กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลงานกระทรวง คุยกันฉันท์วิทย์ คุยกัน..ฉันท์วิทย์ กับ เทคโนโลยีสุญญากาศเพื่ออุตสาหกรรมไทย

คุยกัน..ฉันท์วิทย์ กับ เทคโนโลยีสุญญากาศเพื่ออุตสาหกรรมไทย

พิมพ์ PDF

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังการเสวนา     คุยกัน..ฉันท์วิทย์  เรื่อง  “เทคโนโลยีสุญญากาศเพื่อภาคอุตสาหกรรมไทย” ในวันศุกร์ที่  24  กรกฎาคม  2552  เวลา 13.00–15.30  น. ณ ห้องโถง  ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนพระรามที่ 6  เขตราชเทวี  กรุงเทพมหานคร

 

            การจัดเสวนาฯ เรื่อง “เทคโนโลยีสุญญากาศเพื่อภาคอุตสาหกรรมไทย” เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าและพัฒนาการเทคโนโลยีสุญญากาศ ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ความร่วมมือและงานบริการทางเทคนิคแก่ภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสุญญากาศ ในขบวนการผลิต และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสุญญากาศต่อผู้ประกอบการหรือหน่วยงานด้านอุตสาหกรรม ทั้งภาครัฐและและเอกชน โดยภายในงานได้นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจดังนี้คือ
·       เทคโนโลยีสุญญากาศในปัจจุบัน และการประยุกต์ใช้งาน
·       งานวิศวกรรมย้อนรอยอุปกรณ์และชิ้นส่วนของระบบสุญญากาศ ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน
·       งานบริการต่อภาคอุตสาหกรรมในการแก้ปัญหาทางเทคนิคของระบบสุญญากาศในขบวนการผลิต
·       การสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการปรับปรุงระบบสุญญากาศในขบวนการผลิต
·       การจัดการฝึกอบรมเทคโนโลยีสุญญากาศแก่ภาคอุตสาหกรรม
·       ประเทศไทยควรจะมีบริษัทผลิตชิ้นส่วนสุญญากาศ-ระบบสุญญากาศหรือไม่

พบกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ  ดร.ประยูร  ส่งสิริฤทธิกุล  หัวหน้าฝ่ายระบบลำเลียงแสง   นายสำเริง  ด้วงนิล  หัวหน้าฝ่ายเทคนิคและวิศวกรรม  นายสุวรรณ  บุญสุยา  วิศวกร  จากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และ นายบุญรักษ์  ถาวรรุ่งโรจน์  ผู้จัดการอาวุโส บริษัท องค์การเภสัชกรรม จำกัด   


กำหนดการ
เสวนา คุยกัน..ฉันท์วิทย์
“เทคโนโลยีสุญญากาศเพื่ออุตสาหกรรมไทย”
วันศุกร์ที่ 24  กรกฎาคม 2552 เวลา 13.00 -15.30 น.
ณ  ห้องโถงชั้น  1  อาคารพระจอมเกล้า  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
------------------------------


13.00 – 13.30 น.       ลงทะเบียน


13.30 – 13.45 น.       กล่าวเปิดการเสวนา
                                    โดย   ดร.สุจินดา  โชติพานิช   ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

13.45 – 15.00 น.       เสวนาคุยกัน...ฉันท์วิทย์  “เทคโนโลยีสุญญากาศเพื่ออุตสาหกรรมไทย”

                              · เทคโนโลยีสุญญากาศในปัจจุบัน และการประยุกต์ใช้งาน

                                 โดย  ดร.ประยูร ส่งสิริฤทธิกุล  หัวหน้าฝ่ายระบบลำเลียงแสง  สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

                              · เทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนสุญญากาศของไทย

                                โดย  นายสำเริง ด้วงนิล   หัวหน้าฝ่ายเทคนิคและวิศวกรรม สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

                              · เทคนิคการทดสอบรอยรั่วระบบสุญญากาศ สำหรับภาคอุตสาหกรรม

                                โดย  นายสุพรรณ บุญสุยา  วิศวกร สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

                              · นายบุญรักษ์  ถาวรรุ่งโรจน์ ผู้จัดการอาวุโส บริษัท องค์การเภสัชกรรม  จำกัด

15.00 - 15.30 น.        ตอบข้อซักถามและรับฟังข้อคิดเห็น

15.30  น.                   ปิดการเสวนา

 

ยินดีต้อนรับทุกท่านและสำรองที่นั่งได้ที่  02-354 4466  ต่อ  118  โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทร  02354 4466 ต่อ 118 โทรสาร 0 2354 3763

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป