กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลงานกระทรวง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การจัดการทรัพยากรน้ำ โครงการประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ

โครงการประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ

พิมพ์ PDF

ความเป็นมา

          การจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความเข้มแข็งและความมั่นคง ในการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยมีชุมชนมากกว่า ๖ หมื่นชุมชน จึงนับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสนับสนุนชุมชน
ให้มีการจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพและประสานความร่วมมือเป็นเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำในระดับชุมชน
การสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีระบบบริหารจัดการตามแนวพระราชดำริ ที่นำไปสู่การพึ่งพาตนเองด้านทรัพยากรน้ำ รวมถึงเชื่อมโยงแนวทางการบริหารจัดการน้ำไปสู่ชุมชนอื่นๆ จนเกิดเป็นเครือข่ายการทำงานที่มีกระบวนการคิด ไตร่ตรอง ตัดสินใจ และลงมือทำร่วมกัน ภายใต้การบริหารจัดการของชุมชน และเพื่อนบ้าน รวมทั้งประสานการพัฒนากับหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบทั้งในระดับชุมชน และระดับประเทศ เพื่อไปสู่แนวทางการพัฒนาการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนได้ในที่สุด
ในปี พ.ศ. 2550 สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เริ่มต้นจัดงาน “ประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550” รับรางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นับเป็นจุดเริ่มต้นการเกิดเครือข่ายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ซึ่งจัดมาแล้ว 3 ครั้ง  คือ ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2550 จำนวน 18 ชุมชน ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2551  และครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2552 จำนวน 18 ชุมขน ซึ่งมีชุมชนรวมทั้งสิ้น 54 ชุมชน ที่ขยายผลเกิดเป็นชุมชนแม่ข่าย – เครือข่ายที่น้อมนำแนวพระราชดำริไปปรับใช้ จนประสบความสำเร็จในการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน


โครงการพัฒนาระบบจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อความ�/a> from msciences on Vimeo.

 

ประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ จะจัดให้มีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2553 ก็จะเป็นการขยายผลสำเร็จของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน และขยายเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนให้เพิ่มขึ้นต่อไป

วัตถุประสงค์

          1)    เพื่อให้เกิดบทเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ
          2)    เพื่อให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างชุมชน
          3)    เพื่อให้เกิดเครื่อข่ายความร่วมมือเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน

หลักการ

          1)    หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เสนอชุมชนที่เคยมีความร่วมมือ และมีความพร้อมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน หรืออาจเป็นชุมชนที่หน่วยงานได้พบเห็นหรือทราบว่ามีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ เข้าร่วมประกวด
          2)    จำนวนชุมชนที่เข้าร่วมการประกวด ไม่เกิน 20 ชุมชน

คุณสมบัติของชุมชนที่เข้าประกวด

          1)    ชุมชนได้น้อมนำแนวพระราชดำริมาใช้ในการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
          2)    การจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนโดยการพึ่งตนเองของชุมชนเป็นหลัก
          3)    ชุมชนมีการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 ปี
          4)    มีเครือข่าย (ความรู้ ความร่วมมือ และปฏิสัมพันธ์) ที่ชัดเจนทั้งภายในและภายนอกชุมชน
          5)    มีศักยภาพในการขยายผลความสำเร็จของชุมชนไปยังชุมชนข้างเคียง

เกณฑ์การพิจารณาและประเมินผล

    การพิจารณาและประเมินผลชุมชนที่เข้าประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ครั้งที่ 4 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

แผนผังการพิจารณาและประเมินผลชุมชน

          1. การคัดเลือก
              หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ที่ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน หรือที่เกี่ยวข้อง เสนอชุมชนที่เคยมีความร่วมมือ และมีความพร้อมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน หรืออาจเป็นชุมชนที่หน่วยงานได้พบเห็น หรือทราบว่ามีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดส่งข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กำหนด พร้อมรายงานผลการดำเนินงานและรูปภาพประกอบ เพื่อเป็นข้อมูลให้คณะทำงานพิจารณาคัดเลือกชุมชน ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาและประเมินผล ดังนี้
               1) ชุมชนที่ถูกเสนอชื่อเข้าร่วมการประกวด จะแบ่งเป็น 4 ภาค คือ
                    - ภาคเหนือ
                    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                    - ภาคกลาง และภาคตะวันออก
                    - ภาคใต้
               2) ชุมชนที่ถูกเสนอชื่อ จะนำเสนอผลดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน เพื่อให้คณะทำงานพิจารณาคัดเลือกชุมชนเข้ารอบ เพียง 20 ชุมชน (ภาคละ 5 ชุมชน)
                   เกณฑ์การคัดเลือก

ลำดับที่ รายละเอียด คะแนนเต็ม
(1) สภาพน้ำในชุมชน และปัญหาเรื่องน้ำของชุมชน (ก่อน) แต้มต่อ
(2) การวางแผน และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน    20%
(3) การดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ            30%
(4) ผลสำเร็จ/การเปลี่ยนแปลง บรรลุเป้าหมาย        30%
(5) ศักยภาพสู่เครือข่ายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน    20%

                3) ชุมชนที่ได้รับคัดเลือกเข้าประกวด รวม 20 ชุมชน จากทุกภาค จะต้องเป็นชุมชนที่บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตามแนวพระราชดำริ เกิดผลสำเร็จที่เห็นได้เป็นรูปธรรม และมีศักยภาพในการขยายเครือข่ายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้ชุมชนอื่นๆ
          2. การประเมินผล
              คณะกรรมการตัดสิน จะเข้าประเมินผลพื้นที่ของแต่ละชุมชน เพื่อสำรวจ และพิจารณาการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชน การประเมินผลชุมชนจะมีขึ้น 2 ครั้ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                   • ครั้งที่ 1 การสำรวจพื้นที่จริง 20 ชุมชน ในเดือนสิงหาคม 2553
                      o สำรวจพื้นที่เบื้องต้น
                      o รับฟังการดำเนินงานในการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชน
                   • ครั้งที่ 2 การสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชน ทั้ง 20 ชุมชน ในเดือนกันยายน  2553
                      o ชุมชนชนะเลิศ และรองชนะเลิศ ปีที่ 1 และ 2 ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์
                      o ชุมชนนำเสนอการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชน
                      o แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชน
                   เกณฑ์การประเมินผลครั้งที่ 1 และ 2
                      การพิจารณา : การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ

หัวข้อ รายละเอียด คะแนนเต็ม
การวางแผนงานและจัดการของชุมชน การน้อมนำแนวพระราชดำริมาใช้ในการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน    30%
การจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนโดยการพึ่งตนเองของชุมชนเป็นหลัก    
การดำเนินงาน    การปฏิบัติตามแผนงาน 40%
ความสามารถแก้ปัญหาที่เห็นผลชัดเจน
การติดตาม และ การประเมินผลการดำเนินงาน
ความต่อเนื่องและความยั่งยืน ผลสำเร็จและการบรรลุเป้าหมาย  30%
เครือข่ายที่ชัดเจนทั้งภายในและภายนอกชุมชน
ศักยภาพในการขยายผลความสำเร็จของชุมชน

              คณะกรรมการตัดสิน จะพิจารณาคัดเลือกชุมชนที่ผ่านการประเมินผล เข้าสู่การพิจารณาในรอบการตัดสินต่อไป
          3. การตัดสิน
              คณะกรรมการตัดสิน จะเข้าสำรวจพื้นที่จริงของชุมชนที่ผ่านเข้าสู่รอบการตัดสิน เพื่อพิจารณาผลการตัดสิน และผลรางวัลของแต่ละชุมชน
                o สำรวจพื้นที่ดำเนินงานและผลการดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน
                o ประเมินผลความยั่งยืนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน
                   เกณฑ์การตัดสิน
                      การพิจารณา:    ความยั่งยืนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ

หัวข้อ รายละเอียด คะแนนเต็ม
การวางแผนงานและจัดการของชุมชน การน้อมนำแนวพระราชดำริมาใช้ในการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน    30%
การจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนโดยการพึ่งตนเองของชุมชนเป็นหลัก    
การดำเนินงาน    การปฏิบัติตามแผนงาน 40%
ความสามารถแก้ปัญหาที่เห็นผลชัดเจน
การติดตาม และ การประเมินผลการดำเนินงาน
ความต่อเนื่องและความยั่งยืน ผลสำเร็จและการบรรลุเป้าหมาย  30%
เครือข่ายที่ชัดเจนทั้งภายในและภายนอกชุมชน
ศักยภาพในการขยายผลความสำเร็จของชุมชน


งานประกาศผล

          ชุมชนที่เข้าร่วมประกวด ครั้งที่ 4 จะเข้าร่วมพิธีประกาศผล รวมทั้ง งานสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชน ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นภายในเดือนธันวาคม 2553
 
รางวัล

 

แบบถ้วยรางวัล


          1.    รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
          2.    รางวัลรองชนะเลิศ ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
          3.    รางวัลชมเชยจะได้รับใบเกียรติบัตรแสดงความยินดี จาก ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล ประธานคณะกรรมการจัดงาน
              หมายเหตุ: รางวัลเพิ่มเติมจากภาคเอกชนที่สนับสนุน

แผนการดำเนินงาน


พื้นที่ดำเนินงาน

 

 


ผลที่จะได้รับ

          1)    เกิดบทเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ
          2)    เกิดเครือข่ายการเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างชุมชน
          3)    เกิดเครือข่ายความร่วมมือเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน

 

หน่วยงานรับผิดชอบ : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
  เลขที่ 108 อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ชั้น 8 ถนนรางน้ำ
  แขวงถนนพญาไท ราชเทวี กรุงเทพ 10400
  โทรศัพท์ 0-2642-7132
  โทรสาร  0-2642-7133
  เว็บไซต์ http://www.haii.or.th/thailandwaterchallenge/

 

 

 

 

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» โครงการจัดทำแผนที่ออนไลน์ระบบนิเวศและเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่า ชายเลนและชายฝั่ง บริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
» โครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศพระราชกรณียกิจผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
» โครงการการคัดเลือกนักศึกษา และครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น
» โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี่
» โครงการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป