เทคนิคการตรวจวัดชนิด และตำแหน่งอะตอมในวัสดุ ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 8 ห้องปฏิบัติการแสงสยามเป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้รังสีเอกซ์จากเครื่อง กำเนิดแสงสยามที่มีศักยภาพสูงในการวิเคราะห์หาชนิด และตำแหน่งอะตอมของธาตุโดยการดูดกลืนรังสีเอกซ์(X-ray Absorption Spectroscopy; XAS) ซึ่งใช้ในการตรวจสอบรูปแบบเคมี (chemical form)ของอะตอม สถานะออกซิเดชัน (oxidation state) ของอะตอม และจำนวนอะตอมที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง(coordination number) ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำนอกจากนี้เทคนิค XAS ยังเป็นเทคนิคที่ไม่ทำลายสารตัวอย่าง (Non-destructive analysis) และสามารถตรวจสอบสารตัวอย่างในสภาพตามธรรมชาติได้ และสามารถทำการวิเคราะห์ธาตุได้หลายๆ ธาตุพร้อมกัน โดยทางสถาบันฯ ได้พัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์ โปรแกรมการวิเคราะห์ให้ทันสมัยสะดวกต่อการใช้งาน ทำให้วิเคราะห์ชิ้นงานที่ให้สเปกตรัมซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง จึงทำให้เทคนิคนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม อัญมณี อุตสาหกรรม การแพทย์ ธรณีวิทยา การเกษตร และสามารถตรวจสอบสารตัวอย่างทั้งในลักษณะของแข็ง ผง ของเหลว หรือก๊าซได้
ประโยชน์ของผลงาน
- สามารถตรวจวัดชนิดและตำแหน่งอะตอมได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
- ลดต้นทุนในการไปศึกษาและใช้เทคนิคนี้ ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนในต่างประเทศ
- นำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ อาทิ เช่น
o วัสดุศาสตร์ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง แผ่นฟิมล์เคลือบแว่นตาสำหรับงานนิติวิทยาศาสตร์
o วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ขุยมะพร้าวในการบำบัดน้ำเสีย การกำจัดโลหะหนักในพื้นที่การเกษตรโดยใช้แบคทีเรีย
o การแพทย์ เช่น การหาองค์ประกอบของธาตุในก้อนนิ่ว
o โบราณคดีศึกษา เทคนิคการเผาเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง การพัฒนาตรวจวิเคราะห์แก้วโบราณ
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
อุตสาหกรรมการผลิต
- การผลิต : การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การพัฒนากระบวนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การลดค่าใช้จ่าย ในการผลิต เป็นต้น
- การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้จากการผลิตเกษตรกรรม และปศุสัตว์
- การพัฒนาพื้นที่การผลิตพืช - การพัฒนาคุณภาพ และแก้ไขปัญหาดิน - พื้นที่การเพาะปลูก
สาธารณสุข
การศึกษา - เรียนรู้ - สร้างความตระหนัก ว&ท
สาขาผลงาน : ด้านการศึกษา
ชื่อผู้ผลิตผลงาน :
ดร.วันทนา คล้ายสุบรรณ์