กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวประชาสัมพันธ์ มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
พิมพ์ PDF

       กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ขยายผลแนวคิดการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จาก “โครงการพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีทีเชื่อมโยงเส้นทางอาชีพ” แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือในอนาคต ประยุกต์ใช้การเรียนรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ (STEM) ผ่านการฝึกทักษะในการประกอบอาชีพโดยเอกชนร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เตรียมแรงงานทักษะฝีมือที่นำศาสตร์ความรู้ด้าน STEM  มาประยุกต์และแก้ปัญหาพร้อมทั้งเสริมทักษะการทำงานให้เป็นมืออาชีพตั้งแต่วัยเรียน สวทน. เตรียมส่งเด็กม.ต้น โรงเรียนแม่อายวิทยาคม โชว์การฝึกปฏิบัติ STEM ผ่านการทอผ้าและปั่นฝ้าย ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2558 ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 14 – 25  พฤศจิกายน 2558

      ดร.พิเชฐ  ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “โครงการพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่เชื่อมเชื่อมโยงเส้นทางอาชีพ” มีเป้าหมายเพื่อดึงเอาภาคการผลิตและบริการในพื้นที่เข้ามาถ่ายทอดทักษะการทำงานและเชื่อมองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพเข้ากับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ (STEM) ให้แก่เยาวชนในกลุ่มโรงเรียนชายขอบที่มีโอกาสไม่เรียนต่อสูง เมื่อออกจากระบบการศึกษาสามารถเข้าสู่อาชีพได้ทันทีโดยเฉพาะอาชีพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของท้องถิ่น ต่อยอดให้บุคลากรเหล่านี้เป็นแรงงานที่มีฝีมือ มีทักษะและความชำนาญในการทำงานที่เข้มแข็งสามารถตอบสนองภาคการผลิตและบริการที่ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการผลิตและนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาตัวเองในเส้นทางอาชีพการทำงาน สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล โดย สวทน. ได้นำร่องจัดรูปแบบการเรียนและฝึกปฏิบัติให้แก่โรงเรียนระดับมัธยมต้นในภาคเหนือ ได้แก่ โรงเรียนแม่อายวิทยาคม โรงเรียนบ้านแม่งอนขี้เหล็ก และโรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากบริษัทเอกชน  คือ บริษัทเพียรกุศลไหมและฝ้าย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมกันจัดห้องเรียนวิชา “การผลิตเส้นใยธรรมชาติและแฟชั่น”  โดยเริ่มปูพื้นฐานตั้งแต่ชั้นม.1 ถึง ม.3 ในห้องเรียนดังกล่าวเด็กจะเรียนรู้และฝึกทักษะการทำงาน ผ่านกิจกรรมการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม การฝึกทอ ออกแบบลายผ้า จนถึงขั้นการขายและการสร้างเครือข่ายการทำงาน โดยเชื่อมโยงกิจกรรมกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ (STEM) ที่เกิดขึ้นจริง ทั้งการประยุกต์ความรู้ การแก้ปัญหางาน การสายการผลิตและการส่งต่องาน เช่น การจัดทำตารางสถิติการเจริญเติบโตของหม่อน และตัวไหม การทดสอบอุณหภูมิของน้ำในการต้มรังไหม  การตรวจวิเคราะห์ดิน การฝึกการแก้ไขเครื่องมือเมื่อเกิดปัญหาจากกี่ทอผ้า เป็นต้น อาจารย์ประจำกลุ่มสาระวิชาต่างๆ ที่ได้รับการฝึกหลักสูตรการสอนโดยเฉพาะ จะใช้การฝึกทักษะการผลิตเส้นใยธรรมชาติ สอดแทรกวิชาให้กับเด็กในห้องเรียน ทำให้เด็กเข้าใจพื้นฐานวิชาสามารถเชื่อมโยงความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ (STEM)เข้ากับการใช้งานจริง ควบคู่กับความสนุกในการฝึกทักษะอาชีพ สอดแทรกศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น การตลาด สินค้าที่เด็กผลิตได้ ยังสามารถขายเข้าสู่ตลาดท้องถิ่นได้อีกด้วย

 

             ดร.พิเชฐ กล่าวว่า โครงการนี้ ได้รับความรับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก บริษัทเพียรกุศลไหมและฝ้าย จำกัด ซึ่งนอกจากได้ร่วมออกแบบแนวทางการเรียนการสอนแล้ว ยังให้การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ผ่านอุปกรณ์การผลิตกี่ทอมือดัดแปลงสำหรับให้เด็กฝึกทักษะการทอผ้า การจัดเด็กเข้าเยี่ยมชมการผลิตในโรงงานและโชว์รูมเพื่อการสร้างแรงบันดาลใจและจินตนาการ การผสมผสานวิทยาศาสตร์ และศิลปะ ให้แก่เด็กในท้องถิ่น “โครงการนำร่องพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่เชื่อมเชื่อมโยงเส้นทางอาชีพ” ได้นำร่องสาขาแรกคือ การผลิตเส้นใยธรรมชาติและแฟชั่น จะเป็นต้นแบบของการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมอื่นๆ เป็นรูปธรรมของ STEM เมืองไทย อันมีแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงเป็นต้นแบบของการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อีกด้วย

             ขอเชิญชวนเยาวชนและประชาชน เข้าร่วมชมการสาธิตการทอผ้าไหมและปั้นฝ้ายโดยเด็กมัธยมต้น จากโรงเรียนแม่อายวิทยาคม ภายในบูธนิทรรศการ สวทน. และร่วมสนุกกับกิจรรมทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2558 “ ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 14 – 25 พฤศจิกายน 2558


ขอข้อมูลเพิ่มเติมแผนกประชาสัมพันธ์:   นางสาวรติมา เอื้อธรรมาภิมุข นางสาวมนต์ศิริ  ธรมธัช โทร: 0819225149

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) โทร: 662 160 5432-37   Website: www.sti.or.th


เผยแพร่ข่าว : นางสาวนีรนุช ตามศักดิ์

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834

อีเมลล์ :    อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» ก.วิทย์ฯ เตรียมจัดงาน "มหกรรมวิทย์ฯ ประจำปี 2559" อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้ปีแห่งถั่วพัลส์ ปีสากลของยูเนสโก
» รมต.กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวถึงงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ
» เครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 12
» ประมวลภาพมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2558
» บูธ กฟผ.นักเรียน นักศึกษา ประชาชนหลั่งไหล ชมภาพยนตร์ 3D และ 4D เหมือนเข้าไปอยู่ในบรรยากาศจริง
» ก.วิทย์ฯ มอบรางวัลการประกวดการใช้ประโยชน์กล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติฯ 84 พรรษา
» ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มอบรางวัลการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2558
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป