
15 พฤศจิกายน 2558 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2558 และในโอกาสนี้ได้มอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2558 โดย เครื่องหย่อนกล้าข้าวนาโยนแบบประณีต ได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลที่ 1 นอกจากนี้ ยังมีการมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด "รางวัลเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม ประจำปี 2558" โดยมี เครื่องชั่งน้ำหนักสำหรับไก่พันธุ์และไก่เนื้อ Weight Scale ได้รับรางวัลชนะเลิศ ณ เวทีกลาง มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ มูลนิธิบัวหลวง จัดกิจกรรมการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยีและนักประดิษฐ์ ได้พัฒนาคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำสู่เชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้สนับสนุนด้านวิชาการและมูลนิธิบัวหลวงสนับสนุนด้านเงินรางวัลพร้อมโล่เชิดชูเกียรติให้กับผู้ชนะการประกวดสิ่งประดิษฐ์
การจัดกิจกรรมการประกวดสิ่งประดิษฐ์ฯ ในปีนี้ ได้กำหนดหัวข้อการประกวด เริ่อง เครื่องจักกล พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเกษตร และเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2558 คณะกรรมการได้ทำการตัดสินรางวัลสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียบร้อยแล้วและผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รางวัลประจำปี 2558 มีดังนี้
รางวัลที่ 1 เครื่องหย่อนกล้าข้าวนาโยนแบบประณีต
เจ้าของผลงานนายธนัตถ์ ศรีสุขสันต์ 34/35 ซ.ลาดพร้าว 23 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กทม. โทร. 083 033 6609
ประโยชน์
เพื่อส่งเสริมวิธีการปลูกแบบเพาะกล้านาโยนที่ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดระยะเวลาเพาะปลูก(เพิ่มวงรอบการผลิต) ลดการใช้ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช ช่วยลดต้นทุนโดยรวมช่วยเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิต -เพื่อส่งเสริมการใช้เครื่องจักรการเกษตรที่พัฒนาขึ้นมาให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกข้าวในประเทศไทย ซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานและต้นทุนค่าแรงสูง
จุดเด่น
• เป็นวิธ๊การปลูกข้าวที่ได้คุณภาพดีที่สุด เนืองจากไม่มีการขาดของราก ทำให้ต้นกล้าสามารถตั้งตรงขึ้นได้ภายใน 1-2 วัน และเจริญเติบโตได้เร็วกว่าการใช้เครื่องปักดำนาแบบเดิมถึง 10 วัน
• รากต้นกล้าอยู่ใกล้ระดับผิวดิน จึงสามารถดูดซึมปุ๋ยและดึงออกซิเจนจากอากาศได้ดี
• ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

รางวัลที่ 2 เครื่องตีเปลือกแยกใยแยกขุยมะพร้าว
เจ้าของผลงาน นายสุทธิชัย อ่อนก้อน 134 ถ.สกลกาฬสินธิ์ ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร โทร. 087 223 7979
ประโยชน์
• ทดแทนแรงงานคนในการปอกเปลือกมะพร้าว
• ค่าแรงงานคนในแต่ละวันที่มีราคาสูง
• เปลือกมะพร้าวที่ปลอกแล้วเป็นปัญหาขยะ
• เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
• ลดการใช้สารเคมีที่มีราคาแพง
• ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
จุดเด่น
เครื่องตีใย แยกขุยมะพร้าว ใช้มอร์เตอร์ ขนาด 3 แรงม้า เมื่อทำการตีเปลือกแยกใยแยกขุยมะพร้าว กินกระแสไฟ 5.5 บาท/ชั่วโมง หนึ่งชั่วโมงสามารถแยกเปลือกแยกใยได้ 550 กิโลกรม/ชั่วโมง เวลา 8 ชั่วโมง สามารถทำงานได้ 4,000 กิโลกรัม/วัน และยังสามารถย่อยใบไม้/กิ่งไม้ ก้อนเชื้อเห็ดฟาง จอกแหน ผักตบชวา เพื่อทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ได้
รางวัลที่ 3 CRM MPI(Crumble Roller Blade Multipurpose Implement)
เจ้าของผลงาน บมจ.เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ซูการ์ คอร์ปอเรชั่น 1/1 หมู่ 14 ถ.หางน้ำสาคร-หนองโพ ต.หนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์โทร. 056 338 444
ประโยชน์
• เป็นเครื่องมือทำการระเบิดดาน
• เป็นการปรับโครงสร้างดินให้เกิดการร่วนซุยของดิน
• เป็นประโยชน์ด้านการเกษตร และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
จุดเด่น
• มีขาริปเปอร์ พร้อมใบมีดติดที่บริเวณขาริปเปอร์ กว้าง 70 ซม. ลงทำงานลึกที่ 27-30 ซม. ทำให้ดิน มีรอยแตกร้าวลึกที่ 20 ซม. ซึ่จะห่างจากอ้อย 10-15 ซม.
• มีการใส่ปุ๋ยพร้อมการทำงาน และปีกยังสามารถกระจายปุ๋ยไปทั่วบริเวณแตกร้าว ทำให้รากหาธาตุอาหารได้ง่าย
• ลูกกลิ้งด้านหลังซึ่งมีลักษณะกลม มีเหล็กที่มนๆ ยึดติดรอบๆลูกกลิ้ง สามารถบดอัดดิน ให้แตกเพื่อปิดรอยขาริปเปอร์ไว้ ไม่ให้เกิดการสูญเสียความชื้นในดิน
รางวัลเชิดชูเกียรติ มี 4 รางวัล
เครื่องดรัมชิพเปอร์ Drumchipper
เจ้าของผลงาน นายเจษฎา ผลสวัสดิ์ 85/36 หมู่ 2 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โทร. 081 914 6194
ประโยชน์
• ช่วยกำจัดของเหลือใช้ทางการเกษตร
• ส่งเสริมพลังงานทดแทน
จุดเด่น
• เครื่องจักรสามารถสับไม้และผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือใช้ได้หลากหลายชนิด เช่นปีกไม้จากโรงงานแปรรูป ไม้เบญจพรรณ
• ทะลายปาลม์ หญ้าเนเบียร์ ก้านมะพร้าว ฟางข้าว ฯลฯ
• มีระบบป้อนและล็อควัตถุดิบ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
• เครื่องสับสามารถปรับตั้งขนาดของชิ้นไม้ที่สับตามความต้องการได้
เครื่องปอกกระเทียม
เจ้าของผลงาน นายพีรเดช มีสานุ 59/1 ถ.หมอกวน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ โทร. 081 090 4620
ประโยชน์
• เพื่อแก้ไขปัญหาการปอกกระเทียมด้วยมือ
• ลดเวลาในการทำงานประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น
• เกษตรกรขายกระเทียมและหัวหอมได้ราคาที่สูงขึ้น
จุดเด่น
• โครงสร้างตัวเครื่องทำจากโลหะสเเตนเลส น้ำหนักเบากะทัดรัดสะดวกต่อการใช้งาน
• เครื่องปอกกระเทียมสามารถปอกได้ทั้งกระเทียมกลีบใหญ่ กลีบเล็ก และยังสามารถปอกหอมแดงได้อีกด้วย
• ระยะเวลาในการปอกกระเทียม 10-15 วินาทีต่อครั้งปริมาณที่ใช้ปอก 300-400 กรัม
• การบำรุงรักษาค่อนข้างต่ำทำความสะอาดง่าย
เครื่องมือควั่นกิ่งไม้เพื่อตอนกิ่ง
เจ้าของผลงาน นายนิธิศ ทิพนี 100 หมู่ 4 ซ.วัดพระยาตาก ถ.ข้าวโพด ต.บ้านกล้วย อ.เมือง จ.ชัยนาท โทร. 082 170 3683
ประโยชน์
• เพิ่มประสิทธิภาพในการตอนกิ่ง
• ประหยัดเวลาในการตอนกิ่ง
จุดเด่น
• ใช้งานง่าย หมุน 1 รอบ พร้อมหุ้มตุ้มตอนได้
• โครงสร้างง่าย ปลอดภัย
• ลดเวลาในการควั่นกิ่งไม้ โดยปกติจะควั่น 2 ครั้ง
เครื่องคัดแยกเมล็ดข้าวสารขนาดเล็ก
เจ้าของผลงาน นายสนธยา สุนทรารักษ์ 201 หมู่ 1 ถ.สุรินทร์-สังขะ ต.สลักได อ.เมือง จ.สุรินทร์ โทร. 087 869 6443
ประโยชน์
• ใช้แยกขนาดเมล็ดข้าวสารระหว่างเมล็ดเต็มและเมล็ดหักออกจากกันได้ 3 ขนาดคือชั้นที่ 1, 2 และ 3
• เพิ่มมูลค่าให้กับข้าวสาร ที่สีมาจากโรงสีขนาดเล็กหรือโรงสีชุมชนทั่วไปที่ไม่สามารถคัดแยกขนาดได้
• ประหยัดเวลากว่าการคัดแยกแบบ
• ภูมิปัญญาดั้งเดิมของเกษตรกร
• ช่วยประหยัดพลังงาน ไม่ใช้ไฟฟ้า
จุดเด่น
• ไม่ใช้พลังงานไฟฟ้า แต่ใช้แรงคน เป็นการออกกำลังกายไปด้วย
• ตัวเครื่องมีน้ำหนักเบา 18 กก. เคลื่อนย้ายได้ง่าย
• การหมุนปั่นตัวเครื่องเพื่อคัดแยก สามารถหมุนได้ทั้งซ้ายและขวา ตามความถนัดของผู้ใช้
• สามารถคัดแยกได้ประมาณ 90-100 กก./ชม.
เผยแพร่ข่าว : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ
ถ่ายภาพ : นางสุนิสา ภาคเพียร นาวงษ์
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313