|
![]() ประวัติสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) |
สถานที่ตั้งสำนักงาน |
วิสัยทัศน์ "องค์กรนำในการส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ" |
พันธกิจ 1. ยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยเฉพาะในสาขาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยการวิเคราะห์และประเมินสถานภาพของอุตสาหกรรมและศักยภาพของนวัตกรรม ตลอดจนการแสวงหาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและพัฒนานวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ 2. เชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอย่างบูรณาการ โดยให้การสนับสนุนทั้งทางด้านวิชาการและการเงิน และเป็นหุ้นส่วนพันธมิตรในการดำเนินงานทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติ อันจะนำไปสู่การสร้างให้เกิด “ระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งชาติ” ขึ้นโดยเร็ว 3. สนับสนุนด้านวิชาการและการเงิน เพื่อช่วยการพัฒนาโครงการในระยะหลังการวิจัยและพัฒนา หรือการต่อยอดจากงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์สู่เชิงพาณิชย์ ได้แก่ การสนับสนุนการจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โครงการ หรือโรงงานนำร่อง การทดสอบในกระบวนการผลิตจริง เพื่อการวิเคราะห์และประเมินทางการตลาด และการจัดทำแผนธุรกิจ เป็นต้น 4. สนับสนุนการยกระดับทักษะความสามารถด้านเทคนิคและการบริหารจัดการ ได้แก่ การจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญ การจัดการประชุมและสัมมนา และการพัฒนาความใฝ่รู้ 5. ส่งเสริมเพื่อสร้างความตื่นตัวด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมนวัตกรรมทั้งในระดับอุตสาหกรรม ระดับองค์กร และระดับประชาชนทั่วไป
กลยุทธ์การดำเนินงาน สนช. ได้มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของตนเองไปสู่องค์กรเพื่อการสนับสนุนธุรกิจอย่างจริงจัง ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของ สนช.ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาให้เกิดการสร้างระบบการสนับสนุนภาคเอกชนที่เหมาะสม การสร้างความตื่นตัวของการพัฒนานวัตกรรมสำหรับประเทศไทย รวมถึงมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งชาติที่ยั่งยืน ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมของประเทศให้เกิดผลเป็นรูปธรรม กลยุทธ์การดำเนินงานของ สนช. จึงประกอบด้วย 3 แผนหลัก 6 แผนงาน ได้แก่ 1. แผนยกระดับนวัตกรรม ประกอบด้วย 2 แผนงาน ได้แก่ แผนงานที่ 1 การพัฒนาโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Innovation Programme) ซึ่งจะเป็นอุตสาหกรรมคลื่นลูกใหม่ (new wave industry) เพื่ออนาคต ประกอบด้วย อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics Industry) และธุรกิจเกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture Business) แผนงานที่ 2 การพัฒนาโครงการนวัตกรรมรายอุตสาหกรรม (Sectoral-Industry Innovation Programme) โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจชีวภาพ (Bio-Business) กลุ่มอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-Industry) และกลุ่มการออกแบบและการแก้ไขปัญหา (Design & Solutions) 2. แผนส่งเสริมวัฒนธรรมนวัตกรรม ประกอบด้วย 2 แผนงาน คือ แผนงานที่ 3 การพัฒนาความใฝ่รู้ ได้แก่ การฝึกอบรมสัมมนาและหลักสูตรการจัดการนวัตกรรมในมหาวิทยาลัยต่างๆ และแผนงานที่ 4 การส่งเสริมความสำเร็จด้านนวัตกรรม เช่น รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ และรางวัลนวัตกรรมข้าวไทย เป็นต้น ซึ่งแผนส่งเสริมวัฒนธรรมนวัตกรรมนี้จะเป็นการสร้างทุนทางสังคม (social capital) โดยตรง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง เพราะการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมให้แพร่หลาย จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวทั้งในภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ เพื่อปรับตัวไปสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกบนพื้นฐานของนวัตกรรม 3. แผนสร้างองค์กรและระบบนวัตกรรม ประกอบด้วย 2 แผนงาน คือ แผนงานที่ 5 การพัฒนาองค์กรนวัตกรรม และแผนงานที่ 6 นโยบายและระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งชาติ ระบบบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งการก่อสร้าง “อุทยานนวัตกรรม (Innovation Park)” ซึ่งแผนงานพัฒนาองค์กรนวัตกรรมจะประกอบด้วยระบบการบริหารสำนักงาน ซึ่งจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งภายใน สนช. เองในการเป็นองค์กรนำเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมของประเทศในเชิงระบบ |
|
บริการที่น่าสนใจ |