กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish

เทคโนโลยีการจับตัวยางสกิมประสิทธิภาพสูง

พิมพ์ PDF

    ในกระบวนการผลิตน้ำยางข้นโดยใช้เทคนิคการปั่นเหวี่ยงนั้น นอกจากจะได้น้ำยางข้นแล้วยังทำให้ได้น้ำยางสกิมจากกระบวนการผลิตเป็นจำนวน มากด้วยซึ่งในน้ำยางสกิมนี้มีองค์ประกอบที่เป็นเนื้อยางอยู่ถึง 3-8 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแต่เนื่องจากมีส่วนที่ไม่ใช่ยาง เช่น น้ำ โปรตีน น้ำตาล และสารอนินทรีย์ในปริมาณสูงและอนุภาคยางที่เหลืออยู่ในน้ำยางสกิมนั้นมีขนาด เล็กทำให้การจับตัวเนื้อยางออกจากน้ำยางสกิมกระทำได้ยาก โดยทั่วไปโรงงานอุตสาหกรรมน้ำยางข้นในปัจจุบันนิยมใช้กรดซัลฟูริกเข้มข้นใน การจับตัวเนื้อยางออกจากน้ำยางสกิมวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ง่ายแต่ยังมี ประสิทธิภาพต่ำ เมื่อใช้กับน้ำยางสกิมที่เก็บไว้นานและน้ำยางสกิมที่มีปริมาณแอมโมเนียสูง เนื้อยางที่ได้จากการจับตัวด้วยกรดซัลฟูริกเข้มข้นนี้มักมีสีคล้ำ มีโปรตีนสูง และมีคุณภาพต่ำ น้ำทิ้งที่เหลือมีการปนเปื้อนของซัลเฟตเป็นจำนวนมาก มีค่าความเป็นกรดสูง (pH 4.5) จำเป็นต้องมีขั้นตอนการบำบัดเป็นพิเศษก่อนปล่อยลงสู่บ่อน้ำทิ้ง ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และยังก่อให้เกิดแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ซึ่งเป็นแก๊สพิษส่งกลิ่นเหม็น เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในโรงงานผลิตน้ำยางข้น เรามีความจำเป็นต้องพัฒนาสารจับตัวน้ำยางสกิมที่มีประสิทธิภาพสูง ทดแทนการใช้กรดซัลฟูริก
ประโยชน์ของผลงาน
    ทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยยาง เอ็มเทค พัฒนาสารจับตัวน้ำยางสกิมประสิทธิภาพสูง มีชื่อว่า A704 (รูปที่ 1) ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถจับตัวน้ำยางสกิมได้อย่างสมบูรณ์และรวดเร็ว (รูปที่ 2) ใช้ปริมาณน้อย ต้นทุนการผลิตต่ำ ใช้ได้ทั้งน้ำยางสกิมใหม่และน้ำยางสกิมเก่า ปราศจากการปนเปื้อนของซัลเฟตลงไปในน้ำทิ้งและสามารถกำหนดค่า pH ของน้ำทิ้งได้ตามต้องการ เนื้อยางสกิมแห้งที่ได้ (รูปที่ 3) มีปริมาณสิ่งสกปรก ปริมาณเถ้า และปริมาณไนโตรเจนต่ำกว่า นิ่มกว่า และทนต่อปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้ดีกว่าเนื้อยางสกิมแห้งที่ได้จากการจับตัว น้ำยางสกิมโดยใช้กรดซัลฟูริก
    งานวิจัยนี้ได้พัฒนาสารจับตัวน้ำยางสกิมประสิทธิภาพสูง (A704) จนถึงระดับที่สามารถผ่านการทดสอบจริงในระดับภาคสนามแล้วที่โรงงานวงศ์บัณฑิต จำกัด จ.สุราษฎร์ธานี และผลงานวิจัยนี้ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรไทยเลขที่คำขอ 0801004463
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
    อุตสาหกรรม : การผลิต
        - การแก้ไขปัญหาจากการผลิต
        - แก้ปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อม

สาขาผลงาน :  ยาง

ชื่อผู้ผลิตผลงาน :
ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์
คุณฉวีวรรณ คงแก้ว
คุณพร้อมศักดิ์ สงวนธำมรงค์
คุณปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป