ปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลกได้มีการนำพลังงานนิวเคลียร์และรังสีมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศที่มีการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสีจะต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการด้านความปลอดภัยการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสี เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน และสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการนำพลังงานนิวเคลียร์และรังสีมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ และมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการด้านความปลอดภัยการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสี คือ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งนอกจากจะมีภารกิจหลักในการบริหารจัดการความปลอดภัยดังกล่าวแล้ว ยังเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการเผยแพร่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และรังสีให้เป็นที่แพร่หลายอีกด้วย
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ และรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จึงได้ดำเนินการสร้างความเข้าใจโดยการถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้องไปสู่ประชาชน ผ่านสื่อและกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ กิจกรรมเสวนา กิจกรรมค่ายเยาวชน ฯลฯ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากเรื่องของนิวเคลียร์เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ดังนั้น การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจจึงจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ เข้าใจในภารกิจของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติรวมทั้งเห็นถึงคุณค่าของพลังงานนิวเคลียร์และรังสีอย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์
2 เพื่อสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ โดยเฉพาะปฏิบัติงาน และการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี
3. เพื่อจัดกิจกรรมซึ่งส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่สามารถเข้าถึง กลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
4. เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์และทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน
กลุ่มเป้าหมาย
1. เยาวชน นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
2. ครู อาจารย์ นักวิชาการ
3. สื่อมวลชน
![]() |
![]() |
ขอบเขตการดำเนินกิจกรรม
1 การเสวนาเผยแพร่ความรู้ด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสี แก่ครู อาจารย์ นักวิชาการ
จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 1 วัน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งละ 100 คน
2 จัดค่ายเยาวชนนิวเคลียร์สัมพันธ์ แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัด
จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 3 วัน 2 คืน โดยมีผู้เข้าร่วมต่อครั้งจำนวน 80 คน
3. จัดตั้งแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ (มุมนิวเคลียร์) กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคอย่างน้อยจำนวน 4 แห่ง เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสี รวมทั้งการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติโดยมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์นิทรรศการต่าง ๆ ที่สามารถสื่อความเข้าใจ และดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้
4. การประชาสัมพันธ์กิจกรรมและจัดแถลงข่าวโครงการ ฯ ดำเนินการประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการ ฯ ผ่านสื่อต่าง ๆ รวมทั้งจัดการแถลงข่าวโครงการ ฯ
สถานที่และระยะเวลาการจัดกิจกรรม
ในปีงบประมาณ 2552 ปส. กำหนดจัดกิจกรรมขึ้น 4 ครั้ง ใน 4 จังหวัดทั่วประเทศ โดยเปลี่ยนการจัดกิจกรรมจากในโรงเรียนมัธยมศึกษาต่าง ๆ มาเป็นจัดกิจกรรมในมหาวิทยาลัยในจังหวัดต่างๆ เพื่อปรับรูปแบบกิจกรรมให้สามารถกระจายกลุ่มเป้าหมายได้กว้างยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ได้คัดเลือกมหาวิทยาลัยในจังหวัดที่ ปส. ยังไม่เคยจัดกิจกรรมโครงการฯ และเป็นสมาชิกเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีของหระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างเครือข่ายและต่อยอดการดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง ฯ โดย มหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย
ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดเลย
ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2552
ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ระหว่างวันที่ 7 – 10 เมษายน 2552
ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
ระหว่างวันที่ 4 – 7 มิถุนายน 2552
ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ลำปาง
ระหว่างวันที่ 4 – 7 กันยายน 2552
การดำเนินงานและจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1 การแถลงข่าวเปิดโครงการ วันที่ 17 กันยายน 2552
ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
- เชิญสื่อมวลชนร่วมแถลงข่าว จำนวน 41 แห่ง
- สื่อมวลชนร่วมกิจกรรมแถลงข่าว จำนวน 34 คน
- ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ จำนวน 3 ครั้ง
- ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุ จำนวน 18 ครั้ง
- ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ จำนวน 3 ครั้ง
- ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต จำนวน 2 ครั้ง
2 กิจกรรมโครงการครั้งที่ 1 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2552
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดเลย
- การเสวนา ผู้เข้าร่วม 117 คน
- ค่ายเยาวชน ผู้เข้าร่วม 87 คน
- เชิญสื่อมวลชน จำนวน 29 แห่ง
- สื่อมวลชนมาร่วมงาน จำนวน 8 แห่ง
- การประชาสัมพันธ์ตามสื่อ จำนวน 4 ข่าว
- การจัดตั้งมุมนิวเคลียร์ จำนวน 1 แห่ง
มอบแก่สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย
3 กิจกรรมโครงการครั้งที่ 2 วันที่ 7 – 10 เมษายน 2552
ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
- การเสวนา ผู้เข้าร่วม 103 คน
- ค่ายเยาวชน ผู้เข้าร่วม 92 คน
- เชิญสื่อมวลชน จำนวน 35 แห่ง
- สื่อมวลชนมาร่วมงาน จำนวน 7 แห่ง
- การประชาสัมพันธ์ตามสื่อ จำนวน 2 ข่าว
- การจัดตั้งมุมนิวเคลียร์ จำนวน 1 แห่ง
มอบแก่ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”
4 กิจกรรมโครงการครั้งที่ 3 วันที่ 4 – 7 มิถุนายน 2552
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
- การเสวนา ผู้เข้าร่วม 139 คน
- ค่ายเยาวชน ผู้เข้าร่วม 81 คน
- เชิญสื่อมวลชน จำนวน 49 แห่ง
- สื่อมวลชนมาร่วมงาน จำนวน 8 แห่ง
- การประชาสัมพันธ์ตามสื่อ จำนวน 10 ข่าว
- การจัดตั้งมุมนิวเคลียร์ จำนวน 1 แห่ง
มอบแก่ ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครภูเก็ต
5 กิจกรรมโครงการครั้งที่ 4 วันที่ 4 – 7 กันยายน 2552
ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ลำปาง จังหวัดลำปาง
- การเสวนา ผู้เข้าร่วม 323 คน
- ค่ายเยาวชน ผู้เข้ารวม 103 คน
- นิทรรศการวิทยาศาสตร์ ผู้เข้าร่วม 630 คน
- เชิญสื่อมวลชน จำนวน 38 แห่ง
- สื่อมวลชนมาร่วมงาน จำนวน 25 แห่ง
- การประชาสัมพันธ์ตามสื่อ จำนวน 20 ข่าว
- การจัดตั้งมุมนิวเคลียร์ จำนวน 1 แห่ง
มอบแก่ ม.เทคโนโลยีราชมงคล ลำปาง
![]() |
![]() |
ผลการดำเนินงาน
หลังจากการจัดโครงการฯ ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งการเสวนาและค่ายเยาวชนนิวเคลียร์สัมพันธ์มีระดับความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติ ต่อสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, พลังงานนิวเคลียร์ และการจัดกิจกรรม ในระดับต่างๆ ดังต่อไปนี้
7.1 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ มีระดับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสำนักงานฯ ในระดับ มาก – มากที่สุด ร้อยละ 85.89
7.2 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ มีทัศนคติที่ดีต่อสำนักงาน ฯ ในระดับ มาก – มากที่สุด ร้อยละ 88.19
7.3 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และรังสีดีขึ้น ในระดับมาก – มากที่สุด ร้อยละ 85.37
7.4 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ มีทัศนคติที่ดีต่อพลังงานนิวเคลียร์และรังสี ในระดับ มาก – มากที่สุด ร้อยละ 85.16
7.5 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจต่อการได้รับการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ในระดับมาก – มากที่สุด ร้อยละ 85.68
7.6 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และรังสี ในส่วนต่างๆ ได้แก่
ร้อยละ 40.45 ต้องการทราบข้อมูล ความปลอดภัยของพลังงานนิวเคลียร์และรังสี
ร้อยละ 36.28 ต้องการทราบข้อมูล การใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสี
ร้อยละ 18.29 ต้องการทราบข้อมูล โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
![]() |
![]() |
สรุปรวมจากการจัดกิจกรรมในปีงบประมาณ 2552 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นจำนวน 1,675 คน
ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม
การจัดกิจกรรม
- ต้องการให้เพิ่มระยะเวลาในการจัดกิจกรรมให้มากขึ้น
- ต้องการให้จัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนมาก ๆ
- ควรจัดหัวข้อ ความยากง่ายของเนื้อหาและเวลาให้เหมาะสมกัน
- ควรให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมให้มากขึ้น
- ควรเพิ่มพื้นที่ในการจัดเสวนาและค่าย ฯ จัดตามจังหวัด อำเภอ
- ควรจัดฝึกอบรมให้แก่ครูวิทยาศาสตร์ทุกคน ทุกระดับชั้น
- ต้องการให้โครงการดำเนินต่อไปเพราะได้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน
- ควรมีการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมให้มาก
เนื้อหาและสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรม
- ต้องการให้มีหนังสือเกี่ยวกับสำนักงาน ฯ ในส่วนของการซักถาม – ตอบ
- ควรเพิ่มสื่อในการอบรม ที่มีสีสันเร้าใจและสามารถสื่อข้อมูลให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
- ควรแสดงวิธีการ ข้อมูล สถานการณ์ เกี่ยวกับการป้องกันรังสี และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยใช้สิ่งที่อยู่รอบตัวเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
- ควรเพิ่มการบรรยายเรื่องการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสี
- ควรเพิ่มเวลาในการ ถาม - ตอบ
- ควรนำความรู้เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์บรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา
![]() |
![]() |