กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish

เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน

พิมพ์ PDF

ตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนทั่วโลก

 

 

สถานะปัจจุบัน  :  เครื่องกำเนิดแสงสยาม  ที่ค่าพลังงาน  1.2  GeV

 

 

 

      สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ประสบความสำเร็จในการดำเนินการทดสอการทำงานของระบบผลิตฮีเลียมเหลวภายในห้องปฏิบัติการแสงสยามเป็นที่เรียบร้อย ทั้งนี้ได้ดำเนินการติดตั้ง   และทดสอบระบบแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม ในปัจจุบันสถาบันสามารถผลิตฮีเลียมเหลวได้ในอัตรา 21.6 ลิตร ต่อชั่วโมง ซึ่งมีความเพียงพอต่อความต้องการใช้ในการจ่ายความเย็นให้แก่ระบบแม่เหล็กความเข้มสูง (Superconducting Wavelength Shifter SWLS) ที่กำลังจะติดตั้งที่วงแหวนกักเก็บอิเล็กตรอนของเครื่องกำเนิดแสงสยาม  ซึ่งต้องเดินเครื่องตลอดเวลา 24 ชั่วโมง/วัน

 

ผลการดำเนินงาน  : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

เครื่องกำเนิดแสง

     ได้ดำเนินการปรับปรุงวงโคจรของอิเล็กตรอน และเพิ่มศักยภาพของเครื่องกำเนิดแสงสยามให้สามารถบริการแสงซินโครตรอนได้เพิ่มขึ้นอีกวันละ  1  ชั่วโมง

ระบบลำเลียงแสงซินโครตรอน และสถานีทดลอง

     ดำเนินการสร้างสถานีระบบลำเลียงแสง และสถานีทดลองสำหรับเทคนิคโฟโตอิมิชชันสเปกโตรไมโครสโคปี และเทคนิคสำหรับการศึกษาโครงสร้างผลึกของโปรตีน

การพัฒนาห้องปฏิบัติการ และระบบสาธารณูปโภค

     ปรับปรุงระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับงานสร้างระบบลำเลียงแสง และสถานีทดลองที่จะเพิ่มขึ้น และได้พัฒนาการสร้าง  Sputter Ion Pump ขึ้นเอง โดยได้ดำเนินการศึกษา ออกแบบ และสร้างต้นแบบ Sputter Ion Pump แบบ Diode ขนาด 150 l/s ซึ่งเมื่อเทียบกับ Sputter Ion Pump ที่นำเข้า พบว่ามีประสิทธิภาพเทียบเท่า หรือดีกว่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ  ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อถึง  50 %

 

ผลการดำเนินงาน  :  การพัฒนาเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน

ตารางการเดินเครื่องฯ ปี 2552

 

 

ผลการดำเนินงาน  :  สามารถให้บริการแสงซินโครตรอน ตลอด 24 ชั่วโมง รวมเวลาบริการ    
                                     3,314  ชั่วโมง  ในปี 2552

 

 

ผลการดำเนินงาน  :  การให้บริการแสงซินโครตรอน

 

 

 

 

การติดตั้ง ระบบลำเลียงแสง PEEM

 

 

       จากความสำเร็จในการติดตั้งอันดูเลเตอร์ ณ BL3 ทำให้สามารถผลิตแสงในย่านที่จะใช้งานสำหรับงานด้านโฟโตอิเล็กตรอนที่มีความเข้มสูงขึ้นถึง 2000 เท่า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการย้ายอุปกรณ์บางส่วนจาก BL4 ไปที่ BL3 และติดตั้งระบบ

 

การติดตั้งระบบลำเลียงแสง BL7 :  สำหรับศึกษาโครงสร้างโปรตีน(Protein Crystallography)

 

 

BL7  :  การศึกษาโครงสร้างโปรตีน  (Protein Crystallography)

 

 

ผลการดำเนินงาน  :  การพัฒนาปั๊มสุญญากาศแบบสปัตเตอร์ไอออน

      สซ. ได้พัฒนาความสามารถการผลิตปั๊มสุญญากาศแบบสปัตเตอร์ไอออนขนาด 150 ลิตรต่อวินาที สามารถใช้งานได้จริง และมีประสิทธิภาพเทียบเท่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ราคาต่ำกว่านำเข้าจากต่างประเทศ  50%

 

 

ผลการดำเนินงาน  :  บริการเทคนิค และวิศวกรรม

 

 

 

ผลการดำเนินงาน  :  การให้บริการด้านเทคนิค และวิศวกรรม

สถาบันฯ ได้ให้บริการผลิตชิ้นส่วนระบบสุญญากาศ  ให้คำปรึกษา และแก้ปัญหาระบบสุญญากาศ     

แก่สถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย และภาคอุตสาหกรรมต่างๆ

 

ตัวอย่างการให้บริการ

 

Ion  beam  Chamber (มช.)

Sputtering Ion Chamber (มข.)

RF Sputtering  Chamber (MTEC)

แก้ไขปัญหาระบบสุญญากาศของ
เครื่อง Freeze Dryer ซึ่งใช้ในการทำวัคซีนเหลวให้เป็นผง
(บ. องค์การเภสัช)

แก้ไขปัญหาระบบ
การผลิตชิ้นส่วนโลหะ
(บ.เอสวี นิททัน จำกัด)

ให้คำปรึกษาในการปรับปรุง  ระบบสุญญากาศของ Line  standard (มว.)

 

ผลการดำเนินงาน  :  ผลงานวิจัย

 

 

ผลงานวิจัย  :  ตัวอย่างผลงานวิจัย

 

 

 

ผลงานวิจัย  :  ตัวอย่างผลงานวิจัย

 

  การวิเคราะห์โครงสร้างผลึกแว่นตานาโน

 

 

 

   ผลงานวิจัย  :  ตัวอย่างผลงานวิจัย

 

การศึกษาการเปลี่ยนรูปแบบทางเคมีของแคดเมียมโดยใช้แบคทีเรีย

 

 

 

     โดยการทำให้เกิด colonization หรือการเกาะติดของแบคทีเรียในบริเวณรากของข้าว   ซึ่งจะเปลี่ยนรูปแบบทางเคมีของแคดเมียมให้อยู่ในรูปที่ไม่ละลายน้ำ (ศึกษาโดยใช้ Synchrotron  : S K-edge XANES)  ทำให้ต้นข้าวไม่สามารถดูดซับแคดเมียมเข้าสู่ราก และนำไปสู่การลดสะสมแคดเมียมในเมล็ดข้าว

 

ผลการดำเนินงาน  :  ตัวอย่างโครงการวิจัย

 

แสงซินโครตรอนจากเครื่องกำเนิดแสงสยามช่วยวิจัยปัญหามลพิษในดิน
 และน้ำในประเทศเยอรมันนี

 

 

Sulfur release from
war debris in urban soils


     ตลอด 30 ปีที่ผ่านมากรุงเบอร์ลินประสบกับปัญหาสารกำมะถันในอ่างเก็บน้าสำหรับอุปโภคที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ พบว่าสารกำมะถันนั้นมีต้นกำเนิดมาจากซากสิ่งก่อสร้าง และขยะจากสงครามโลกครั้งที่ 2  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุ และกระบวนการในการปล่อยสารกำมะถันลงสู่ดิน และการแพร่จากดินสู่แหล่งน้ำ เพื่อนำทางไปสู่การแก้ไขปัญหาในระยะยาว

 
 

Dr. Jugen Thieme
Institute for X-Ray Physics, University of Gottingen

 

 

ผลการดำเนินงาน  :  การพัฒนากำลังคน

• การฝึกอบรมเชิงวิชาการ  เชิงปฏิบัติการ  สัมมนาวิชาการ

• ค่ายวิทยาศาสตร์แสงสยาม

• โครงการแสงสยามสู่โรงเรียน

• โครงการแสงสยามสู่รั้วมหาวิทยาลัย

 

ผลการดำเนินงาน  :  ความร่วมมือระหว่างประเทศ

 

โครงการนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อน CERN

 

 

โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี่

 

 

Asian Oceania Forum on Synchrotron Radiation Research
4th AOFSRR conference at SSRF, China, 30 Nov. – 1 Dec. 2009

 

 

ลงนามความร่วมมือระหว่าง University of Bonn
กับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) 

 

แผนการดำเนินงาน  :  SUT-NANOTEC Beamline

 

 

แผนการดำเนินงาน  :  ระบบลำเลียงแสง และสถานีทดลอง

• BL7.2 : PX  อยู่ในระหว่างการจัดสร้าง ซึ่งจะใช้แสงย่านรังสีเอกซ์พลังงานสูงที่ผลิตจาก WLS  คาดว่าจะพร้อมทดลองใช้งานภายในต้นปี 2553

• BL5 : SUT-NANOTEC  มทส.  NANOTEC และ สซ. จะดำเนินการร่วมกันสร้าง BL คาดว่าจะเริ่มสร้างในเดือน ม.ค. 2553

• BL4 : IR  กำลังศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิค คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการในปี 2553

• BL2 : SAXS  อยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดสร้างคาดว่าจะสามารถให้บริการในปี 2553

• BL3 : PES & PEEM  อยู่ระหว่างจัดสร้างซึ่งได้ปรับปรุงจาก BL4 โดยเพิ่มช่วงพลังงาน และความเข้มแสงเพื่อขยายขอบเขตงานวิจัย คาดว่าจะพร้อมใช้งานภายในต้นปี 2553 

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป