เป็นการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน โดยพันธุ์ข้าวที่พัฒนาขึ้นทนต่อน้ำท่วมขังได้นานประมาณ 15 - 21 วัน และเมื่อทดลองปลูกในพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมฉับพลัน ในปีการเพาะปลูก 2547/2548 ที่จังหวัดหนองคายพบว่า สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วม ทนต่อน้ำท่วมและฟื้นตัวหลังน้ำท่วมได้ดีกว่าสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ปกติ โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 303 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ปกติเสียหายจากน้ำท่วมให้ผลผลิตเฉลี่ยเพียง 56 กิโลกรัมต่อไร่
ข้อมูลโดยสรุปของผลลัพธ์ / ประโยชน์ของผลงาน เป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมนาข้าวจากอุทกภัยที่เกิดเป็นประจำเกือบ ทุกปี โดยเฉพาะในพื้นที่อาศัยน้ำฝนทำให้ต้นข้าวที่ปลูกอยู่โดยทั่วไปตายหลังน้ำ ท่วมขังเพียงไม่กี่วัน ส่งผลให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นในระหว่างเกิดน้ำท่วม
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
เกษตรกรรม และปศุสัตว์
- การปลูก การเลี้ยง
- การแก้ไขปัญหาในด้านกระบวนการผลิต และโรค
- แก้ปัญหาผลผลิตข้าวตกต่ำจากอุทกภัย
การดำรงชีวิตของประชาชนทั่วไป
การประกอบอาชีพระดับครัวเรือน
สาขาผลงาน : พืช/เกษตร
ชื่อผู้ผลิตผลงาน :
- หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว (ไบโอเทค) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
- มหาวิทยาเกษตรศาสตร์
- กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
หน่วยงานเจ้าของผลงาน : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ