กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก แนะนำกระทรวง หน่วยงานในสังกัด รัฐวิสาหกิจ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

พิมพ์ PDF

ประวัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
เริ่มดำเนินงาน

         สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เดิมมีชื่อว่าสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย (สวป.) ซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2506 และได้เปลี่ยนมาใช้พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 สืบเนื่องจากการจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2522 จนถึงปัจจุบัน 

 


สถานที่ตั้งสำนักงาน

วว. สำนักงานใหญ่ (เทคโนธานี)

     35 หมู่ 3 เทคโนธานี ถ.เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 ประเทศไทย 
     โทรศัพท์ 0 2577 9000  โทรสาร 0 2577 9009  
     Call Center โทร. 0 2577 9300

     เว็บไซต์  http://www.tistr.or.th  อีเมล์  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

วว. บางเขน
     196 พหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ประเทศไทย

      โทรศัพท์ 0 2579-1121-30  โทรสาร 0 2561 4771

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา นิคมอุตสาหกรรมบางปู

    ถนนสุขุมวิท   อ.เมือง  จ.สมุทรปราการ  10280

     โทร. 0 2323 1672-80   โทรสาร  0 2323 9165

สถานีวิจัยลำตะคอง

    333  หมู่  12 ถ.มิตรภาพ  บ้านแก่งหีบ  ต.หนองสาหร่าย  อ.ปากช่อง  จ.นครราชสีมา  30130

    โทรศัพท์/โทรสาร  044 390 107 , 044 390 150

สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช

    1  หมู่  6  ต.อุดมทรัพย์   อ.วังน้ำเขียว  จ.นครราชสีมา  30370

    โทร. 044 009 556 , 086 125 3793


แผนที่หน่วยงาน


ดู
แผนที่วิทยาศาสตร์ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า


วิสัยทัศน์

วว. เป็นองค์กรชั้นนำระดับอาเซียนในด้านวิจัย พัฒนา และบริการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
 

พันธกิจ

1. พัฒนาขีดความสามารถด้านงานวิจัยและพัฒนา 

2. พัฒนาขีดความสามารถด้านการบริการงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. พัฒนาขีดความสามารถด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการผลักดันการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม

4. พัฒนาขีดความสามารถด้านการสร้างสรรค์งานนวัตกรรม

5. พัฒนาขีดความสามารถด้านโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการขององค์กร


โครงการที่สำคัญของหน่วยงาน

  • การวิจัยและพัฒนาด้าน ว. และ ท.
          ดำเนินการวิจัยและพัฒนา ว. และ ท. และให้บริการที่ปรึกษาในสาขาศักยภาพของประเทศ  เพื่อผลักดันผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์  ในสาขาเทคโนโลยีการเกษตร  อาหารเพื่อสุขภาพ  ยาสมุนไพรและเวชสำอาง  พลังงานและสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเพื่ออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และวัสดุจากธรรมชาติ
  • ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม : โพรไบโอติกและพรีไบโอติก
          พัฒนาศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ฯ สำหรับให้บริการให้กับผู้ประกอบการ SMEs ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการเฉพาะทางพร้อมทั้งโรงงานนำทางสำหรับการวิจัยพัฒนาหัวเชื้อจุลินทรีย์โดยเฉพาะโพรไบโอติกและพรีไบโอติก ที่มีระดับความปลอดภัยทางชีวภาพในระดับ 2 และระดับ 3  ซึ่งจะเป็นศูนย์เฉพาะทางสำหรับโพรไบโอติกและพรีไบโอติกแห่งแรกในอาเซียน  ดำเนินการวิจัยพัฒนาในเรื่องโพรไบโอติก/พรีไบโอติก โดยเฉพาะโพรไบโอติกแบบครบวงจร ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพ, การพัฒนาสายพันธุ์, การพัฒนากระบวนการผลิต, การยกระดับและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี/ฝึกอบรมแก่ผู้ประกอบการทุกระดับ ตั้งแต่ภาคอุตสาหกรรม, SME และชุมชน  
  • ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย
          พัฒนาทรัพยากรพื้นฐานด้านสาหร่าย ทั้งสาหร่ายน้ำจืด รวมทั้งขยายสู่การเก็บรักษาสายพันธุ์น้ำเค็ม  ยกระดับการดำเนินงานด้านคลังสาหร่าย วว. (TISTR ACC) ให้เป็นศูนย์ทรัพยากรสาหร่ายเพื่อการวิจัย (TISTR Algal Research Resources Center, TISTR ARRC) โดยมีการดำเนินงานตามมาตรฐานของ OECD  พร้อมทั้งดำเนินการวิจัย พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตผลิตภัณฑ์ กระบวนการ/เทคโนโลยี นวัตกรรม และการบริการที่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายแก่ภาคเอกชน
  • การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ OTOP ด้วย วทน. 5 ภูมิภาค
          พัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ OTOP ให้เข้าถึง  วทน. ในการพัฒนาผลิตภาพการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น ผสมผสานกับภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน   การใช้ประโยชน์นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยภาครัฐในการทำงานสนับสนุนการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการ  การใช้โครงสร้างพื้นฐานทาง วทน. อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งทางด้าน
           - การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอได้มาตรฐาน
           - การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด 
           - การพัฒนาระบบคุณภาพมาตรฐาน
           - พัฒนาและออกแบบเครื่องจักร
           - พัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ
           - พัฒนากระบวนการผลิต 
          ผ่านกลไกและเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน  ประชาชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภาพการผลิต การยกระดับและการพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการ OTOP โดยใช้ Science Technology and Innovation Matching Program(STIM) โดยผู้ประกอบการจะได้รับการถ่ายทอดความรู้การพัฒนาผลิตภาพ(Productivity)ด้วย วทน. จำนวนไม่น้อยกว่า 1,000 ราย/ปี  
  • โครงการ STIM เพื่อเอสเอ็มอี (STIM   for  SMEs)
          อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ โครงการ STIM เพื่อเอสเอ็มอี (STIM   for  SMEs) 
  • งานสถานีวิจัยลำตะคอง

          สถานีวิจัยลำตะคอง  เป็นสถานีวิจัยทางด้านการเกษตร  มีการดำเนินการดังนี้

            1) การวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรให้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจ เช่น เทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืช การปลูกผักหวานป่า มะขามเปรี้ยว ชมจันทร์ ไผ่หวาน และการปลูกพืชผักพื้นบ้านต่างๆ การผลิตพืชผักปลอดสารพิษและพืชผักอินทรีย์ การเพาะเห็ดเมืองร้อน และการผลิตบล็อกประสาน วว. เป็นต้น

            2) เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรแบบยั่งยืนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

            3) เป็นศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านเพื่อการอนุรักษ์และใช้เป็นแหล่งพันธุกรรม 

            4) ให้บริการสถานที่จัดสัมมนาและที่พักสำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร

  • งานสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช

          สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช  เป็นสถานีวิจัยทางด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม  ที่เป็นต้นแบบของป่าเขตร้อน (ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง)  ที่มีความอุดมสมบูรณ์  ความเป็นธรรมชาติ  มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  มีผลงานวิจัยมากกว่า 250 เรื่อง  จนเป็นที่ยอมรับจากองค์การ UNESCO ให้เป็นแหล่งชีวมณฑล (Biosphere Research)  ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกจาก 441 แห่งใน 94 ประเทศทั่วโลก   เป็นสถานีวิจัยด่านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยาป่าเขตร้อน  ห้องปฏิบัติการธรรมชาติสำหรับนักวิจัย  นักเรียน นักศึกษาในการค้นคว้าวิจัย  เรียนรู้ธรรมชาติป่า  และยังใช้เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ด้าน ว. และ ท. เพื่อเยาวชนและสู่ชนบท  มีจำนวนนักวิจัย/นักศึกษา/ประชาชนที่ใช้บริการจากสถานีวิจัย ไม่ต่ำกว่า 4,000 ราย/ปี

  • การบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          เป็นหน่วยงานให้บริการด้าน ว. และ ท. อย่างครบวงจร  ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17020, ISO/IEC 17021  และ ISO/IEC 17025  โดยมีการบริการดังนี้

          1)  การวิเคราะห์ ทดสอบ วัสดุผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐาน กฎระเบียบของประเทศและระดับสากล

          2)  การสอบเทียบเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมทุกสาขาของมาตรวิทยา

          3)  การตรวจสอบสภาพการใช้งาน และการวิเคราะห์ความเสียหายของวัสดุอุปกรณ์

          4)  การตรวจประเมินและรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐานสากล เช่น ISO 9000, ISO 14000, TIS/OHSAS 18001, ISO 220000, GMP, HACCP รวมถึงมาตรฐานท่องเที่ยวไทย

          5)  การบริการฝึกอบรม/ที่ปรึกษา ด้านระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025  และวิชาการที่เกี่ยวข้อง
          โดย วว. ให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ ไม่ต่ำกว่า 120,000 รายการ/ปี   และให้บริการตรวจประเมินและรับรองระบบคุณภาพ ไม่ต่ำกว่า 250 ราย/ปี

  • การบริการวิเคราะห์และทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยระบบขนส่งทางราง
          พัฒนาห้องปฏิบัติการที่สามารถให้บริการด้านการทดสอบชิ้นส่วนในระบบรางอย่างครบวงจร ได้แก่การบริการทดสอบ หมอนคอนกรีตขนาดทาง 1 เมตร และ 1.435 เมตร เครื่องยึดเหนี่ยวราง รอยเชื่อมราง track plinth ให้แก่ทั้งโครงการรถไฟฟ้า (รฟม) และโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท) เพื่อตรวจสอบและรับรองคุณภาพความสอดคล้องกับข้อกำหนดทางเทคนิค (TOR) มาตรฐานทดสอบในประเทศและมาตรฐานสากล  โดยการดำเนินงานของ วว นั้นได้มุ่งเน้นไปที่งานทดสอบวัสดุและผลิตภัณฑ์ระบบรางเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการชาวไทยทั้งขนาดกลางเล็กและขนาดใหญ่ให้สามารถผลิตชิ้นส่วนระบบรางได้อย่างมีมาตรฐาน และแข่งขันได้ 
  • การทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพ
          พัฒนาศูนย์ทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพที่มีระบบการบริหารงานที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO/ IEC 17025 จากหน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation body) ที่เป็นที่ยอมรับ และสามารถให้บริการด้านการวิจัยการบำบัดสารอันตรายตกค้างในสิ่งแวดล้อม รวมถึงการวิเคราะห์/ ทดสอบการสลายตัวได้ทางชีวภาพของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อได้มาซึ่งข้อมูลที่ยืนยันถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการตามมาตรฐานสากล ISO 17088 ได้แก่
          1) การสลายตัวทางชีวภาพในเบื้องต้น (Preliminary Biodegradation Test) ของวัสดุทั่วไป อาทิ พลาสติกชีวภาพ วัสดุทางการเกษตร ที่สภาวะการหมักปุ๋ยในระดับห้องปฏิบัติการ

          2) การแตกสลายของพลาสติกชีวภาพตามมาตรฐานสากล ISO 17088
          3) การสลายตัวทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม อาทิ  สารกำจัดศัตรูพืช ผลิตภัณฑ์เพื่อการอุปโภคในครัวเรือนและอาคาร ตามาตรฐาน OECD 301

          4) การบำบัดสารอันตรายตกค้างในสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการทางชีวภาพ อาทิ สารกำจัดศัตรูพืช

  • ภาคีบัณฑิตในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท-เอก ระหว่าง วว. กับสถาบันการศึกษา

          ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท-เอก ในสาขาวิทยาศาสตร์และเกี่ยวข้อง ให้ตรงกับความต้องการของภาคการผลิต  ไม่ต่ำกว่า 15 คน/ปี

 

บริการที่น่าสนใจ
ผลงานวิจัยและบริการด้านอื่นๆ 

 

ข้อมูลโดย

กองประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขที่ 35 หมู่ 3 ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

โทร. 0 2577 9359-60 โทรสาร 0 2577 9362

 


 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» กลิ่นหอมจากพืช...มาเป็นน้ำหอมได้อย่างไร
» วว. โชว์ผลิตภัณฑ์บำรุงสมองเสริมความจำ MDmate ในงานแถลงข่าวมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2016
» ก.วิทย์ จับมือ ก.คลัง เปิดช่องทางใหม่ให้เอกชนรับรองโครงการวิจัยด้วยตนเอง เพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษี 300% ได้สะดวก รวดเร็ว และหนุนการทำวิจัยเพิ่มมากขึ้น
» วว.ร่วมแสดงความยินดี บ.รักษ์บ้านเรา ผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีปุ๋ยอินทรีย์ ได้รับคัดเลือกไปดูงานเศรษฐกิจสีเขียวในต่างประเทศ
» ก.วิทย์ฯ ยกระดับโอทอปด้วย วทน. (STI for OTOP Upgrade) จังหวัดขอนแก่น
» โครงการยกระดับโอทอป (OTOP) ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม 9 เมษายน 2559
» “53 ปี” แห่งการสถาปนา วว. เราคือส่วนหนึ่งของความสำเร็จของท่าน
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป