ประเทศไทยถึงแม้จะเป็นผู้ผลิตยางพาราอันดับ 1 ของโลกแต่มีการใช้ยางพาราทำเป็นผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศเพียง ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการผลิตยางพาราทั้งหมดส่วนที่เหลือส่ง ออกในรูป ของยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้นเมื่อเกิด ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ การใช้ยางพาราทั้งภายในประเทศและต่างประเทศลดลงมาก ปัญหาที่ตามมาคือยางพาราล้นตลาดและราคาตกต่ำ แม้ว่ารัฐบาลจะใช้เงินจำนวนมากซื้อยางพาราเพื่อช่วยพยุงราคาไปแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าชั่วคราวเท่านั้น หากมีการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้ยางพาราในประเทศให้มากขึ้น โดยการนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะเป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มของยางธรรมชาติให้สูงขึ้นและยัง เป็น การเพิ่มการจ้างงานและลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศในการส่งออกยางธรรมชาติให้ น้อยลงด้วย แนวทางแก้ปัญหาระยะยาวจึงควรสนับสนุนให้มีการนำยางธรรมชาติมาทำเป็น ผลิตภัณฑ์ยาง โดยส่งเสริมให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรมยางเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งช่วยโรงงาน อุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีอยู่แล้ว ทางด้านเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพให้โรงงานสามารถทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มีผลผลิตที่หลากหลายและมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานสากลสามารถแข่งขันได้
ผลิตภัณฑ์บล็อกยางปูพื้นและยางขวางถนนจำกัดความเร็วเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ยางธรรมชาติและยางรีเคลม(ยางรถยนต์รีไซเคิล) เป็นวัตถุดิบ 70-80 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพด้านการตลาดสูง ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ให้ความสนใจทำการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการ ผลิตบล็อกยางปูพื้นและยางขวางถนนจำกัดความเร็ว เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมยางที่สนใจนำไปผลิตในเชิง พาณิชย์ต่อไป
สาขาผลงาน : เทคโนโลยีวัสดุและเซรามิก
ชื่อผู้ผลิตผลงาน : นายพายับ นามประเสริฐ