1. ความเป็นมา ลักษณะการดำเนินงานและเทคโนโลยีที่ใช้
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.)ได้ดำเนินการเร่งผลักดันยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ไปสู่แผนยุทธศาสตร์ ระดับชาติตั้งแต่ปี 2549 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6พฤษภาคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในร่างแผนการปฎิบัติเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 - 2554 และกรอบงบประมาณ 4,326.80 ล้านบาท โดย สนช. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติให้เป็นอนุกรรมการและ เลขานุการของคณะอนุกรรมการบริหารจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีนวัตกรรมและมีแนวโน้มการเติบโตของ ตลาดพบว่าสินค้าในกลุ่มเครื่องบำรุงผิว และเครื่องสำอางที่ผ่านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลมีศักยภาพสูงในตลาดโลก ซึ่งกระแสดังกล่าวทำให้ทางผู้จัดงานแสดงสินค้าด้านเกษตรอินทรีย์ที่ใหญ่ที่ สุดในโลก (BioFach) ณ ประเทศเยอรมนี ต้องจัดอาคารแสดงสินค้าแยกออกมาเฉพาะภายใต้งาน Vivaness เพิ่มเติมจากสินค้าเกษตรอินทรีย์อื่นๆ ดังนั้น สนช. จึงเห็นแนวโน้มในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ที่ ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล ทำให้เกิดแนวความคิดร่วมกับบริษัทเชียงใหม่ ออร์แกนนิค แอนด์ สปา จำกัด ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ตลาดสากล
โดย สนช. ให้การสนับสนุนทางด้าน "นวัตกรรมดี..ไม่มีดอกเบี้ย" ในโครงการที่มีมูลค่าการลงทุนเริ่มต้น 12,200,000 บาทนับเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สบู่อินทรีย์ระดับประเทศ โดยจัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องสำอางรายแรกของประเทศไทยที่ได้รับการ รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล ซึ่งผลิตภัณฑ์จะปราศจากสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังปราศจากสี และกลิ่นสังเคราะห์ โดยผ่านกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ได้สบู่ที่มีคุณภาพสูง กล่าวคือจะไม่เกิดการแตกหัก และมีกลิ่นหอมอยู่ได้ประมาณ 2 ปี โดยไม่เกิดกลิ่นหืนเหมือนสบู่สมุนไพรทั่วไป
2. ผลการดำเนินงานหรือผลิตภัณฑ์ (output) รวมทั้งผลลัพธ์ (outcome) หรือผลกระทบ (impact) ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา เศรษฐกิจชุมชน ผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์หรือได้รับบริการ
บริษัท เชียงใหม่ ออร์แกนนิค แอนด์ สปา จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2548 โดยมีนโยบายที่จะทำการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการดูแลผิว และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในธุรกิจสปาที่เป็นเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด กล่าวคือ ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดจะเน้นการผลิตโดยใช้วัตถุดิบที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตร อินทรีย์เท่านั้น เริ่มจากการผลิตสบู่อินทรีย์เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดแรกของบริษัทฯ ซึ่งปัจจุบันสามารถส่งออกสบู่อินทรีย์จำนวนไม่ต่ำกว่า 30,000 ก้อนต่อเดือน โดยเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์สบู่ ก่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดในวงกว้างได้ในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมันอินทรีย์และสมุนไพรอินทรีย์ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อินทรีย์ของประเทศไทยภาย ใต้แผนการประชาสัมพันธ์ "Think Organic, Think Thailand"
3. การดำเนินงานในอนาคตของโครงการ/ผลงาน
คาดว่าภายในปี 2552 จะมียอดการส่งออกไม่ต่ำกว่า 60,000 ก้อนต่อเดือน โดยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์สบู่อินทรีย์ที่มีการรองรับด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ในนามของประเทศไทยสู่ตลาดโลก เช่น สหรัฐอเมริกา อิตาลี ญี่ปุ่น เป็นต้น
ชื่อผู้ผลิตผลงาน :
บริษัท เชียงใหม่ ออร์แกนนิค แอนด์สปา จำกัด