กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลงานกระทรวง คุยกันฉันท์วิทย์ คุยกัน..ฉันท์วิทย์ สัญจร "ตามรอยนักวิทย์ : พิชิตการทดลองสุดเจ๋ง"

คุยกัน..ฉันท์วิทย์ สัญจร "ตามรอยนักวิทย์ : พิชิตการทดลองสุดเจ๋ง"

พิมพ์ PDF


 

    (15 พฤศจิกายน  2552)  สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับฝ่ายสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  จัดกิจกรรม  คุยกัน ..ฉันท์วิทย์  สัญจร  ในหัวข้อ  “ตามรอยนักวิทย์ :  พิชิตการทดลองสุดเจ๋ง”  โดยมี ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  เป็นเกียรติร่วมชมกิจกรรม  และวิทยากรรับเชิญ อาจารย์ฤทัย  จงสฤษดิ์  หัวหน้าฝ่ายสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สวทช.  ร่วมให้ความรู้  ณ  ร้านทรู  คอฟฟี่ ชั้น 2 สาขาสยามสแควร์  ซอย 3  มีผู้เข่าร่วมกิจกรรมกว่า  40 คน
 

 

        อาจารย์ฤทัย  จงสฤษดิ์   กล่าวว่า  นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลกหลายๆ คน เช่น  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์   ชาร์ลส์ ดาร์วิน  โทมัส อัลวา เอดิสัน  และสองพี่น้องตระกูลไรท์  ต่างมีความประทับใจในการประดิษฐ์ของเล่น  และตื่นเต้นกับการค้นพบในวัยเด็ก  จุดเริ่มต้นเล็กๆ ในวัยเยาว์ได้สร้างพลังความอยากรู้อยากเห็นและการค้นคว้าที่ยิ่งใหญ่กับมนุษยชาติต่อไป 

        เรื่องราววัยเด็กของเด็กชายไอน์สไตน์ที่ได้รับของขวัญจากคุณพ่อเป็นเข็มทิศที่มีเข็มชี้ไปทางทิศเหนือ เป็นปริศนาให้เด็กชายไอน์สไตน์สนุก ตื่นเต้นและสนใจในปริศนาความลึกลับของปรากฏการณ์ธรรมชาติ  จนเติบโตมาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการที่ปฏิวัติความรู้แก่มนุษยชาติ อาทิ   ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก  การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน  และทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
 


      ใครจะรู้ว่า เด็กชายชาร์ลส์ ดาร์วิน  ที่วันๆ ขลุกอยู่กับการปีนป่ายดูรังนก สังเกตพฤติกรรมแมลงและเหล่าสัตว์ต่างๆ  เดินเก็บสะสมก้อนหิน นับดอกไม้  เขี่ยไส้เดือน ต่อมาเขาจะกลายเป็นผู้ค้นพบแนวคิดการคัดเลือกตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นฐานของทฤษฏีวิวัฒนาการ ได้จุดประกายให้นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิวัฒนาการอื่นๆ อีกมากมาย
 


       แสงสว่างจากหลอดไฟ เสียงเพลงจากเครื่องบันทึกเสียง ทำให้เราย้อนนึกถึงบิดาแห่งนักประดิษฐ์ที่มีผลงานนับพันชิ้น เขาคือ  โทมัส อัลวา เอดิสัน  เมื่อตอนวัยเด็ก  เอดิสันเป็นเด็กที่ชอบประดิษฐ์และหากิจกรรมสนุกๆ มาเล่นกับเพื่อน  เช่น  ผสมสารให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี   เขาเคยไปแอบนั่งกกไข่แทนแม่ไก่เพื่อดูว่าจะฟักเป็นลูกเจี๊ยบสำเร็จหรือไม่  

 


 สองพี่น้องตระกูลไรท์ที่ทำให้ความฝันของการบินอยู่บนท้องฟ้าเป็นจริงได้ จากการประดิษฐ์เครื่องบินลำแรกของโลก  ในสมัยเด็กๆ  สองพี่น้องชอบเล่นของเล่นที่มีการเคลื่อนที่ได้  เช่น  ขี่จักรยาน  เล่นลูกข่าง  และเล่นว่าว  การเล่นดังกล่าวทำให้เขาได้เติบโตมาเป็นนักประดิษฐ์ที่สร้างเครื่องบินที่สามารถเคลื่อนที่ในอากาศได้
 ฝ่ายสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. ได้นำกิจกรรมการทดลองเพื่อย้อนรำลึกนักวิทยาศาสตร์และจุดประกายการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ ผ่านการทดลองดังนี้ 
 
  ไขปริศนาการบิน  ประดิษฐ์ว่าวน้อยลอยลมและคอปเตอร์กระดาษ  น้องๆ จะได้เรียนรู้หลักการลอยตัวจากว่าว ที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง โดยการลอยตัวของว่าวจะมีแรงที่เข้ามาเกี่ยวข้อง  ทั้งหมด 3 แรงคือ 1. แรงที่เกิดจากน้ำหนักว่าว    2. แรงที่เกิดจากลมซึ่งเป็นตัวช่วยยกว่าวให้ลอยขึ้นและเอียงไปด้านหลัง และสุดท้าย คือ แรงดึงจากเชือกซึ่งจะช่วยในการดึงรั้งว่าวไม่ให้ถอยหลังมากเกินไป และที่สำคัญยังเป็นตัวที่ผู้เล่นใช้กำหนดทิศทางของว่าว ง่ายเท่านี้น้องๆก็จะได้ว่าวที่ประดิษฐ์ขึ้นเองไว้ใช้เล่นรับลมหนาว  ส่วนคอปเตอร์กระดาษ เป็นการลอกเลียนแบบการลอยตัวของลูกยางขณะที่ร่วงลงมาจากต้น โดยอาศัยหลักการของเรื่องแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง แรงที่ 1 เกิดจากน้ำหนักของคอปเตอร์กระดาษเอง (รวมกับน้ำหนักของคลิปหนีบกระดาษ) แรงที่ 2 แรงยกมาจากแรงต้านการโน้มถ่วงโลก จากปีกของคอปเตอร์ ทำให้คอปเตอร์กระดาษของน้องๆ สามารถลอยตัวอยู่ในอากาศได้ ส่วนของใครจะลอยอยู่ได้นานกว่ากันนั้น น้องๆ ลองออกแบบดูว่า เราจะดัดแปลงคอปเตอร์ของเรายังไง ให้ลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด
 วัสดุ/อุปกรณ์  ว่าวน้อยลอยลม
- ไม้ไผ่ สำหรับทำโครงว่าว
- กระดาษว่าว
- เชือกผูกว่าว
- กาว
- กรรไกร
 วิธีการทดลอง
- เตรียมโครงว่าวจากไม้ไผ่ จากนั้นนำกระดาษว่าวมาตัดตามรูปแบบว่าว โดยตัดกระดาษให้มีขนาดใหญ่กว่าโครงว่าวเล็กน้อย (เผื่อไว้สำหรับติดกาว)
- ติดกระดาษว่าวเข้ากับโครงว่าว
- เตรียมส่วนหางว่าวโดยตัดกระดาษว่าเป็นเส้นๆ ขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวตามความเหมาะสม ติดส่วนหางว่าวเข้ากับตัวว่าว
- นำเชือกว่าวมาผูกติดกับหางว่าว
- ตกแต่งว่าวให้สวยงามตามต้องการ
 
 วัสดุ/อุปกรณ์  การทำคอปเตอร์กระดาษ
- กระดาษสำหรับทำคอปเตอร์
- กรรไกร
- คลิปหนีบกระดาษ
 วิธีการทดลอง
- ตัดกระดาษตามลอยประที่ 1
- วัดระยะจากรอยประลงมาประมาณ 2 cm
- ใช้กรรไกรตัดตามรอยประที่ 2
- ทำส่วนปีก โดยพับสวนสีเขียวเข้มลงมาข้างหน้า และส่วนสีเขียวอ่อน                                                     ลงไปข้างหลัง
- พับส่วนแถบสีขาวเข้าไปข้างหลัง
- ติดคลิปหนีบกระดาษ บริเวณด้านล่าง

  นักชำแหละต้นไม้พิสดาร  ชำแหละผ่าตัดต้นไม้และพิสูจน์ว่าต้นไม้กินแมลงได้อย่างไร  พืชกินแมลง คือ พืชที่มีการสังเคราะห์ด้วยแสงเหมือนกับพืชทั่วไป แต่มีการพัฒนาวิธีการดูดซึมธาตุอาหารโดยการดักจับแมลง และย่อยสลายด้วยกระบวนการทางเคมี จากนั้นจึงดูดซึมสู่ลำต้นต่อไป คุณสมบัติของพืชกินแมลง คือ มีความสามารถในการดูดซึมธาตุอาหารจากสัตว์ที่ตายแล้ว และมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างชัดเจนบางอย่าง โดยมีเป้าหมายหลักในการล่อแมลง, จับ และย่อยเหยื่อ
  วัสดุ/อุปกรณ์
- ต้นไม้กินแมลง
- ถุงมือ
- มีด
  วิธีการทดลอง
- สังเกตุลักษณะภายนอกของต้นไม้กินแมลง
- สังเกตลักษณะภายในใช้อุปกรณ์ผ่าหรือกรีดต้นไม้ในส่วนต่างๆ และสังเกตุ

  หลอดไฟเรืองแสงจากผลไม้  เป็นการการผลิตไฟฟ้าจากผลไม้หรือเรียกอีกอย่างว่า “เซลล์อิเล็กโทรไลต์” ซึ่งเกิดได้จากการแตกตัวของไอออนในผลไม้ ทำให้เกิดเป็นเซลล์ไฟฟ้าได้ เมื่อเราต่อกับหลอด LED ซึ่งกินไฟไม่มากก็จะทำให้ไฟฟ้าจากผลไม่ทำให้หลอด LED ติดได้ โดยผลไม้แต่ละชนิดจะให้ไฟฟ้าได้ไม่เท่ากัน การต่อให้ได้ไฟฟ้ามากที่สุดควรจะต่อผลไม้ หลายๆลูก แบบขนานจะให้ไฟมากที่สุด และเทคนิคมีอยู่ว่า น้องๆ ควรขัดแผนทองแดงและสังกะสีให้ดีๆ เพื่อที่จะได้นำกระแสไฟฟ้าได้ดีค่ะ
  วัสดุ/อุปกรณ์
- หลอด LED ขนาดเล็ก
- แผ่นทองแดง
- แผ่นสังกะสี
- สายไฟปากคีบ
- ผลไม้ที่จะใช้สำหรับเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้า เช่น เลม่อน มะนาว แอปเปิ้ล หรือผลไม้ชนิดอื่นๆที่ต้องการทดสอบ
 วิธีการทดลอง
- เตรียมแผ่นทอแดงและแผ่นสังกะสีโดยการตัดแผ่น ให้มีขนาด 1.5 x 3  cm
- นำแผ่นทองแดงและแผ่นสังกะสีที่ตัดแล้วมาเสียบเข้ากับผลไม้สำหรับทำเป็นขั่ว ดังรูป
- ใช้สายไฟปากคีบหนีบขั่วต่อผลไม้
- นำหลอด LED มาต่อเข้ากับวงจรที่ได้     ****(อะอะ... สังเกตดีๆนะค่ะ ว่า การต่อเราจะให้แผ่ทองแดงเป็นขั่วบวก ส่วน แผ่นสังกะสีเป็นขั่วลบค่ะส่วนหลอด LED ให้สังเกตที่ ขาค่ะ ด้านสั้นสำหรับต่อกราวด์  ส่วนด้านยาวสำหรับต่อไฟค่ะ )
- ลองกับผลไม้ชนิดอื่นอีกแล้วสังเกตดูซิว่า ผลไม้ชนิดไหนทำให้ไฟติดได้บ้างน๊า......?

  ประดิษฐ์เข็มทิศทำเองได้..ง่ายจัง  เข็มทิศเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการเดินทาง เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการหาทิศทาง ประกอบกับการดูแผนที่ คุณสมบัติที่สำคัญของเข็มทิศ คือ เข็มที่ชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ เนื่องมาจากแรงของสนามแม่เหล็กโลก
  วัสดุ/อุปกรณ์
- ฐานเข็มทิศ
- สกรู
- แผ่นแม่เหล็กรูปเข็ม
- กรรไกร
- กาว
 วิธีการประดิษฐ์
- ประกอบฐานเข็มทิศ
- ประกอบแผ่นแม่เหล็กเข้ากับตัวฐาน โดยใช้สกรูยึดติดไว้ตรงกลาง และให้เข็มหมุนได้อย่างอิสระ

ข้อมูลโดย :  ฝ่ายสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (สวทช.)
ติดตามข่าวสารการจัดกิจกรรม คุยกัน..ฉันท์วิทย์  ของกลุ่มงานประชาสัมพันธ์
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   ได้ที่   http://www.most.go.th/scitalk


ผู้เขียนข่าว  :  กมลวรรณ  เอมสมบูรณ์  โทร. 0 2354 4466  ต่อ  199,118,120
ที่มา  :  กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
           Call Center  1313
 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป