กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวประชาสัมพันธ์ มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
พิมพ์ PDF

 

      งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2558 / ต่อยอดการเรียนรู้เรื่องโลกร้อน Global warming & Climate change กัน ด้วยนิทรรศการวิกฤต ลมฟ้า อากาศ ที่ที่คุณจะได้สัมผัสความตื่นตา ตื่นใจไปกับการผจญภัย 4 มิติบน Tomorrow Ship ร่วมคลายความสงสัยเรื่องธรรมชาติของฤดูกาลและสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบและแนวการการป้องกันรับมือกับสภาวะดังกล่าว ตลอดจนแนวทางการแก้ไข ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน

     ก๊าซเรือนกระจก มีคุณสมบัติช่วยดูดกลืนพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ เพื่อไม่ให้โลกรับรังสีความร้อนในปริมาณที่มากเกินไป ก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วย ก๊าซโอนโซน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน เป็นต้น เปรียบเสมือนหลังคาโลก แต่เมื่อชั้นบรรยากาศของโลกมีก๊าซเรือนกระจกที่เป็นก๊าซเสียมากเกิน รวมตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก มีผลให้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมาโลกสะท้อนกลับไปได้ไม่หมด ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นความหมายของภาวะโลกร้อน (Global warming)


    ตัวอย่างกิจกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากการใช้ยานพาหนะ นำไปสู่การเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การฝังกลบขยะ การย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิตของแบคทีเรีย ทำให้เกิดก๊าซมีเทน การรั่วซึมของก๊าซฟลูออโรคาร์บอนจากอุตสาหกรรมการทำความเย็น การเผาทำลายขยะอิเล็กทรอนิกส์ ก่อให้เกิดสารตะกั่ว แคดเมี่ยม ปรอท ซึ่งสาเหตุต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ผลกระทบมากมาย เช่น การเกิดปรากฏการณ์แอลนีโญ่ การเกิดปรากฏการณ์ลานีญ่า ปริมาณน้ำฝนเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดโรคระบาด พืชผลทางการเกษตรเสียหาย

        

   
     

 

   ทั้งนี้ หากการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหน้าที่ของคน เพียงกลุ่มเดียวคงไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะทุกคนบนโลกเป็นผู้ก่อปัญหาขึ้นมาทั้งนั้น และสาเหตุที่แท้จริงนั้นอยู่ที่การบริโภคที่เกินความจำเป็นของมนุษย์ และวิธีการลดโลกร้อนนั้นก็มีวิธีง่ายๆ เช่น ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์น้ำ ป่าไม้ และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถ่ายทอดความรู้เรื่องภาวะโลกร้อนอย่างทั่วถึง รณรงค์ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างจิตสำนึกการรักษาสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นฐาน เพียงแค่นี้เราก็สามารถช่วยลดปัญหาลงได้เยอะเลยค่ะ
    สำหรับผู้ที่สนใจอยาก ค้นหาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่มิใช่มีแต่ในห้องเรียน สามารถมาพบกับกิจกรรมดีๆ แบบนี้ ได้ที่ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2558 ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ตั้งแต่วันที่ 14-25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09.00-20.00 น. (เข้าชมฟรีตลอดงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น)
    

 

 

ข่าวและภาพข่าวโดย : นางสาวนีรนุช ตามศักดิ์

เผยแพร่ข่าวโดย : นางสางชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ 

ประสานงานได้ที่ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

โทรศัพท์ 02-333-3700 ต่อ 3727-3732 โทรสาร02-333-3874   

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» ก.วิทย์ฯ เตรียมจัดงาน "มหกรรมวิทย์ฯ ประจำปี 2559" อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้ปีแห่งถั่วพัลส์ ปีสากลของยูเนสโก
» รมต.กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวถึงงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ
» เครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 12
» ประมวลภาพมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2558
» บูธ กฟผ.นักเรียน นักศึกษา ประชาชนหลั่งไหล ชมภาพยนตร์ 3D และ 4D เหมือนเข้าไปอยู่ในบรรยากาศจริง
» ก.วิทย์ฯ มอบรางวัลการประกวดการใช้ประโยชน์กล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติฯ 84 พรรษา
» ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มอบรางวัลการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2558
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป