กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลงานเด่นกระทรวง ผลงานเด่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง เทคโนโลยีฟิล์มบรรจุภัณฑ์แอคทีฟเพื่อยืดอายุและรักษา คุณภาพของผักและผลไม้สด

เทคโนโลยีฟิล์มบรรจุภัณฑ์แอคทีฟเพื่อยืดอายุและรักษา คุณภาพของผักและผลไม้สด

พิมพ์ PDF

    ประเทศไทยส่งออกผักและผลไม้คิดเป็นมูลค่าประมาณ 19,000-20,000 ล้านบาทต่อปี (ช่วงปี พ.ศ.) ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็นหรือเพียงร้อยละ 10 ของมูลค่าการผลิตโดยรวม ปัญหาที่สำคัญของอุตสาหกรรมผักและผลไม้สดเขตร้อนอย่างในประเทศไทย คือ การขาดการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม และขาดความรู้หรือการใช้เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อยืดอายุ ของผลิตผลสดและรักษาคุณภาพให้คงเดิม การสูญเสียของผักและผลไม้สดหลังจากเก็บเกี่ยวจึงมีปริมาณสูงถึงร้อยละ 30-40 ของมูลค่าโดยรวม เนื่องจากผลิตผลสดมีอายุสั้น อุณหภูมิสูง เป็นปัจจัยเร่งอัตราการหายใจ ทำให้ผักและผลไม้สดเสื่อมสภาพเร็ว ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการจำหน่ายผลผลิตที่ด้อยคุณภาพและทำให้ผู้ประกอบการไม่ สามารถส่งออกไปยังประเทศที่มีระยะทางห่างไกลจากประเทศไทย
    กลุ่มวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีฟิล์มบรรจุภัณฑ์แอคทีฟเพื่อยืดอายุการเก็บ รักษาคุณภาพผักและผลไม้สดไทยจึงก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างศูนย์ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีสมบัติสอด คล้องกับความต้องการแบบจำเพาะของผลิตผลที่ปลูกในประเทศไทย เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมผลิตผลการเกษตรไทย
    ฟิล์มบรรจุภัณฑ์แอคทีฟ มีคุณสมบัติเด่น คือ ฟิล์มยอมให้ก๊าซที่ใช้ในกระบวนการหายใจผ่านเข้าออกได้ดีและสอดคล้องกับอัตรา การใช้และสร้างก๊าซในกระบวนการหายใจของผักและผลไม้สดที่บรรจุ ทำให้เกิดบรรยากาศดัดแปลงแบบสมดุล (Equilibrium Modified Atmosphere หรือ EMA) ขึ้น ในบรรจุภัณฑ์ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยก๊าซออกซิเจนในช่วง 2-10% และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2-10% ความชื้นสัมพัทธ์ภายในบรรจุภัณฑ์อยู่ในช่วง 90-99% ส่งผลให้เกิดการชะลอการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ EMA จึงสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้สดนานขึ้น 2-5 เท่า และผลิตผลยังคงมีคุณภาพและรสชาติที่ดี นอกจากนี้ฟิล์มยังมีความใส เกิดฝ้าน้อยและมีความแข็งแรงเหมาะสมสำหรับใช้งานจริงในอุตสาหกรรม ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ EMA เป็นหลักการหนึ่งในกลุ่มเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์แบบแอคทีฟ (Active Packaging Technology) ปัจจุบันกลุ่มวิจัยบรรจุภัณฑ์สามารถพัฒนาฟิล์มที่มีคุณสมบัติพิเศษหลากหลาย มากขึ้น อาทิ เช่น ฟิล์มดูดซับเอทิลีนเพื่อชะลอการสุก (Ethylene Absorbing Films) ฟิล์มที่สามารถเลือกให้ก๊าซผ่านแบบพิเศษ (Special Perm Selective Films) เป็นต้น
ประโยชน์ของผลงาน
    ฟิล์มบรรจุภัณฑ์แอคทีฟนี้ได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับ บรรจุอาหารและได้มีการประยุกต์ใช้งานจริงด้วยความร่วมมือกับผู้ประกอบการ โดยใช้บรรจุผักสดหลายชนิดสำหรับตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศและส่งออกไปยัง ต่างประเทศ บรรจุภัณฑ์แอคทีฟที่พัฒนาขึ้นนี้มีสมบัติเทียบเท่าหรือดีกว่าบรรจุภัณฑ์แอ คทีฟราคาแพงที่นำเข้าจากต่างประเทศ การพัฒนานี้จึงเป็นนวัตกรรมที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมเกษตร ไทย ซึ่งนอกจากมีประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมแล้ว คณะวิจัยได้ขยายผลการทดสอบร่วมกับกลุ่มเกษตรกรระดับชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549เป็นต้นมา
รางวัล
        • รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น พ.ศ. 2548 โดยมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
        • Silver Medal Invention Award in Packaging and Storage, for the invention titled "Freshness Preserving Film for Tropical Fresh Produce", Brussels Eureka, 2004, 53rd World Exhibition of Innovation, Research and New Technology
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
    อุตสาหกรรม : การผลิต
        • การพัฒนาคุณภาพการผลิต
        • การลดต้นทุนการผลิต
    การดำรงชีวิตของประชาชนทั่วไป
        • เพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน (อุตสาหกรรมผลิตผลการเกษตรไทย)
        • การส่งออก เพิ่มระยะทางการส่งออกได้ไกลขึ้น

สาขาผลงาน :  อาหารและการเกษตร

ชื่อผู้ผลิตผลงาน :
ดร.วรรณี ฉินศิริกุล
ดร.อศิรา เฟื่องฟูชาติ
รศ.ดร.วาณี ชมเห็นชอบ
นายนพดล เกิดดอนแฝก
นางสาวกาญจนา บุญเรือง
นายปราโมทย์ คุ้มสังข์

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป