จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยที่มีลักษณะภูมิประเทศอุดมไปด้วยปjาเขา และพื้นที่ลาดชันจำนวนมาก จากการสำรวจของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีพื้นที่เสี่ยงภัยสูง (ระดับสีแดง) 83 หมู่บ้าน ระดับปานกลาง(สีเหลือง) 115 หมู่บ้าน และระดับปกติ (สีเขียว) 41 หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 11,698 หลังคาเรือน รวมทั้งพื้นที่การเกษตร 38,664ไร่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจำนวน 127,828 คน
ดังนั้น ทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงมีความต้องการระบบเตือนภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าว มีการเตรียมพร้อมและอพยพ เพื่อป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินในหลายๆ กรณี การวัดปริมาณน้ำฝนที่ชุมชน อาจไม่สามารถบอกได้ว่ากำลังจะเกิดอุบัติภัยขึ้นเพราะอาจมีฝนตกหนักที่ พื้นที่ต้นน้ำ แต่ฝนไม่ตกหรือตกน้อยในชุมชน ดังที่เคยเกิดมาแล้ว เช่นนักท่องเที่ยวประสบภัยจากน้ำป่าแต่ไม่มีฝนตกในพื้นที่เพราะฝนตกในป่าต้น น้ำ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) มีเทคโนโลยีในระบบสมองกลฝังตัวที่สามารถนำมาบูรณาการร่วมกับมาตรการที่มี อยู่แล้วของจังหวัด และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่น มิสเตอร์เตือนภัย ช่วยเสริมในการแก้ปัญหา โดยใช้เทคโนโลยี ดังนี้
- เทคโนโลยีระบบตรวจ วัดคุม และบันทึกทางการเกษตร (Agritronics)
- ระบบตรวจจับความสั่นสะเทือนความไวสูง
- ระบบเครือข่ายในการเตือนภัย
ทาง ศอ. จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีเดิมจนได้ระบบเตือนภัยดินถล่ม และน้ำป่าหลายหลากเป็นสถานี ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์ และระบบสื่อสาร สำหรับตรวจวัดข้อมูลจากภาคสนามในระยะไกล สามารถตรวจวัด ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา อันได้แก่
- ใช้ระบบสมองกลฝังตัว ในการเก็บข้อมูล และควบคุมการทำงาน
- วัดอุณหภูมิและความชื้นของอากาศ
- วัดปริมาณน้ำฝน
- วัดความเร็วและทิศทางของลม
- ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
- เชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์ยังเวบไซต์ส่วนกลางโดย GPRS / GSM
- ส่งขอมูลเตือนภัยเพื่อแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านการป้องกันบรรเทาสาธาณภัย ทางเอสเอ็มเอส โดยทาง ศอ. มีการติดตั้งระบบในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 3 จุด
1) ดอยจิกจ้อง
2) ดอยกองมู
3) ดอยกิ่วลม ในอำเภอเมืองปาย
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
ความมั่นคง ภัยพิบัติ
การศึกษา - เรียนรู้ - สร้างความตระหนัก ว&ท
ชื่อผู้ผลิตผลงาน :
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ