเปิดโอกาสให้เยาวชนในกลุ่มอาเซียนได้มีเวทีประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เทียบเท่างานประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์ในระดับโลก และหากประสบความสำเร็จตามเป้าหมายก็จะก่อให้เกิดกระแสความตื่นตัวที่ยั่งยืนต่อไป จึงเป็นอีกกิจกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมให้อาเซียนรวมเป็นหนึ่ง ขณะเดียวกัน กิจกรรมนี้ยังส่งเสริมให้เยาวชนอาเซียนได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์แนวคิดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สามารถนำไปบูรณาการแก้ไขปัญหาได้ในชีวิตประจำวัน ในประเทศของตน ตลอดจนในภูมิภาคอาเซียนได้

 

 

            จากการประกวดครั้งแรกเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา มีประเทศสมาชิกอาเซียนส่งเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวน 7 ประเทศ ซึ่งถือเป็นผลงานที่น่าพอใจสำหรับการจัดงานเป็นปีแรก และสำหรับการประกวดฯ ในครั้งที่ 2 นี้ มีประเทศสมาชิกให้ความสนใจส่งเยาวชนและครูวิทยาศาสตร์เข้าร่วมกิจกรรม รวมแล้วกว่า 100 คน จาก 8 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เมียนมาร์ ลาวและไทย โดยการประกวดจะแบ่งออกเป็น 3 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และนวัตกรรรมสร้างสรรค์ (วิทยาศาสตร์ประยุกต์) ซึ่งเยาวชนทุกคนที่เข้าร่วมการประกวดครั้งนี้ล้วนมีประสบการณ์ในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ หรือเป็นผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น ดังนั้น ในการตัดสินการประกวดจึงใช้มาตรฐานระดับสากลเป็นเกณฑ์ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิและวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการตัดสินการประกวดโครงงานมาเป็นคณะกรรมการในครั้งนี้

 

            รศ.ดร.ธารารัตน์ ศุภศิริ อุปนายกสมาคมฝ่ายประชุมวิชาการและกิจกรรมสาขา (ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์) สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวเสริมว่านอกจากเยาวชนของอาเซียนจะได้นำผลงานวิทยาศาสตร์มาร่วมประกวดแล้ว พวกเขายังได้มาร่วมใช้ชีวิตในรูปแบบกิจกรรมค่ายกันที่ อพวช.  ที่เปิดโอกาสให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน พร้อมมีกิจกรรมและการบรรยายต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้จากนักวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าของไทย นอกจากนี้ ยังมีการแสดงที่จะสร้างความประทับใจซึ่งสอดแทรกวัฒนธรรมไทย ตลอดจนการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ของไทย ซึ่งเราเชื่อว่ากิจกรรมทั้งหมดนี้จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจและจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์ให้เยาวชนอาเซียน และสร้างเครือข่ายเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์ให้กับภูมิภาคนี้ได้ต่อไป

 

 

            โดยงานนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 25 - 29 กรกฎาคม นี้ ที่ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี สำหรับเยาวชนไทยหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมชมโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ประกวด สามารถเข้าชมได้ในวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พร้อมลุ้นการประกาศผลการประกวดโครงงาน ได้ตั้งแต่เวลา 09.00 -11.00 น.

 

 


 

 


ข่าวโดย : องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

เผยแพร่ข่าวโดย : นางสาวนฤมล รัตนสุวรรณ์

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834

e-mail :  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน   Facebook : sciencethailand

Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313

 

 

 

สนช. ร่วมกับธนาคารออมสินผนึกกำลังปั้นสตาร์ทอัพและ SMEs ไทย เดินหน้ากลไก “นวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย”เพื่อเกื้อหนุนต่อธุรกิจสตาร์ทอัพและ SMEs

พิมพ์ PDF

 

             กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ร่วมกับธนาคารออมสิน ลงนามความร่วมมือภายใต้ “โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและวิสาหกิจเริ่มต้น” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยจะให้ความรู้และคำปรึกษาทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการ เทคโนโลยี นวัตกรรม การบริหารจัดการ ระบบการเงิน การตลาด ตลอดจนด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการส่งต่อผู้ประกอบการะหว่างกันให้สามารถเข้าถึงบริการของแต่ละหน่วยงานอย่างทั่วถึง

 

             ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สนช. กล่าวว่า “สนช. เป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้ “MOST startup” ซึ่งได้วางแผนการดำเนินงานระยะยาวแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการสร้างและพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อช่วยให้วิสาหกิจเริ่มต้น หรือสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะกลุ่มเทคสตาร์ทอัพของประเทศมีศักยภาพในการขยายธุรกิจและสร้างตลาดใหม่ และสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด สำหรับความร่วมมือกับธนาคารออมสินในครั้งนี้ สนช. จะเป็นช่องทางในการแนะนำสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพและผ่านการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ ด้านนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี และด้านอื่น ๆ ตามที่ สนช.เห็นสมควร แก่ธนาคารเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านการเงิน ได้แก่ การร่วมลงทุน หรือการขอสินเชื่อจากธนาคาร ตลอดจนให้การสนับสนุนภายใต้บันทึกความร่วมมือในโครงการนวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย โดยจะให้ความร่วมมือในการส่งต่อผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีระหว่างกัน รวมถึงการจัดส่งผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ ด้านต่างๆ ของ สนช. เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการ หรือร่วมกิจกรรมอื่นๆ ในโครงการ GSB StartUP ของธนาคาร นอกจากนี้ สนช. ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่านผู้ประกอบการเพื่อสังคม โดยได้วางกรอบการพัฒนาแผนงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์โครงการนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคม และโครงการนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ โดยนำร่องสนับสนุนคลัสเตอร์เกษตรอินทรีย์ คลัสเตอร์ประมงชายฝั่งและการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลสู่คลัสเตอร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป และสนช.ยังมีโครงการ “นวัตกรรมดี..ไม่มีดอกเบี้ย” สนับสนุนผู้ประกอบการที่ต้องการทุนสนับสนุนไม่เกิน 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน MLR+2 โดย สนช.จะชำระดอกเบี้ยแทนให้ผู้ประกอบการ เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้จะช่วยยกระดับความร่วมมือของทั้งขององค์กรให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น”

 

             ด้านธนาคารออมสิน นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารออมสิน เป็นสถาบันการเงินที่ส่งเสริมการออมและสร้างวินัยทางการเงิน อีกทั้งยังเป็นแหล่งทุนเพื่อส่งเสริมภาคธุรกิจตั้งแต่ระดับฐานรากของประเทศ ส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงให้บริการทางการเงินที่หลากหลายและครอบคลุมทุกบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกสาขาอาชีพ

 

             สำหรับความร่วมมือ โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและวิสาหกิจเริ่มต้น ในครั้งนี้เกิดจากความประสงค์
ที่จะให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม(SMEs) ได้เข้าถึงแหล่งทุนอันจะเป็นการสร้างโอกาสเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
เชิงพาณิชย์ ผลิตสินค้าป้อนตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยธนาคารมีโครงการรองรับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและได้รับการรับรองจาก สนช. ถึง 2 รูปแบบ คือ ด้านการให้สินเชื่อ ได้แก่ สินเชื่อ SMEs Start Up วงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 ร้อยละ 3.99 ต่อปี สินเชื่อ GSB SMEs ส่งเสริมศักยภาพธุรกิจไทย วงเงินไม่เกิน 50ล้านบาท กรณีธนาคารร่วมลงทุน อัตราดอกเบี้ย
ปีที่ 1-2 ร้อยละ 3.99 ต่อปี กรณีธนาคารไม่ร่วมลงทุน อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 ร้อยละ 4.99 ต่อปี ปัจจุบัน MLR=6.5 ต่อปี MOR=7.1 ต่อปี

 

             และ ด้านการลงทุน กองทุน SMEs Private Equity ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารออมสิน กับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และภายใต้กรอบความร่วมมือในครั้งนี้ นอกจากการเป็นแหล่งเงินทุนแล้ว ทั้ง 2 หน่วยงาน ยังจะร่วมกันให้ความรู้ อันเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ประกอบการร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางสื่อของแต่ละองค์กร และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ธนาคารออมสินคาดหวังว่าผู้ประกอบการ SMEs Startup จะสามารถเข้าถึงแหล่งทุน และดำเนินกิจการด้วยความแข็งแกร่ง และมีการเจริญเติบโตทางธุรกิจมากขึ้นไปส่งผลโดยตรงให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ ของไทยก็มีการเติบโตไปตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับอาเซียน (AEC) หรือแม้กระทั่งในระดับโลก ซึ่งถ้าหลายๆ SMEs
มีความแข็งแรง ก็ย่อมจะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมีความแข็งแกร่งในระยะยาว

 

 



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

โทร. 0 – 2017 5555 โทรสาร 0 – 2017 5566 เว็บไซต์: www.nia.or.th อีเมล์: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

และสื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารออมสิน

Website : www.gsb.or.th,www: GSB Society, Official Line : GSB ธนาคารออมสิน

หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ธนาคารออมสิน Call Center โทร.1115


เผยแพร่ข่าวโดย : นางสาวนฤมล รัตนสุวรรณ์

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834

e-mail :    อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน   Facebook : sciencethailand

Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313

 

 


 

 

มาตรวิทยาแสงแท็คทีมผู้เชี่ยวชาญ ถกประเด็นยุทธศาสตร์ชาติพัฒนาแผนพลังงานทดแทน เน้น NQI แกร่งสร้างแรงขับเคลื่อนที่ดี ตอบโจทย์แผนชาติ ชัวร์

พิมพ์ PDF

 

             กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดย ฝ่ายมาตรวิทยาแสง สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) จัดงานสัมมนา หัวข้อ มาตรวิทยาต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน (เน้นพลังงานแสงอาทิตย์) โดยมี ร.ท. อุทัย นรนิ่ม รักษาการหัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยาแสงกล่าวเปิดงานสัมมนา ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2559 ณ ห้องแกรนด์บอลลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานครฯ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ และรวบรวมข้อมูลความต้องการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในทุกภาคส่วน ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและประโยชน์ของระบบมาตรวิทยาต่อการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องตามแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติในเรื่องของการสนับสนุนพลังงานทดแทนของรัฐบาล โดยการสัมมนาจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การสัมมนาให้ความรู้เรื่อง มาตรวิทยาต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน และ ส่วนที่เป็นการอภิปรายไขข้อสงสัยเกี่ยวกับนโยบายและการสนับสนุนของภาครัฐ ต่อการประกอบธุรกิจพลังงานทดแทนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ในช่วงท้าย

 

 

             โดยภาคเช้ามีการบรรยายหัวข้อ “ บทบาทของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติต่อการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน” โดย นางสาวโรจนา ลี้เจริญ รักษาการหัวหน้าห้องปฏิบัติการสีและการกระจายคลื่นแสง ฝ่ายมาตรวิทยาแสง มว. , “ศักยภาพและการใช้ประโยชน์ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนในปัจจุบัน” โดย รศ. ดร. เสริม จันทร์ฉาย หัวหน้าห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องวัดรังสีอาทิตย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ,  “การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และการทดสอบประสิทธิภาพแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ” โดย ดร. ธีรยุทธ์ เจนวิทยา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนามาตรฐานและทดสอบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

 

             ภาคบ่ายในหัวข้อ “รูปแบบทางธุรกิจและช่องทางการจัดหาเงินทุนสำหรับระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาในประเทศไทย”โดย นาย ธนัย โพธิสัตย์ ที่ปรึกษาโครงการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ), “ระบบการผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์”โดย รศ. ดร. ธนรัฐ ศรีวีระกุล กรรมการบริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน สถาบันวิจัยและบริการด้านพลังงาน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษ หัวข้อ  “นโยบายและการสนับสนุนของภาครัฐ ต่อการประกอบธุรกิจพลังงานทดแทนด้านพลังงานแสงอาทิตย์” โดย นายสุรีย์ จรูญศักดิ์ วิศวกรชำนาญการพิเศษ (ผู้อำนวยการกลุ่มออกแบบ มาตรฐานและทดสอบ) สำนักพัฒนนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และ นายเลิศชาย แก้ววิเชียร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

 

             และช่วงสุดท้ายของการประชุมเป็นการอภิปราย เพื่อไขข้อสงสัยในเรื่องต่างๆ เช่น นโยบายการจัดการและสนับสนุนเพื่อใช้ส่งเสริมพลังงานทดแทนพลังงานแสงอาทิตย์ควรเป็นไปในทิศทางใด, การรับซื้อพลังงานทดแทน, ความเป็นไปได้ของโครงการนำร่อง “Solar เสรี” เป็นต้น โดยเหล่าวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้มีการเชื่อมโยงถึงโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) ว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่ดีในการผลักดันยุทธศาสตร์ด้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในเรื่องของพลังงานทดแทน โดย บทบาทด้านมาตรวิทยา (M: Metrology) ของ มว. จะเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่สำคัญเพื่อนำประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งวัฒนธรรมคุณภาพ

 


 

 

ผู้เขียนข่าว : นางสาวกล่องเพชร จันทรโคตร
ผู้ประสานงาน : นายประสิทธิ์ บุบผาวรรณา

http://www.nimt.or.th เบอร์โทรศัพท์ 02 577 5100 ต่อ 4226 -7 เบอร์แฟกซ์ 02 577 2823

 e-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

เผยแพร่ข่าวโดย : นางสาวนฤมล รัตนสุวรรณ์

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834

e-mail :        อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน   Facebook : sciencethailand

Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313

 



Tags NQI - Solar
 

ประชุมอนุกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งสภาวิชาชีพฯ เน้นประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งนายกสภาฯ วาระที่ 3

พิมพ์ PDF

 

 

          วันที่ 26 กรกฎาคม 2559 ณ ห้องประชุม ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ สภาวิจัยแห่งชาติ  นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งสภาวิชาชีพ (สชวท.) ประชุมคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ฯ ครั้งที่ 5/2559 โดยขอความร่วมมือคณะอนุกรรมการฯ ช่วยเร่งประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งนายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วาระที่3 (2559-2563) ซึ่งจะครบรอบการดำรงตำแหน่งวารระที่ 2 ในวันที่ 30 กันยายน 2559 

          กฤษณ์ธวัชฯ  กล่าวว่า ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการเลือกตั้ง ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 เห็นชอบให้ดำเนินการเลือกตั้งโดยมีกำหนดการกิจกรรม ดังนี้ 

                - รับสมัครผู้รับเลือกตั้ง  วันที่ 5-11 สิงหาคม 2559  

                - เริ่มส่งบัตรเลือกตั้งและเอกสารแนะนำวิธีการเลือกตั้งให้สมาชิก  วันที่ 18 สิงหาคม 2559 

                - นับคะแนน วันที่ 14 กันยายน 2559 

   

 

           ทั้งนี้ ผู้สมัครจะต้องเดินทางมาสมัครด้วยตนเองที่สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สชวท.) อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ชั้น 3 อาคาร 2) ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ  โดยติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับการสมัครเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.cstp.or.th หรือโทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3010, 3020 

 

   

 

        นอกจากนี้ ที่ประชุมได้กำหนดวันจัดกิจกรรมโครงการสื่อมวลชนสัญจร ซึ่งจะนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมดูงานด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ระยอง พร้อมกิจกรรมประชาสัมพันธ์แนะนำบทบาทภารกิจของ สชวท. เพื่อเชิญชวนผู้ประกอบการ บริษัท บุคคล สมัครเข้าเป็นสมาชิก สชวท. เพิ่มขึ้น

 

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สชวท.) อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ชั้น 3 อาคาร 2)

ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ www.cstp.or.th หรือโทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3010, 3020 

 ข่าวโดย : นางเทียรทอง ใจสำราญ

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทร. 02 333 3728-3732  โทรสาร 02 333 3834

E-Mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน  facebook : sciencethailand

 

สนช. จับมือหน่วยงานนโยบายแดนปลาดิบเปิดมุมมองการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0

พิมพ์ PDF

อ่านเพิ่มเติม...
 
หน้า 7 จาก 601
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป