หลักในการพัฒนาระบบประตูอัตโนมัติ คือ การควบคุมการเคลื่อนที่ของประตูในการปิด-เปิดให้เหมาะสมกับความต้องการของ ผู้ใช้ตามความสามารถของระบบจะทำได้ ในการทำงานปกติ ชุดควบคุมจะควบคุมการเคลื่อนที่ของบานประตูให้สัมพันธ์กับสัญญาณเซ็นเซอร์ ตรวจจับความเคลื่อนไหวของคนเดินผ่านเข้า-ออกประตู ซึ่งถูกติดตั้งในตำแหน่งต่างๆ ที่เหมาะสมตำแหน่งของบานประตูจะถูกอ่านเข้าสู่ชุดควบคุมเพื่อเป็นข้อมูลใน ป้อนกลับในการควบคุมตำแหน่ง ความเร็วความเร่ง และทิศทางการเคลื่อนที่ของบานประตูดังกล่าว
งานหลักของนักวิจัย คือ ออกแบบและสร้างชุดควบคุมระบบประตูอัตโนมัติให้มีวงจรการทำงานที่ทนทานไม่ให้ เสียหายง่าย สามารถนำไปใช้เกินพิกัดของระบบ และออกแบบวงจรโดยคำนึงถึงราคาของระบบ โดยจะพยามลดต้นทุนให้ต่ำลงเท่าที่เป็นได้ ด้วยการเลือกใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่หาได้ง่ายในประเทศก่อนการนำเข้าจากต่างประเทศ
คุณสมบัติของชุดควบคุม
- เป็นชุดควบคมุ ทเี่ หมาะสมทจี่ ะนำไปใชก้ บั มอเตอรแ์ บบมแี ปรงถา่ น ขนาด 24 volts 2 amps (ประมาณ 50 watts)
- พิสัยแรงดันไฟฟ้าขาเข้าเป็นไฟตรง อยู่ในช่วง 14 - 28 volts โดยแรงดันพิกัดคือ 24 volts
- ควบคุมการทำงานด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ และสามารถต่อโปรแกรมโดยตรงในวงจรจริงได้เลย (In-circuit programming)
- มีระบบ self-commissioning (automatic parameter finding) โดยเมื่อเริ่มต้นใช้งาน ระบบควบคุมจะทำการหาระยะทางสำหรับการเคลื่อนที่ และคำนวนหาความเร่งและความหน่วงที่เหมาะสมกับน้ำหนักประตู ทำให้การติดตั้งง่ายขึ้น ทนทาน และรองรับประตูได้หลายแบบหลายขนาด
- มีการจำกัดกระแสไฟ เพื่อป้องกันการเกิดกระแสไฟเกินในระบบ
ประโยชน์ของผลงาน
- ช่วยลดการนำเข้าชุดควบคุมระบบประตูอัตโนมัติจากต่างประเทศ
- ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเอกชนไทย เพื่อประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
อุตสาหกรรม : การผลิต
การผลิต : การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การพัฒนากระบวนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การลดค่าใช้จ่ายในการผลิต เป็นต้น
การศึกษา - เรียนรู้ - สร้างความตระหนัก ว&ท
ชื่อผู้ผลิตผลงาน :
ดร.พงศ์พิชญ์ วิภาสุรมณฑล
หน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาการควบคุมและระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม (ICA)