ในแต่ละปีโรงไฟฟ้ามีเถ้าแกลบปริมาณมากจากการใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแส ไฟฟ้า ซึ่งบางส่วนส่งออกขายให้โรงหล่อโลหะต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่า 132 ล้านบาท และยังมีเถ้าแกลบอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ทีมวิจัย Ecocera ของเอ็มเทคประสบความสำเร็จในการใช้เถ้าแกลบจากโรงไฟฟ้าและตะกอนน้ำทิ้งจาก โรงงานอลูมิเนียมมาพัฒนาเป็นมัลไลท์เซรามิกส์ และขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามความต้องการเฉพาะอย่าง ได้แก่ ถ้วยครูซิเบิ้ลแผ่นรองเตาเผา แท่ง supports ท่อเซรามิกส์ ลูกบด เป็นต้น โดยต่อเนื่องมาในเฟส 2 เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับทำวัสดุรูพรุน และวัสดุสำหรับใช้งานที่อุณหภูมิต่ำโดยใช้เถ้าแกลบเป็นวัตถุดิบหลักรวมกับ วัสดุเหลือทิ้ง หรือ by-productราคาถูกที่หาได้ในประเทศ เพื่อทดแทนวัสดุจากแหล่งธรรมชาติที่เป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถสร้างขึ้นมา ใหม่ได้และวัสดุนำเข้าที่ใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ของใช้ในชีวิตประจำวัน และวัสดุสำหรับการเพาะปลูกพืชแบบไม่ลงดิน
โครงการได้องค์ความรู้เกี่ยวกับอุณหภูมิและขนาดเม็ดเถ้าแกลบที่ทำให้ เถ้าแกลบติดกันเป็นเม็ดอย่างถาวร อุณหภูมิและส่วนผสมของเถ้าแกลบ-ไลม์มัดหรือเดร็ก-ตะกอนน้ำทิ้งโรงงานอลูมิ เนียมในการทำเซรามิกส์ที่มีโครงสร้างเป็นโฟม
เทคโนโลยีในการเตรียมวัสดุรูพรุนทั้งแบบรูพรุนเปิดและรูพรุนปิด วิธีขึ้นรูปเม็ดเถ้าแกลบโดยไม่ใช้วัตถุดิบอย่างอื่นผสมวิธีการทำเม็ดเถ้า แกลบให้มีขนาดรูพรุนและปริมาณรูพรุนต่างๆ จากการใช้เถ้าแกลบและวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นวัตถุดิบเริ่ม ต้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถนำไปประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายที่มีสมบัติเฉพาะ และเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น มัลไลท์สำหรับใช้งานอุณหภูมิสูง หินเบาสำหรับงานก่อสร้าง ของเล่น ของชำรวย เซรามิกเครื่องใช้ในบ้าน เม็ดพรุนสำหรับการเพาะปลูก และสำหรับบำบัดน้ำบ่อเพาะเลี้ยง
วัสดุเพาะปลูกเอ็มเทค มีความพรุนตัวสูง อมน้ำได้ดี แข็งแรงกว่าวัสดุปลูกชนิดอื่นๆ เช่น ขุยมะพร้าว เพอร์ไลท์(Perlite) เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite) มีหลายขนาดเม็ด การอมน้ำแตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของ
พืชชนิดต่างๆ และมีค่าการนำไฟฟ้า (EC) ต่ำมาก น้อยกว่า 0.4mS/cm. จึงเหมาะสำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน(hydrophonics)
ตัวอย่างการทดสอบใช้งานในการบำบัดน้ำบ่อเพาะเลี้ยงปลาที่ศูนย์วิจัย และพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดปทุมธานี
เม็ดพรุนบำบัดน้ำ มีความพรุนตัวสูง มีรูพรุนหรือช่องว่างภายในระดับไมครอน จนถึงมิลลิเมตรประมาณ 60 %พื้นที่ผิวของเม็ดพรุนนี้ประมาณ 11 ตารางเมตรต่อกรัม ซึ่งช่องว่างนี้จะเป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรียที่ทำหน้าที่ย่อยสลายของเสีย ที่ปลดปล่อยออกจากสัตว์น้ำ
ผลงานจากโครงการได้ยื่นจดอนุสิทธิบัตรและความลับทางการค้าหลายรายการ คือ อนุสิทธิบัตรเรื่องกระบวนการผลิตมัลไลท์เซรามิกจากขี้เถ้าแกลบและตะกอนน้ำ ทิ้งจากกระบวนการชุบผิวอลูมิเนียม (เลขที่อนุสิทธิบัตร 2327) โดยขณะนี้ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรวัสดุรูพรุนสำหรับการย่อยสลาย และการบำบัดทางชีวภาพ นอกจากนั้นชิ้นงานต้นแบบ BiofilteringMedia ยังได้รับรางวัลเหรียญทองจากงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ 38th International Exhibition of Inventions of Geneva ปี 2550
ประโยชน์ของผลงาน
ทีมวิจัยดำเนินการต่อเนื่อง โดยนำเม็ดพรุนสำหรับเพาะปลูกไปทดลองปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน นำเม็ดพรุนบำบัดน้ำทดลองภายใต้สภาวะการใช้งานจริง และเริ่มดำเนินการปรับปรุงอุปกรณ์การขึ้นรูปเม็ดให้เป็นแบบต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้สามารถผลิตได้ในเชิงอุตสาหกรรม ขณะนี้มีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาต้นแบบระดับอุตสาหกรรมที่ตรงตาม ความต้องการของตลาดเพื่อผลิตจำหน่าย ผลงานจากโครงการจึงเป็นการช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติเพิ่มมูลค่าของเสียจากภาค เกษตรและอุตสาหกรรม และยังช่วยลดปัญหาในการกำจัดวัสดุเหลือทิ้งอีกด้วย
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
อุตสาหกรรม : การผลิต
• การพัฒนาคุณภาพของผลผลิต
• แก้ไขปัญหาจากการผลิต (ช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติ)
• การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้จากการผลิต
สาขาผลงาน : เทคโนโลยีเพื่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ชื่อผู้ผลิตผลงาน :
ดร.ผกามาศ แซ่ว่อง
คุณอุมาพร สังข์วรรณะ
คุณเอกสิทธิ์ คณทา