กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลงานกระทรวง คุยกันฉันท์วิทย์ เสวนาคุยกัน..ฉันท์วิทย์ “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านทรัพยากรน้ำและด้านทรัพยากรป่าไม้”

เสวนาคุยกัน..ฉันท์วิทย์ “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านทรัพยากรน้ำและด้านทรัพยากรป่าไม้”

พิมพ์ PDF

 

   (7 พฤษภาคม 2553) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) สสนก.จัดเสวนา คุยกัน..ฉันท์วิทย์ เรื่อง “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านทรัพยากรน้ำและทรัพยากรป่าไม้” ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า  สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.รอยล  จิตรดอน  ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) และพลเอกสุรินทร์  พิกุลทอง ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ร่วมให้ความรู้ มีผู้ร่วมงานกว่า  70 คน  

 
   ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพณิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กล่าวว่า  การเสวนา คุยกัน..ฉันท์วิทย์  ในครั้งนี้เป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมหามงคลบรมราชาภิเษกปีที่ 60  จึงได้นำเรื่องการบริหารจัดการน้ำในชุมชน ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ สสนก. เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการบริหารจัดการน้ำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด  และได้นำโครงการบ้านลิ่มทอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์   ไปเป็นโครงการตัวอย่างของชุมชนที่เข้มแข็งในการบริหารจัดการน้ำด้วยตัวเอง จนกระทั้งมูลนิธิโค้กให้การสนับสนุนเกี่ยวกับบริหารจัดการน้ำหรือการแก้ไขปัญหาน้ำ  เพราะน้ำมีความสำคัญต่อการเกษตรและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้นกระทรวงวิทยาศาสตร์  จึงได้ดำเนินการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ  ในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง  ทำให้ชาวบ้านไม่ต้องไปทำงานต่างถิ่น  อยู่กับครอบครัวทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่น  มีงาน มีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี


   พลเอกสุรินทร์  พิกุลทอง  กล่าวว่า สิ่งที่เราควรจะทำ คือ ทำงานถวายพระองค์ การนำแนวคิดของพระองค์ท่านไปปฏิบัติ  ผู้ที่จะได้รับประโยชน์ก์คือ ประชาชน เราต้องเข้าใจทั้งดิน ป่าและน้ำ จุดเริ่มต้นที่เราน้อมนำพระราชดำริเรื่องการนำน้ำมาใช้กับชุมชน  อาทิ โครงการแก้มลิง หลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้น2 และ 3 เราจะทำได้อย่างไร ใช้ทุนแค่ไหน และชาวบ้านจะดูแลต่อไปอย่างไร  ผลที่ได้รับสุดท้ายพบว่าชาวบ้านเริ่มจัดการน้ำเป็น รายได้ก็เพิ่มขึ้น 5 เท่า และเงินลงทุนน้อยกว่าปกติ


   โครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แบ่งได้ 6 ด้าน คือ ด้านน้ำ ด้านดิน  ด้านเกษตร ด้านพลังงานทดแทน ด้านป่าไม้ และด้านสิ่งแวดล้อม ทั้ง 6 กลุ่ม จะประมาณ 4,000 กว่าโครงการ  70 % เป็นโครงการน้ำและป่า พระองค์ท่านมีพระปรีชาสามารถและมองการไกลกับพสกนิกรชาวไทย เราจะสืบสานความคิดของในหลวงได้อย่างไร  จะว่าหน่วยงานของเราไม่ทันในหลวงก็ได้ ที่ว่าไม่ทันความคิดหรือแนวพระราชดำริของในหลวงเลย  วันนี้บ้านเราเหมือนจะเป็นวิกฤต  แต่เป็นโอกาสที่ประชาชนกับราชการต้องร่วมมือกันดำเนินการตามแนวพระราชดำริพระองค์ท่าน  เพื่อสืบสานแนวพระราชดำริที่จะให้ประเทศชาติของเรามั่นคงต่อไปโดยเฉพาะ ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งทั่วโลกกำลังจะขาดแค้นต่อไปในอนาคต คือ น้ำ  ผมเชื่อว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  เป็นองค์กรสำคัญอันหนึ่งที่จะช่วยเรื่องน้ำได้  ยกตัวอย่างชุมชนบางบัว ที่บางเขน  ชาวชุมชนบางบัวได้รวมกลุ่มกันแก้ปัญหาเรื่องน้ำ ณ วันนี้คลองบางบัวน้ำสะอาดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีความยังยืนขึ้น   องค์กรชุมชนกับน้ำและวิทยาศาสตร์ขาดกันไม่ได้ แต่องค์กรชุมชนไม่มีวิทยาศาสตร์เข้าช่วยก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ต้องเกื้อกูซึ่งกันและกันไม่เช่นนั้นก็ไม่เกิดผล  ขณะนี้ผู้มาดูงานที่บางบัว 20 ประเทศ  ที่ห้วยทราย จ. เพชรบุรีเป็นทะเลทรายไปแล้ว  ในหลวงทรงตรัส “ฉันขอคืนฉันจะทำให้ดู” ขณะนี้โครงการพระราชดำริที่ห้วยทราย เป็นแหล่งเกษตร เป็นแหล่งทำน้ำ และเป็นแหล่งให้ความรู้กับทุกภาคส่วน


   พลเอกสุรินทร์ กล่าวว่า  ปัจจุบันประเทศไทยมีลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำใหญ่ๆ 5-6 ลุ่มน้ำ อาทิ ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำวัง  ลุ่มน้ำยม  ลุ่มน้ำน่าน  ส่วนลุ่มน้ำที่ยังไม่มีการบริหารจัดการลุ่มน้ำคือ ลุ่มน้ำยม  เมื่อน้ำจากป่าเขาไหลลงมาก็จะทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้  กรมชลประธานได้สำรวจเรื่องนี้มา เมื่อ 29 ปีที่แล้ว  สมควรที่จะต้องมีอ่างเก็บน้ำหรือที่เก็บน้ำเอาไว้ตอนบนแต่ถูกต่อต้านมาตลอด  จากเดิมพื้นที่ทั้งหมดทั้งอ่างเก็บน้ำและพื้นที่ที่จะอพยพผู้คนจำนวน 41, 000 ไร่  ปัจจุบันป่าหายไป 31,000 ไร่แล้ว การที่สร้างเขื่อนไม่สามารถรักษาป่าไว้ได้  อีกไม่กี่ปีข้างหน้าป่าก็จะหมดไปมากกว่าพื้นที่อ่างเก็บน้ำที่เราต้องใช้   เพราะฉะนั้นจะแก้ปัญหานี้อย่างไร จะแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ทั้งสภาพคนสภาพป่าสภาพภูมิประเทศตลอดจนต้นน้ำลำธารได้อย่างไร เราไม่คิดเพียงจะสร้างอ่างอย่างเดียว  มีป่าต้นน้ำพอไหมที่จะซับน้ำไม่ให้ดินถล่มลงมาเต็มอ่าง ถ้าข้างบนไม่มีต้นไม้เลย ไม่กี่ปีอ่างก็เต็มไปด้วยดิน ถ้าสร้างอ่างเก็บน้ำแล้วชาวบ้านเดือดร้อน  คนที่ต้านการสร้างเขื่อนทั้งหลาย ท่านกินน้ำจากเขื่อนทุกคน  ณ วันนี้ ท่านกินน้ำจากเขื่อน ศรีนครินทร์  เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ถ้าท่านต่อต้านการสร้างเขื่อนท่านต้องไม่กินน้ำเพราะน้ำทั้งหมดมาจากเขื่อน  

   ดร. รอยล  จิตรดอน ผอ.สสนก. กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงโปรดที่จะทำพิพิธภัณฑ์ชีวิต คือทรงที่จะทำตัวอย่างพิสูจน์ให้เห็นจริง นั้นคือที่ไปที่มาของศูนย์ศึกษาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จากที่พื้นที่สกลนครตอนนี้ประกาศเป็นภัยแล้งทุกอำเภอแต่จากที่ลงพื้นที่   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำอ่างเก็บน้ำที่สกลนครหลายแห่ง มีระบบคลองส่งน้ำเชื่อมต่อกันหมด พระองค์ท่านรับสั่งในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำจะทรงรับสั่งถามถึงโครงการที่ 30-40 ปี ที่แล้ว ว่ามันเป็นอย่างไร ในขณะซึ่งอย่างเรา เราจะพูดถึงโครงการใหม่ๆ เดินไปข้างหน้าอย่างเดียวไม่เรี่ยวหลังแต่พระองค์จะทรงรับสั่งตลอดถึงภาพการเปลี่ยนแปลงว่าถ้าเปลี่ยนไปแล้วฝนเปลี่ยนอย่างนี้จะบริหารอย่างไร  นอกจากนั้นยังคงรับสั่งโครงการที่ผมจะยกตัวอย่างคือเขตป่าชุมชน ในขณะที่อีสานแล้งหมด สกลนครใต้อ่างลงมาก็มีระบบน้ำพอน้ำไม่พอแต่พอสำหรับทำส่วนพริก ในขณะที่อยู่ในสกลนครน้ำไม่พอทำนาก็เรียนรู้ที่จะทำพริกรายได้ดีกว่านา สิ่งที่พระองค์ท่านอยากทำจริงๆ จากศูนย์ศึกษาทำอย่างไรจะเกิดขึ้นจริง เพราะฉะนั้นความสำเร็จศูนย์ศึกษามีศูนย์ศึกษาที่ภูพานความสำเร็จที่ตามมา คือชีวิตที่ดีขึ้นของชาวสกลนคร สิ่งที่ชลประธานทำถวายพระองค์ท่าน จากเขื่อนน้ำอูนไหลลงมาแล้วต่อด้วยคลองลอย นี้คือแนวคิดการทำท่อที่ถูกต้องโดยใช้แรงโน้มถ่วง ของอย่างนี้คือพระองค์ท่านทำให้กับบุคลที่อยู่ในชนบท ศูนย์ศึกษาทุกศูนย์ประสบความสำเร็จหมดแต่คนละด้าน เขาหินซ้อนประสบความสำเร็จเรื่องฟื้นป่าขึ้นมาทำพื้นที่ ที่กลายเป็นทะเลทรายมาเป็นป่าให้กลายเป็นดิน ห้วยทรายแทบจะเป็นทะเลทรายทั้งหมดเลยใช้แฝกกับขึ้นมาเกิดระบบอ่างควง ห้องแล็บของพระองค์ท่านอยู่ที่ศูนย์ศึกษาแต่ประโยชน์อยู่ที่ชาวบ้าน เขาห้วยห้องใคร่พิสูจน์ให้เห็นว่าดินป่าน้ำ ต้องพัฒนาด้วยกัน  การปลูกป่าโดย การใช้ฝายชะออความชุมชื่น การทำให้ป่าไม่ใช่แค่อนุรักษ์ เป็นป่าใช้งาน  โครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ยหลังจากทำตามแนวพระราชดำริของพระองค์ท่านปลูกป่าชายเลน บำบัดน้ำเสียเสร็จ สิ่งที่พบก็คือว่าแผ่นดินงอก เพราะฉะนั้นใครจะบอกว่าประเทศไทยมีปัญหาน้ำทะเลขึ้น ชายฝั่งถูกกัดเซาะ เราทำลายแนวกันชนของชายหาดคือป่าชายเลน  สิ่งที่จังหวัดเพชรบุรีทำโครงการแหลมผักเบี้ย แผ่นดินงอกไปกว่า 700 กว่าไร่  จะเห็นได้ว่าทรงตามโดยตลอดและก็ทำจริง ให้เห็นจริง ในวันท่านประทับอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช  มีทีมงานของพระองค์ท่านไปไล่ถ่ายรูปทำลงบนแผนที่ถวายรายงายโดยตลอด รายงานทางอินเตอร์เน็ตก็ ยังถวายรายงานอยู่ตลอด ท่านทรงเป็นห่วงขณะติดตามความเร็วของลม ความเร็วของลมที่เพชรบุรี สูงขึ้นถึง 70 % กิโลเมตรต่อชั่วโมงสูงกว่าที่เคยเป็นมา


   หัวใจของการจัดการน้ำโดยตรงชุมชนต้องเป็นคนจัดการเป็นเจ้าของโครงสร้างและต้องมีข้อมูลเพราะนั้น สิ่งที่เราทำการบันทึกข้อมูลแบบแนวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนมาตลอดแล้วจากข้อมูลจากแผนที่นำมาใช้บริหารน้ำได้สำเร็จ  และทุกครั้งทีเราเกิดปัญหาเราไม่เคยดูย้อนกลับมาดูตัวเราเอง กลับไปดูที่ศูนย์และไม่เคยย้อนกลับไปดูแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเลย เราต้องจัดการน้ำให้พอดี การหาความพอ การหาความสมดุล เป็นสิ่งที่พระองค์ท่านสอนเรามาโดยตลอด

ท่านสามารถติดตามข่าวสาร  การจัดเสวนา คุยกัน..ฉันท์วิทย์  ของกลุ่มงานประชาสัมพันธ์
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ที่   http://www.most.go.th/scitalk

สนับสนุนข้อมูลโดย :  สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) สสนก.

ผู้เขียนข่าว : กมลวรรณ  เอมสมบูรณ์ 

ผู้เผยแพร่ข่าว  :  ศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ 

ภาพโดย : ชัชวาลย์ โบสุวรรณ 

สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป