กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลงานเด่นกระทรวง ผลงานเด่น สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ โครงการผลิตช่างผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกลซีเอ็นซี (CNC : Computer Numerical Control) เบื้องต้น

โครงการผลิตช่างผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกลซีเอ็นซี (CNC : Computer Numerical Control) เบื้องต้น

พิมพ์ PDF

 

     ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตโดยเครื่องจักรกลซีเอ็นซีได้รับความนิยมมาก เนื่องจากเครื่องจักรกลซีเอ็นซี มีความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนได้แม่นยำและเที่ยงตรง ส่งผลให้มีการใช้งานเครื่องจักรกลซีเอ็นซีจำนวนมากในอุตสาหกรรมต่างๆ  เช่น อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเครื่องจักรการเกษตร อุตสาหกรรมชีวการแพทย์ และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนทั่วไป เป็นต้น แต่ผู้ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังมีความรู้น้อยเกี่ยวกับใช้งาน การดูแล และการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลซีเอ็นซี ส่งผลให้เครื่องจักรกลซีเอ็นซีส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐานสากล ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยเครื่องจักรกลซีเอ็นซีไม่ได้มาตรฐานและคุณภาพตามที่ต้องการ
     สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักด้านมาตรวิทยา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการ “ผลิตช่างผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกลซีเอ็นซี (CNC : Computer Numerical Control) เบื้องต้น” ขึ้น เพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตมีศักยภาพเพิ่มขึ้น และสามารถแข่งขันได้ในตลาดการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

 

 

 

วัตถุประสงค์
1.เพื่อผลิตช่างผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกลซีเอ็นซีเบื้องต้น
2.เพื่อให้ผู้ใช้งานในโรงงานทราบถึงปัญหาของเครื่องจักรกลซีเอ็นซีที่ใช้งานอยู่ มีวิธีปรับปรุงแก้ไขและบำรุงรักษาได้
3.เพื่อส่งเสริมให้เครื่องจักรกลซีเอ็นซีของภาคอุตสาหกรรมมีศักยภาพและได้มาตรฐาน

 

กิจกรรมและกลุ่มเป้าหมาย
1.   จัดการสัมมนากลุ่มย่อยเพื่อกำหนดรายละเอียดของเนื้อหาที่จะใช้ในการฝึกอบรม
2.   จัดการฝึกอบรม (Train the Trainer) ให้กับกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
       -  ครูช่าง
       -  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นต้น
3.   จัดการฝึกอบรม (Training) ให้กับช่างเทคนิค และบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.เป็นการสร้างงานให้กับช่างเทคนิค
2.บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมมีความรู้ที่จะใช้งานและดูแลเครื่องจักรกลซีเอ็นซีอย่างถูกต้อง อันทำให้ผลิตภัณฑ์ผลิตโดยเครื่องจักรมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และแข่งขันได้ในตลาดการค้า
3.ทำให้เครื่องจักรกลซีเอ็นซีมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน พร้อมผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้มีมาตรฐานสูงขึ้น เป็นการขยายตลาดในการรับผลิตชิ้นส่วนที่มีคุณสมบัติ (Specification) ได้สูงขึ้น อันเป็นการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง
4.เพิ่มจำนวนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเครื่องจักรกลซีเอ็นซีที่จะเข้าสู่ภาคการผลิตในอนาคต

 

 

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป