กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish

ด้ามสลายต้อกระจกแบบระบบสั่นด้วยคลื่นอัลตราโซนิก

พิมพ์ PDF

   การรักษาต้อกระจกทำได้โดยการผ่าตัดเอาเลนส์แก้วตาที่ขุ่นมัวออก และใส่เลนส์แก้วตาเทียมทดแทน ซึ่งปัจจุบันการรักษานิยมใช้การสลายต้อกระจกแทนการผ่าตัด เนื่องจากแผลจะมีขนาดเล็กลงมาก ไม่จำเป็นต้องเย็บติดแผลและมีการหายที่เร็วกว่า หลักการสลายต้อกระจกจะใช้เข็มที่ต่อกับแหล่งกำเนิดคลื่นอัลตราโซนิก ซึ่งเป็นคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปสลายเนื้อเลนส์แก้วตาที่ขุ่นมัวให้แตก เป็นชิ้นเล็กๆ พร้อมกับดูดออกมา การใช้งานของด้ามสลายต้อกระจก มักมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างจำกัดและจำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนทดแทน อย่างสม่ำเสมอซึ่งที่ผ่านมาเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งสิ้น
    ทีมวิจัยเอ็มเทคออกแบบและสร้างต้นแบบด้ามสลายต้อกระจกแบบระบบสั่นด้วย คลื่นอัลตราโซนิก พร้อมตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ เช่น ความถี่ในการสั่นระยะการสั่น เทียบกับอุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศซึ่งเครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบไหลเวียนของเหลวสำหรับทำความสะอาดแผล
    ด้ามสลายต้อกระจกที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วนได้แก่ 1) ผลึกเซรามิกประเภทเพียโซอิเล็กทริกเพื่อเป็นแหล่งกำเนิดการสั่นสะเทือนระดับ อัลตราโซนิก ทำให้เนื้อเลนส์แก้วตาที่เป็นต้อกระจกแตกสลาย โดยการสั่นสะเทือนดังกล่าวจะใช้ความถี่ที่ 27,500 ครั้ง/วินาที หรือ 40,000 ครั้ง/วินาที และมีช่วงการเคลื่อนไหวสูงสุดอยู่ที่ 70 หรือ 100ไมครอน ขึ้นอยู่กับการออกแบบ 2) ระบบการไหลเวียนของเหลวเป็นระบบสำคัญที่จะช่วยลดและระบายความร้อนจากตัวเข็ม สลายต้อกระจก และผลึกเซรามิก รวมถึงการดูดเอาเศษต้อกระจกที่ถูกสลายออกจากตา ตลอดจนหน้าที่หลักสำคัญประการสุดท้ายคือ การคงโครงสร้างและความดันในลูกตาไม่ให้ยุบตัวในขณะทำการผ่าตัด
    ปัจจุบันทีมวิจัยอยู่ระหว่างการดำเนินการทดสอบการใช้งานจริงของต้นแบบ กับดวงตาของสัตว์ที่ตายแล้ว และขยายการทดสอบในสัตว์มีชีวิตและคนต่อไป พร้อมทั้งติดตั้งเสริมเซ็นเซอร์ตรวจสอบระบบความร้อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ให้มากกว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในปัจจุบัน
ประโยชน์ของผลงาน
    ต้อกระจกเป็นสาเหตุตาบอดอันดับแรกในไทย ซึ่งแต่ละปีมีผู้รับการผ่าตัดรักษาประมาณ 5 หมื่นคน และอีกประมาณ 1.5 แสนคน เข้าไม่ถึงการรักษา ต้องปล่อยให้ตาบอดในที่สุด เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงถึงหลักหมื่นบาทต่อการรักษาต้อกระจกหนึ่งครั้ง ซึ่งด้ามสลายต้อกระจกที่ผลิตขึ้นเองในประเทศนี้ จะช่วยส่งเสริมให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถจ่ายค่ารักษาที่มีราคาแพงได้รับ โอกาสในการเข้าถึงการรักษาได้มากยิ่งขึ้น
    จุดประสงค์หลักของโครงการนี้ คือการออกแบบและสร้างต้นแบบด้ามสลายต้อกระจกขึ้นเองภายในประเทศ โดยมุ่งหวังที่จะนำเครื่องที่สร้างขึ้นนี้ได้ไปใช้งานในเชิงสาธารณประโยชน์ เป็นหลัก รวมทั้งสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวขยายผลไปใช้กับอุตสาหกรรมด้านต่างๆ เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งผลกระทบโดยการประเมินมูลค่าการนำเข้าเบื้องต้นในแต่ละปีอยู่ที่ประมาณ 22 - 30 ล้านบาท (ด้ามสลายต้อกระจกที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาประมาณ1-2 แสนบาทต่อด้าม)
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
    อุตสาหกรรม : การผลิต
        • การเพิ่มผลผลิต (ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ)
    สาธารณสุข
        • ผู้ป่วยได้รับโอกาสในการเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น

สาขาผลงาน :  การแพทย์เพื่อการซ่อมแซมแก้ไขและฟื้นฟูสภาพร่างกาย

ชื่อผู้ผลิตผลงาน :
ดร.พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล
ดร.ธีระพนธ์ แย้มวงษ์
ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ่มตระการ
นพ.สมพร รี้พลมหา

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป