กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish

กรมวิทยาศาสตร์บริการ

พิมพ์ PDF

ความเป็นมา

      จากประวัติศาสตร์อันยาวนานของกรมวิทยาศาสตร์บริการนับเนื่องจากปี พ.ศ.2434 หน่วยงานวิเคราะห์แร่  ซึ่งเป็นหน่วยงานเล็กๆ ในกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา กระทรวงเกษตราธิการ ได้ยกฐานะขึ้นเป็น กองแยกธาตุ ใน ปีพ.ศ. 2455 สังกัด กรมกษาปณ์สิทธิการ  กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ  โดยได้รวบรวมงานวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดมารวมไว้ในกอง
      ต่อมาในปี พ.ศ. 2461 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้รวมงานวิทยาศาสตร์ที่ดำเนินการอยู่ในที่ต่าง ๆ มาไว้ในที่แห่งเดียวกัน โดยจัดตั้งศาลาแยกธาตุ อยู่ในสังกัดของกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ เมื่องานวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยขยายขอบเขตและเจริญมากขึ้น ศาลาแยกธาตุ  ได้ปรับปรุงกิจการและได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกรมวิทยาศาสตร์ ในสังกัดของกระทรวงเศรษฐการ เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2476 และในปี 2485 สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
     ในช่วงเวลาดังกล่าวภาระหน้าที่ของกรมวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าและมีปริมาณงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดหน่วยงานสำคัญที่แยกออกจากกรมวิทยาศาสตร์หลายหน่วยงาน เช่น องค์การเภสัชกรรม(2482) องค์การสารส้ม(2496) สถาบันวิจัยแห่งชาติ  หรือสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในปัจจุบัน(2499) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ(2505) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(2506) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(2522) สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ(2541)
       ต่อมาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่4  (พ.ศ.2520-2524)  รัฐบาลได้จัดตั้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน ขึ้นในปี พ.ศ.2522  (ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ทำให้กรมวิทยาศาสตร์เดิมเปลี่ยนชื่อเป็น กรมวิทยาศาสตร์บริการ แยกออกจากกระทรวงอุตสาหกรรมมาสังกัดอยู่ในกระทรวงที่ตั้งขึ้นใหม่นี้


สถานที่ตั้งสำนักงาน
ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กทม. 10400
โทรศัพท์ 0-2201-7000-4
โทรสาร 0-2201-7265  
เว็บไซต์ http://www.dss.go.th
อีเมล์ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

แผนที่หน่วยงาน


ดู แผนที่วิทยาศาสตร์ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า


วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรเชี่ยวชาญและแหล่งอ้างอิงทางวิชาการระดับชาติด้านการวิเคราะห์ทดสอบ ที่ได้รับความเชื่อถือในระดับสากล เสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันแก่ภาคการผลิต การค้า การบริการ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน

พันธกิจ

ให้บริการด้านการวิเคราะห์ทดสอบ ในระดับเชี่ยวชาญ ของประเทศ วิจัยและพัฒนา เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการทดสอบที่สามารถแข่งขันได้ ในระดับสากล และเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยการบริหารจัดการเชิงรุกแบบบูรณาการภายใต้ระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี 

ยุทธศาสตร์กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ยุทธศาสตร์ที่ 1 :  เป็นแหล่งอ้างอิงของประเทศด้านการวิเคราะห์ทดสอบ  (Analytical Science)   เพื่อการรับรองคุณภาพสินค้า
                        ส่งออก และการคุ้มครองผู้บริโภค

ยุทธศาสตร์ที่ 2 :  ภาคการผลิต การค้า และ การบริการ ได้รับบริการทาง ว และ ท ที่มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล  

ยุทธศาสตร์ที่ 3 :  ผลงานและบริการทาง ว และ ท ใช้ประโยชน์ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการเพิ่มโอกาสการแข่งขันได้

ยุทธศาสตร์ที่ 4 :  เป็นศูนย์กลางการพัฒนากำลังคนทาง ว และ ท ของประเทศ ให้มีขีดความสามารถระดับสากล

ยุทธศาสตร์ที่ 5 :  องค์กรและบุคลากรเป็นที่เชื่อถือยอมรับในระดับสากล  มีการบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์และมีธรรมาภิบาล  

แบ่งส่วนราชการเป็น 1 สำนักงาน 4 สำนัก 3  โครงการ

สำนักงานเลขานุการกรม     
อำนาจหน้าที่
•    ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไปและปฏิบัติงานสารบรรณของกรม
•    ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของกรม
•    ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี  การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของกรม
•    จัดระบบงานและบริหารงานบุคคลของกรม
•    ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมความรู้ ความก้าวหน้า และผลงานของกรม
•    ประสานงานและประมวลผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในสังกัด ตลอดจนจัดทำแผนปฏิบัติงานของกรม ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนแม่บทของกระทรวง
•    ดำเนินการอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดของกรม
•    ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

สำนักเทคโนโลยีชุมชน
อำนาจหน้าที่
•    ส่งเสริม  สนับสนุนและดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความต้องการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชุมชน  รวมทั้งพัฒนาชนบท  คุณภาพชีวิตและสังคม
•    ศึกษา  วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านวัสดุศาสตร์  เซรามิก  สมุนไพร  อาหาร  และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร  เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
•    วิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ด้านวัสดุศาสตร์  เซรามิก  และสมุนไพร  เพื่อควบคุณภาพให้เป็นไปตามข้อกำหนดหรือกฎหมาย
•    ประสาน  ส่งเสริม  และดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ภาครัฐ  ภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป
•    ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ
อำนาจหน้าที่
•    ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ และผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ รวมทั้งดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกันในเรื่องการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ
•    บริการกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบเพื่อการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการ และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก
•    เป็นศูนย์กลางข้อมูลห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการของประเทศ
•    ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ รวมทั้งประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมงานด้านห้องปฏิบัติการ
•    ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ
อำนาจหน้าที่
    บริหารจัดการศึกษาและฝึกอบรมทางวิชาการและเทคนิคปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   เพื่อเพิ่มความสามารถของกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อำนาจหน้าที่
    เป็นหอสมุดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
  เป็นศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  จัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลเฉพาะทางเพื่อการศึกษา  วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ
  เป็นศูนย์ประสานงานสารสนเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระบบสารสนเทศทางวิชาการแห่งชาติ  จัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศและเครือข่าย  เพื่อร่วมกันใช้ทรัพยากรสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  ดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อการบริหารงานของสำนักหอสมุด ฯ
  ดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อการจัดการทรัพยากรสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

โครงการเคมี
อำนาจหน้าที่
    วิเคราะห์  ทดสอบ  ทางด้านเคมีและเคมีเชิงฟิสิกส์ของวัสดุและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโดยใช้เครื่องมือหรือเทคนิคพิเศษ  เพื่อการศึกษาองค์ประกอบและควบคุมคุณภาพ  ให้เป็นไปตามข้อกำหนดหรือกฎหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
      ศึกษา  วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้  ด้านการทดสอบทางเคมีและเคมีเชิงฟิสิกส์  และพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์  ทดสอบ  เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรม  รวมทั้งติดตามและศึกษาความเคลื่อนไหวของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม  เพื่อประเมินและวางแผนปฏิบัติการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
      ดำเนินการจัดทำระบบประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานสากล  เพื่อเป็นศูนย์เชี่ยวชาญและห้องปฏิบัติการอ้างอิง
      ให้คำปรึกษาแนะนำและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการด้านเทคนิคการวิเคราะห์ทดสอบ  รวมทั้งการพัฒนาระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล  แก่ห้องปฏิบัติการภาครัฐ  และภาคเอกชน
      ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
     
โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม
อำนาจหน้าที่
      วิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ด้านฟิสิกส์  เคมีเชิงฟิสิกส์  เชิงกลและวิศวกรรม  เพื่อหาองค์ประกอบ  และเพื่อประโยชน์สำหรับการควบคุมคุณภาพ  ให้เป็นไปตามข้อกำหนดหรือกฎหมาย
      วิเคราะห์ทดสอบมลพิษในสิ่งแวดล้อม
      สอบเทียบปรับตั้งเครื่องมือ   และอุปกรณ์วัด  วิเคราะห์ทดสอบ
      ศึกษา  วิจัย  เพื่อพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ทดสอบ
      ศึกษา  วิจัย  และพัฒนาผลิตภัณฑ์และวัสดุต่าง  ๆ
      ศึกษา  วิจัย  ผลกระทบด้านมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
      ออกแบบ  ประดิษฐ์และบำรุงรักษาเครื่องมือวิทยาศาสตร์และบริการทางช่างให้แก่หน่วยงานต่าง  ๆ  ในกรม
      ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

โครงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
อำนาจหน้าที่
•    ศึกษา  วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการด้านอาหาร  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ทดสอบ  และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ
•    วิเคราะห์ทดสอบอาหาร  ผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร  เพื่อหาสารอาหาร  สารเจือปน  และสารปนเปื้อน  ให้ถูกสุขลักษณะและมีความปลอดภัยในการบริโภค  ควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานอาหาร  ข้อกำหนด  หรือกฎหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ  รวมทั้งติดตามและศึกษาความเคลื่อนไหวของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร  เพื่อประเมินและวางแผนปฏิบัติการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
•    ดำเนินการจัดทำระบบประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานสากล  ISO/IEC  17025  เพื่อเป็นศูนย์เชี่ยวชาญและห้องปฏิบัติการอ้างอิง
•    ให้คำปรึกษา  แนะนำ  และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับเทคนิคการวิเคราะห์ทดสอบอาหาร  ผลิตภัณฑ์อาหาร  และวัสดุสัมผัสอาหาร  รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล  ให้แก่ห้องปฏิบัติการภาครัฐและเอกชน
•    สร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการทดสอบด้านอาหารและวัสดุสัมผัสอาหารทั้งในและต่างประเทศ
•    จัดทำบทความทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และเผยแพร่ผลงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
•    เป็นกรรมการวิชาการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  ให้ข้อคิดเห็นในการจัดทำพระราชบัญญัติอาหารและกฎระเบียบเกี่ยวกับการส่งออกอาหาร
•    ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

บริการที่น่าสนใจ

1.  บริการวิเคราะห์ทดสอบ สอบเทียบ
1.1 วิเคราะห์ทดสอบตัวอย่าง
- แร่ โลหะ โลหะผสม และตัวอย่างด้านอนินทรีย์ต่างๆ
- เชื้อเพลิง สารหล่อลื่น และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
- สารเคมีทางการเกษตร เช่น ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์
- น้ำ เช่น น้ำดื่ม น้ำใช้ น้ำเสีย
- ยาง และพลาสติก เช่น ยางดิบ ยางแผ่น ผลิตภัณฑ์ยาง
- เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ทางเคมี เช่น ผงซักฟอก น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อ เครื่องสำอาง  
   กรด ด่าง เกลือ ตัวทำละลายอินทรีย์ สารปรับสภาพน้ำ เช่น สารส้ม โพลิอะลูมิเนียมคลอไรด์
- วัสดุก่อสร้าง และวัสดุโครงสร้าง เช่น กระเบื้องปูพื้น-บุผนัง-มุงหลังคา อิฐซีเมนต์ คอนกรีต
   เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย เครื่องดับเพลิง ถังก๊าซปิโตรเลียม
- เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น พัดลม หม้อหุงข้าว เตาไฟฟ้า  เตาไมโครเวฟ  เทปใช้งานไฟฟ้า  สายไฟฟ้า  วัสดุ
   ฉนวนไฟฟ้า   แบตเตอรี่รถยนต์
- เซรามิก และแก้ว
- เยื่อ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ
- อาหาร และเครื่องดื่ม เช่น น้ำมัน และไขมันบริโภค นมและผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่ม เครื่องปรุง
   แต่งรสอาหารสำเร็จรูป และกึ่งสำเร็จรูป อาหารทั่วไป สารเคมีที่ใช้ในอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร
   อาหารสัตว์
- สารมลพิษในสิ่งแวดล้อมทางอากาศ  น้ำ  และกากอุตสาหกรรม  รวมถึงมลภาวะทางเสียง
- ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทั่วไป เช่น ผลิตภัณฑ์ผิวชุบ ผลิตภัณฑ์ท่อ เส้นใย สิ่งทอ กาว
1.2 สอบเทียบ
- ด้านวัสดุอ้างอิง เช่น เครื่องวัดความชื้น เครื่องวัดความแข็ง เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง
- ด้านอุณหภูมิ เช่น ตู้อบ  เทอร์โมมิเตอร์ชนิดหลอดแก้ว เทอร์โมคัปเปิ้ล
- ด้านความดัน เช่น เกจวัดความดันของเหลว เกจวัดความดันก๊าซและสุญญากาศ
- ด้านความยาว และมิติ เช่น ตลับเมตร บรรทัดเหล็ก ไมโครมิเตอร์ ไดอัลเกจ เวอร์เนียคาลิปเปอร์
- ด้านมวล เช่น ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน เครื่องชั่ง
- ด้านปริมาตร เช่น บิวเรต ปิเปต กระบอกตวง
- ด้านการสั่นสะเทือน เช่น เครื่องวัดการสั่นสะเทือน หัววัดความเร่ง
- ด้านไฟฟ้า และความถี่ เช่น เครื่องวัดความต้านทาน มัลติมิเตอร์ เครื่องวัดความเร็วรอบ วัตต์
  มิเตอร์
- ด้านแรง เช่น เครื่องวัดแรงดึงแรงอัด

ขั้นตอนการส่งตัวอย่างและรับผลการทดสอบสอบเทียบ
1.    ส่งตัวอย่างที่ฝ่ายสารบรรณ
2.    กรอกใบคำร้อง และระบุวิธีการรับผลการวิเคราะห์ทดสอบ สอบเทียบ(รับที่หน่วยงาน/ไปรษณีย์
       ลงทะเบียน)
3.    คิดค่าธรรมเนียมการวิเคราะห์ฯ ที่ฝ่ายสารบรรณ
4.    ชำระค่าธรรมเนียมการวิเคราะห์ฯ ที่ฝ่ายคลัง
5.    ฝ่ายสารบรรณโทรแจ้งผู้รับบริการรับผลการวิเคราะห์ฯ หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

การให้บริการทดสอบแบบประจำ
1.   การส่งตัวอย่างทดสอบแบบประจำ คิดค่าธรรมเนียมตามอัตราปกติ โดยมีส่วนลดดังนี้
ค่าธรรมเนียม 50,000 ถึง 100,000  บาท ลด 10 %
ค่าธรรมเนียม  100,000  บาท ขึ้นไป  ลด 20 %
ทั้งนี้ผู้ส่งตัวอย่างจะต้องชำระค่าธรรมเนียมทั้งหมด(หลังจากหักส่วนลดแล้ว) พร้อมการส่งตัวอย่างครั้งแรก
2.    การทดสอบแบบประจำต้องเป็นตัวอย่างประเภทและชนิดเดียวกัน    แต่ละครั้งต้องมีเวลาไม่เกิน 1 ปี  และ 
       ต้องจัดทำแผนการส่งตัวอย่างทดสอบแนบมาด้วย
3.    การส่งตัวอย่างทดสอบครั้งต่อไปทุกครั้งให้แนบสำเนาคำร้องพร้อมแผนการส่งตัวอย่างทดสอบ
4.    กรมวิทยาศาสตร์บริการสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการลดค่าธรรมเนียมกรณีผู้ส่งตัวอย่างไม่ปฏิบัติตาม
       แผนการส่งตัวอย่างทดสอบ
หมายเหตุ
               ขอรับคำร้อง เรื่อง ขอส่งตัวอย่างทดสอบแบบประจำได้ที่ ฝ่ายสารบรรณ
               ชั้น1 อาคารตั้ว  ลพานุกรม  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  โทร. 0 2201 7064-5

 


ติดต่อ...  โครงการเคมี  โทร. 0 2201 7212     โทรสาร  0 2201 7213
             โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม  โทร. 0 2201 7128     โทรสาร    0 2201 7127          
             โครงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ   โทร. 0 2201 7183     โทรสาร    0 2201 7181
เว็บไซต์ :        กรมวิทยาศาสตร์บริการ  http://www.dss.go.th



2.  บริการให้การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ
     สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นสมาชิกประเภท Full member และได้ลงนามการยอมรับร่วม  (Mutual Recognition Arrangement, MRA)  กับองค์การความร่วมมือภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ (Asia Pacific Laboratory Accreditation Cooperation, APLAC) และ กับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ  (International Laboratory Accreditation Cooperation, ILAC)
              สำนักฯ ให้บริการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และให้การรับรองความสามารถผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043โดยมีขอบข่ายการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบครอบคลุม ด้านฟิสิกส์ เคมี และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เช่น น้ำตาลและผลิตภัณฑ์น้ำตาล  อาหาร อาหารสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง  ภาชนะบรรจุอาหารและวัสดุที่เกี่ยวข้อง  ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง  รองเท้าและเครื่องหนัง  ผลิตภัณฑ์พลาสติก  เซรามิกและแก้ว  เคมีภัณฑ์(เฉพาะที่ไม่ได้ใช้ทำยา)  ปิโตรเคมี(ขั้นกลางและขั้นปลาย)  สิ่งแวดล้อม  กระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและวัสดุที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ ส่วนขอบข่ายการรับรองความสามารถผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความ ชำนาญห้องปฏิบัติการครอบคลุม ใน 3 สาขา ได้แก่ การทดสอบ การทดสอบทางการแพทย์ และการสอบเทียบ
ติดต่อ...กลุ่มกำกับดูแลมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ 
โทรศัพท์ :      0 2201 7133, 0 2201 7325
โทรสาร :       0 2201 7126                    
เว็บไซต์ :        กรมวิทยาศาสตร์บริการ  http://www.dss.go.th    
    ฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการ  http://index.dss.go.th



 


3.  บริการจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ
                 สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ดำเนินกิจกรรมทดสอบความชำนาญของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล  ครอบคลุมสาขาต่างๆ ได้แก่  สาขาจุลชีววิทยา สาขาสิ่งแวดล้อม สาขาเคมี สาขาฟิสิกส์ และสาขาสอบเทียบ   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก   กรมวิทยาศาสตร์บริการยังได้รับมอบหมายจาก องค์การความร่วมมือภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ (Asia Pacific Laboratory Accreditation Cooperation, APLAC) ให้เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญแก่กลุ่มประเทศสมาชิก   และมีการจัดทำฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญ เพื่อสร้างดัชนีชี้วัดในการประเมินความสามารถห้องปฏิบัติกาi
ติดต่อ...กลุ่มบริหารจัดการทดสอบความชำนาญ สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ 
โทรศัพท์ :  0 2201 7331-3
โทรสาร :       0 2201 7239                    
เว็บไซต์ :        กรมวิทยาศาสตร์บริการ  http://www.dss.go.th    
    ฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการ  http://index.dss.go.th   

 


                     
4.  บริการข้อมูลสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บริการสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    กรมวิทยาศาสตร์บริการมีสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เป็นแหล่งบริการสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ รวบรวม เอกสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 500,000 เล่ม  มีระบบการจัดการที่ทันสมัย ให้บริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บริหารจัดการและบริการด้วยระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9001: 2008 ซึ่งให้บริการสารสนเทศต่าง ๆ ดังนี้
    - บริการยืม – คืน สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวีดิทัศน์
    - บริการตอบคำถาม และตรวจสอบเอกสารทางโทรศัพท์ / โทรสาร / E-mail
    - บริการข้อมูลทางเว็บไซต์ห้องสมุด
    - บริการค้นเรื่องทางวิชาการ
    - บริการติดตามสารสนเทศทันสมัยเฉพาะเรื่องเฉพาะราย หรือบริการ SDI
         (Selective Dissemination of Information Service)
    - บริการสารสนเทศสิทธิบัตรเฉพาะเรื่อง
    - บริการรวบรวมสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
    - บริการจัดหาเอกสารฉบับเต็ม ภายในประเทศและต่างประเทศ
    - บริการพิมพ์ข้อมูลจากวัสดุย่อส่วน / CD-ROM / Internet
    - จัดอบรม  ฝึกงาน  สัมมนาวิชาการ  และบรรยายพิเศษ  เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เวลาการให้บริการ
    วันจันทร์ – ศุกร์  08.30 – 16.30 น.   
          โทร. 0 2201 7254  
          โทรสาร   0 2201 7265
          เว็บไซต์: http://siweb.dss.go.th      
          e-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน


                               
5.   บริการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ
    กรมวิทยาศาสตร์บริการให้บริการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เน้นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบ สอบเทียบและวิจัย เพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพสูงพร้อมปฏิบัติงาน เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน มีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เข้าสู่ระบบงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศโดยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ให้บริการจัดฝึกอบรมด้านเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ทั้งในและนอกสถานที่ มีหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ระยะยาวและอบรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ครอบคลุมการปฏิบัติงานที่ใช้ศาสตร์ด้านเคมี ฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ รวมทั้งด้านการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการตามแนวทางมาตรฐานสากล    เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของตนเองในการปฏิบัติงานทางวิชาการของตนมากยิ่งขึ้น

ติดต่อ...สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ
โทร. 0 2201 7425-6   
โทรสาร .  0 2201 7429   
 เว็บไซต์ :  http://www.e-learning.dss.go.th , http://blpd.dss.go.th
e-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

 



6.บริการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
การวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
    สำนักเทคโนโลยีชุมชนดำเนินการศึกษาค้นคว้าวิจัยและทดลองในสาขาที่หน่วยงานมีศักยภาพ  เช่น เทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์   ด้านเซรามิก   เทคโนโลยีอาหารและสมุนไพร   เพื่อพัฒนากระบวนการผลิต  คุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์  ช่วยเสริมสร้างสมรรถนะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศให้เข้มแข็งขึ้น   โดยการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิต   การสร้างมูลค่าเพิ่ม   การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและนำเทคโนโลยีของหน่วยงานถ่ายทอดสู่ภาคประชาชนในชุมชน   เพื่อคนในชุมชนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการถ่ายทอดไปพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าชุมชนให้ได้มาตรฐาน
และเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตรของชุมชน   เป็นการสร้างอาชีพ   สร้างงาน   สร้างรายได้ให้คนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
การถ่ายทอดเทคโนโลยี
•    วัสดุศาสตร์
      การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ผักตบชวา
      การผลิตถ่านผลไม้ดูดกลิ่นและประดับตกแต่ง
      การผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
      การผลิตสารกรองสนิมเหล็กในน้ำและการผลิตเครื่องกรองน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค
•    เซรามิก
      เทคโนโลยีการผลิตและออกแบบเซรามิก  ได้แก่
      การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาชาววัง
      การตกแต่งผลิตภัณฑ์รูปปั้นกินรี
      เทคนิคการปั้นตุ๊กตาดินเผา
      การปั้นและตกแต่งด้วยดินสี
      การขึ้นรูปดอกไม้เซรามิก
  ฯลฯ
•    สมุนไพร
      การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ได้แก่  ลูกประคบสมุนไพร   สบู่   แชมพู   ครีมนวด  โลชั่นบำรุงผิว
•    อาหาร
      การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปของชุมชน  ได้แก่
      การแปรรูปผลิตภัณฑ์สับปะรด  ผลิตภัณฑ์กล้วย  ผลิตภัณฑ์มะนาวและพืชสมุนไพร ฯลฯ
      เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล

การบริการวิเคราะห์ทดสอบ
      วิเคราะห์ทดสอบด้วยเครื่องมือพิเศษ
      เครื่อง  Scanning   Electron  Microscope  (SEM)
      เครื่อง  X-ray  Fluorescence  Spectrometer  (XRF)
      เครื่อง  Laser  Particle  Size  Analyzer
      เครื่อง X-ray  Diffractometer  (XRD)

      วิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) 
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  (มอก.) หรือตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

ติดต่อ...สำนักเทคโนโลยีชุมชน
โทร. 0 2201 7103-5   
โทรสาร .  0 2201 7102   
 เว็บไซต์ :  http://ceramic.dss.go.th

ผลงานวิจัยที่นำไปถ่ายทอดเทคโนโลยี

การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ผักตบชวา

ถ่านผลไม้ดูดกลิ่นและประดับตกแต่ง

ถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

การผลิตสารกรองสนิมเหล็กในน้ำและการผลิตเครื่องกรองน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค


เทคโนโลยีการผลิตและการออกแบบเซรามิก
เซรามิกผีเสื้อรูปแบบลอยตัว,ลูกไม้เซรามิก,ดอกไม้เซรามิก


การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ


ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป
ส้ม , แครอท , ส้มตำไทยกระป๋อง , อาหารว่างชนิดกรอบพองจากทุเรียน , ทุเรียนผง
 

 

 

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมมือสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) พัฒนาและส่งเสริมการรับรองสมรรถนะของบุคคลสู่มาตรฐานสากล
» กรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น สนับสนุนผู้ประกอบการภูมิภาค
» กรมวิทยาศาสตร์บริการ จับมือ 4 กระทรวงจัดสัมมนาสร้างความเชื่อมั่นการรับรองระบบงานโลก
» วท.ยก NQI/MSTQ พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย
» วศ./ก.วิทย์ฯ พร้อมโชว์ผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในงานมหกรรมวิทย์ฯ ปี 2558
» กรมวิทยาศาสตร์บริการผ่านการพิจารณาเรื่องการคงสถานะของการยอมรับร่วมด้านการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ
» กรมวิทยาศาสตร์บริการ ก.วิทย์ฯ นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยกระดับ OTOP กลุ่มจังหวัดภาคกลาง
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป