กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลงานกระทรวง ของขวัญปีใหม่คนไทย วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและสังคม โครงการการสร้างความมั่นใจในการใช้เครื่องวัดปริมาณ แอลกอฮอล์ในเลือดด้วยวิธีเป่าลมหายใจ

โครงการการสร้างความมั่นใจในการใช้เครื่องวัดปริมาณ แอลกอฮอล์ในเลือดด้วยวิธีเป่าลมหายใจ

พิมพ์ PDF

 

โครงการการสร้างความมั่นใจในการใช้เครื่องวัดปริมาณ

แอลกอฮอล์ในเลือดด้วยวิธีเป่าลมหายใจ

หลักการ/เหตุผล

     การตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจโดยใช้เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ เป็นวิธีที่ตรวจได้รวดเร็ว สามารถตรวจวัด ณ จุดตรวจได้เลยซึ่งจะตัดปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของระดับแอลกอฮอล์ในเลือดหากจุดตรวจอยู่ห่างจากจุดที่ต้องเจาะเลือดมากได้  โดยในกฎกระทรวงฉบับที่ 16 พ.ศ. 2537 ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 1(1) ได้กำหนดให้ใช้การตรวจแอลกอฮอล์จากลมหายใจเท่านั้น ถ้าไม่สามารถทดสอบจากลมหายใจได้จึงจะทดสอบจากเลือดและจากปัสสาวะตามลำดับ ดังนั้น จึงมีการผลิตและนำเข้าเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดด้วยวิธีเป่าลมหายใจ มาใช้สำหรับตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว  ดังนั้นคุณภาพของเครื่องวัดฯ ที่จะนำไปใช้บังคับในทางคดีต่อผู้ขับขี่ที่เมาสุราจึงควรจะต้องมีความเที่ยงและความแม่นในการอ่านค่า เพื่อให้มั่นใจว่าผลการวัดที่ได้มีความถูกต้อง 

แนวคิด

     มว. ได้ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการประกันความถูกต้องของเครื่องเป่าแอลกอฮอล์ และกำหนดวิธีเป่าที่ถูกต้อง เพื่อให้ค่าที่ได้จากการเป่าถูกต้องที่สุด และไม่เป็นข้อกังขาของผู้เป่าและเจ้าหน้าที่

วิธีการดำเนินการ

     1.  การให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจตามเส้นทางเดินของประชาชนในเรื่อง การประกันคุณภาพเครื่องเป่าแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยการฝึกอบรมดังนี้

         จังหวัด              วันที่

     สุราษฎร์ธานี     12 ธันวาคม 2557

     เชียงใหม่         15 ธันวาคม 2557

     พิษณุโลก         16 ธันวาคม 2557

     ขอนแก่น          17 ธันวาคม 2557

     นครราชสีมา      18 ธันวาคม 2557

     กรุงเทพมหานคร   ยังไม่ได้กำหนดวันคาดว่าอยู่ในช่วง วันที่ 22-24 ธันวาคม 2557

ในการอบรมจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าร่วมแห่งละ 70 นาย พร้อมนำเครื่องเป่าแอลกอฮอล์มาด้วย เพื่อตรวจสอบตามคำแนะนำของวิทยากร

    2.  จัดทำแผ่นพับและโปสเตอร์ให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และประชาชน เกี่ยวกับวิธีการเป่าที่ถูกต้อง

    3.  จัดแถลงข่าวในวันที่อบรมในกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมดังนี้

    3.1  ผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบด้านจราจร

    3.2  ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

    3.3  ผู้แทนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

สถานที่: 

     สุราษฎร์ธานี     12 ธันวาคม 2557

     เชียงใหม่         15 ธันวาคม 2557

     พิษณุโลก         16 ธันวาคม 2557

     ขอนแก่น         17 ธันวาคม 2557

     นครราชสีมา      18 ธันวาคม 2557

     กรุงเทพมหานคร (นครบาล)  ยังไม่ได้กำหนดวันคาดว่าอยู่ในช่วง วันที่ 22-24 ธันวาคม 2557

กลุ่มเป้าหมาย  : เจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชนทั่วไป

ระยะเวลาดำเนินการ  :  12 - 24 ธันวาคม 2557

ผลที่คาดว่าจะได้รับ    :

1.  เป็นการป้องปรามให้ประชาชนมีความระมัดระวังในการขับขี่โดยการไม่ดื่มแอลกอฮอล์

2.  ทำให้การวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจโดยใช้เครื่องเป่ามีความถูกต้องและยุติธรรมต่อทั้งประชาชน ผู้เป่า และเจ้าหน้าที่

3.  พัฒนาความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่และประชาชน

เจ้าของโครงการ : สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.)

ประสานเจ้าหน้าที่ : คุณประสิทธิ์ บุบผาวรรณา โทร. 02-577-5100, 081-734-3602

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป