กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ดำเนินงานในโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา คุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ในสถานบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตั้งแต่ปี 2548 โดยมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์สมุนไพรและกระบวนการผลิต ที่เหมาะสมสำหรับผู้ผลิตระดับชุมชนให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มี คุณภาพได้ การให้บริการทดสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรและกระบวนการผลิต ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ"โดยมีผลิต ภัณฑท์ที่จัดอบรมการผลติ ไดแก่ สบู่ก้อน สบู่เหลว แชมพ ู ลูกประคบสมนุ ไพรแบบแห้ง ลูกประคบสมุนไพรสดบรรจุกระป๋อง เกลือขัดผิว โดยทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้ประกอบการ ชุมชนมีคุณภาพได้มาตรฐานที่ทางราชการกำหนด เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและเป็นการยกระดับสินค้าชุมชนโครงการถ่ายทอด เทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรฯ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 แล้ว และถูกจัดให้เข้าร่วมในแผนยุทธศาสตร์ "อยู่ดีมีสุข" ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การดำเนินงานมุ่งเน้นให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมที่สามารถประเมินได้ เช่น สินค้าชุมชนได้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ชุมชนมีรายได้เพิ่ม การเพิ่มมูลค่าสินค้า จึงได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ประกอบการชุมชนที่มีศักยภาพและเน้น กลุ่มชุมชนที่กรมวิทยาศาสตร์บริการเคยพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ไว้บ้างแล้วแต่ ยังไม่ได้การรับรอง มผช. เพื่อเน้นให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพ และกระบวนการผลิตที่ถูกต้องยิ่งขึ้นต่อไป เพื่อจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้มีคุณภาพดีได้รับมาตรฐาน มผช. นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าร่วมด้วย จึงเป็นการสนับสนุนส่งเสริมผู้ผลิตในระดับชุมชนให้มีศักยภาพในการแข่งขันได้ และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ "อยู่ดีมีสุข" ต่อไป
ประโยชน์ของผลงาน
จากโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต โดยจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ" ให้กับผู้ประกอบการชุมชน อาจารย์และนักเรียน และผู้สนใจทั่วไปในจังหวัดต่างๆ ทุกภาคของประเทศ จำนวน 20 ครั้ง หลักสูตรการอบรมได้เน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และ วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) ข้อกำหนดตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กระบวนการผลิตที่ถูกต้องและการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยใช้ ว & ท เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้มีความหลากหลายและมีคุณภาพดีตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ชุมชน จากการดำเนินงานกรมวิทยาศาสตร์บริการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้ ประกอบการชุมชน ให้ได้รับการรับรอง มผช. แล้ว 21 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ สบู่สมุนไพร 6 ผลิตภัณฑ์ แชมพูสมุนไพรและครีมนวดผมสมุนไพร 5 ผลิตภัณฑ์ ลูกประคบสมุนไพร 10 ผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้ประกอบการชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายสินค้าและทำให้ผู้ บริโภคมั่นใจในคุณภาพของสินค้าชุมชนเพิ่มขึ้นด้วย
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
อุตสาหกรรม : การผลิต
การผลิต : การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การพัฒนากระบวนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การลดค่าใช้จ่ายในการผลิต เป็นต้น
การแก้ไขปัญหาจากการผลิต : การปนเปื้อน มลภาวะจากกระบวนการผลิต
การค้าและบริการ
การดำรงชีวิตของประชาชนทั่วไป
การประกอบอาชีพระดับครัวเรือน
สาขาผลงาน : สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ชื่อผู้ผลิตผลงาน :
นางสุบงกช ทรัพย์แตง
นางจิตต์เรขา ทองมณี
นางสาวอารยา หงษ์เพชร