กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลงานเด่นกระทรวง ผลงานเด่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง อุปกรณ์เคลื่อนย้าย ผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยแบบสามส่วน

อุปกรณ์เคลื่อนย้าย ผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยแบบสามส่วน

พิมพ์ PDF

   จากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ อวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บสูงที่สุด คือ ศีรษะ ซึ่งพบถึงร้อยละ 35.41 และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตสูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 33.60 (ทะเบียนผู้ป่วยอุบัติเหตุ โรงพยาบาลขอนแก่น, 2542) และข้อมูลจากแพทย์ที่รับผิดชอบด้านอุบัติเหตุโดยตรงพบว่า การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บผิดวิธีโดยเฉพาะผู้บาดเจ็บที่มีความเสี่ยงสูงที่จะ เกิดอัมพาตแพทย์ไม่สามารถทำการผ่าตัดแก้ไขส่วนสำคัญ เช่น เส้นประสาทที่สันหลังได้ จึงทำให้มีหลายกรณีที่ไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติ หลังจากที่ได้รับการรักษา สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจในการเคลื่อนย้ายคนเจ็บที่ถูก วิธี
    ห้องปฏิบัติการอุปกรณ์ทางการแพทย์ เอ็มเทค พัฒนาอุปกรณ์ขนย้ายผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บแบบสามส่วน โดยออกแบบการทำงานให้สอดแผ่นตักของเปลยกผู้ป่วยเข้าไปทางด้านข้างทีละจุด จำนวน 6 จุด เป็นการขยับตัวของผู้บาดเจ็บทีละจุด ทำให้ผู้บาดเจ็บมีการขยับตัวน้อยที่สุดเมื่อทำการเคลื่อนย้ายโดยหากเทียบกับ เปลที่มีใช้ในรถพยาบาลหรือตามหน่วยกู้ภัยที่มีใช้อยู่นั้นไม่สามารถทำได้ การออกแบบอุปกรณ์ขนย้ายนี้ผ่านการวิเคราะห์ทางกลเสมือนจริงด้วยวิธีไฟไนต์เอ เลเมนต์ ทำให้มีสมบัติความแข็งแรงในการรับน้ำหนักได้มากถึง 160 กิโลกรัมเพิ่มความปลอดภัยและรวดเร็วในการทำงานของผู้ช่วยผู้ประสบภัยฉุกเฉิน นอกจากนี้ การถอดประกอบทำได้ง่าย สามารถเก็บพกพาได้สะดวก มีความคล่องตัวสูงทำให้เข้าถึงพื้นที่อุบัติเหตุได้รวดเร็ว ช่วยให้ผู้บาดเจ็บถึงมือแพทย์และมีโอกาสสำเร็จในการรักษาและผ่าตัดได้สูง กว่าจากการขนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บส่วนใหญ่ในปัจจุบัน
    ผลงานจากโครงการได้รับรางวัลเหรียญทองแดง สาขาสุขภาพ เรื่อง "อุปกรณ์ขนย้ายผู้ป่วยแบบสามส่วน"ในโครงการประกวดผลงานสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2550 โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์โครงการผ่านการทดสอบในภาคสนามเบื้องต้น และได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรอุปกรณ์ขนย้ายผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บแบบสามส่วน ในเลขที่คำขอ 0701002090
ประโยชน์ของผลงาน
    โครงการมุ่งเผยแพร่ต้นแบบอุปกรณ์นี้ไปยังมูลนิธิต่างๆ ที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและโรงพยาบาล รวมถึงการนำอุปกรณ์ไปใช้ในโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)ที่จำเป็นสำหรับภาวะฉุกเฉินโดยมีการระดมบุคลากรท้องถิ่นเพื่อรับการ ฝึกฝนเข้าร่วมกู้ภัยต่างๆ ผลงานจากโครงการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าอุปกรณ์ขนย้ายผู้ป่วยอุบัติเหตุ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 20,000 บาท และช่วยให้โรงพยาบาลและหน่วยกู้ภัยสามารถนำเปลต้นแบบไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพ ในการช่วยเหลือชีวิตที่รวดเร็วและลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมากมาย
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
    อุตสาหกรรม : การผลิต
        • ลดค่าใช้จ่ายในการผลิต
    สาธารณสุข
        • เพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือชีวิตที่รวดเร็วและลดความสูญเสีย

สาขาผลงาน :  การแพทย์เพื่อการซ่อมแซมแก้ไขและฟื้นฟูสภาพร่างกาย

ชื่อผู้ผลิตผลงาน :
ดร.ดนุ พรหมมินทร์
นพ.ภัทรวิทย์ รักษ์กุล
คุณปริญญา จันทร์หุณีย

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป