กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลงานกระทรวง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การถ่ายทอดเทคโนโลยี โครงการหมู่บ้านกระเทียมและวิทยาศาสตร์การเกษตร ศูนย์การเรียนรู้ห้วยไฟ อ.ภูซาง จ.พะเยา

โครงการหมู่บ้านกระเทียมและวิทยาศาสตร์การเกษตร ศูนย์การเรียนรู้ห้วยไฟ อ.ภูซาง จ.พะเยา

พิมพ์ PDF

ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล

          จังหวัดพะเยาผลิตกระเทียมในปี 2553 รวมกว่า 8,200 ตัน/ปี จากพื้นที่เพาะปลูกกว่า 8,000 ไร่ เกษตรกรจำนวน 6,000 ราย อำเภอที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากได้แก่ อำเภอเมือง อ.ดอกคำใต้ จุน ภูซาง เชียงคำ ปง และเชียงม่วน ตามลำดับ มีผลผลิตต่อไร่ 700 กิโลกรัม/ไร่ ราคาต้นฤดู (มีนาคม) ประมาณ 25 บาท/กก (พาณิชย์จังหวัดพะเยา 2553) คาดว่าจะมีราคาดีกว่านี้ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรได้หันมาเก็บกล้าเพื่อปลูกในปี 2554 จำนวนมาก เพราะปี 2553 มีราคาดี ทำให้คาดว่าปีหน้า ราคาจะตกต่ำไปอยู่ราวๆ 5-8 บาท/กก. ดังเช่นเมื่อปี 2551 วงจรนี้ทำให้เกษตรกรประสบภาวะขาดทุน สาเหตุส่วนหนึ่งคือการวางแผนการเพาะปลูก ตลอดจนการบริหารจัดการทางการเกษตร ไม่ดีพอ อีกส่วนหนึ่งคือ เกษตรกรขาดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หากมีการสอดแทรกความรู้นี้เข้าไปสู่กลุ่มเกษตรกรอย่างเหมาะสมแล้ว จะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง แข็งแรง พอเพียง และพึงตนเองได้ เนื่องจาก อำเภอภูซางและเชียงคำ มีการทำการเกษตรบนเขตต้นน้ำ ที่ปล่อยน้ำสู่น้ำตกภูซาง และราชการก็จัดทำอ่างเก็บน้ำ เพื่อการชลประทานในท้องที่ การบูรณาการให้เกษตรกรพึงตนเองได้ทางเศรษฐกิจ โดยพึ่งพาสินค้าเกษตรดั้งเดิมที่อยู่คู่ชุมชนมานาน ได้แก่ การปลูกกระเทียม เข้ากับการใช้ชีวิตร่วมกับป่าต้นน้ำ ก็จะทำให้ชุมชนมีความยั่งยืน เมื่อความทราบแก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จึงมีพระกระแสดำรัส ให้มูลนิธิชัยพัฒนา ชลประทานอำเภอภูซาง และจังหวัดพะเยา ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ให้คงรักษาการเพาะปลูกกระเทียมต่อไปอย่างยั่งยืน
          กระเทียมเจียวไร้ไขมัน ผลงานวิจัยของ นักศึกษาโปรเจค นายชวลิต ทองฤทธิ์ และนางสาวชลิตา สว่างสุรีย์ ภายใต้การควบคุมของ ผศ.จิรวัฒน์ กันต์เกรียงวงศ์  รศ.ดร.ประเวทย์ ตุ้ยเต็มวงศ์ และ รศ.ดร.วรพจน์ สุนทรสุข ได้รับรางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา จากมูลนิธิชัยพัฒนา ในการส่งประกวดผลงาน ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกระเทียม จังหวัดพะเยา ประเภทสถาบันการศึกษา เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2552 โดย รศ.ดร.ประเวทย์ เป็นตัวแทนเดินทางไปรับรางวัล ผลงานนี้จะได้รับการสนับสนุนให้นำเสนอแก่ประชาชนทั่วไปที่สยามพารากอน ในเดือนกันยายน 2552 โครงการประกวดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกระเทียม จังหวัดพะเยา เกิดจากการดำเนินงานของจังหวัดพะเยา มูลนิธิชัยพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ที่ต้องการให้โครงการมีความยั่งยืน และเป็นกำลังหลักในการรักษาต้นน้ำของน้ำตกภูซาง โครงการนี้สนับสนุนและกำกับดูแลโดย จังหวัดพะเยา (พาณิชย์จังหวัด) ชลประทาน อ.ภูซาง ศูนย์การเรียนรู้ห้วยไฟในพระราชดำริ และมูลนิธิชัยพัฒนา ที่เริ่มต้นโดยการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวด้วยโครงการประกวดผลิตภัณฑ์ดังกล่าว หากสามารถทำให้โครงการนี้ยั่งยืนได้ตามพระราชประสงค์ จะทำให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็ง มั่นคง เป็นศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับชาวบ้าน สำหรับชุมชนและนักเรียน นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่ อ.ภูซาง อ.เชียงคำ และ อ.ดอกคำใต้ ตลอดจนอำเภอใกล้เคียงและทำให้ชาวบ้านร่วมกันอนุรักษ์ต้นน้ำ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการสนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็ง และยั่งยืนต่อไป

 

วัตถุประสงค์
          1. หาแนวทางแก้ปัญหากระเทียมล้นตลาด และราคากระเทียมตกต่ำ ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
          2. ให้คำปรึกษา แนะนำ ด้านการผลิต การแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและการนำกระเทียมไปใช้ประโยชน์
          3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตด้าน กระเทียม และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่ม

 

กิจกรรมและแผนการดำเนินงาน
          ให้คำปรึกษา แนะนำ การแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและการนำกระเทียมไปใช้ประโยชน์
          1. ด้านการผลิตกระเทียมอบแห้ง และการแปรรูปกระเทียมเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อส่งจำหน่าย ผ่านมูลนิธิชัยพัฒนา และช่องทางอื่นๆ
          2. อบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกระเทียม และการใช้กระเทียมเป็นวัตถุดิบ เพื่อส่งจำหน่ายในรูปของผลิตภัณฑ์จากกระเทียม และผลิตเป็นสินค้าอุตสาหกรรมส่งให้แก่โรงงานผู้ใช้กระเทียม
          3. พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าแก่กระเทียมในรูปอื่นๆ ได้แก่ กระเทียมผง กระเทียมเม็ด และน้ำมันกระเทียม เป็นต้น
          4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปกระเทียม และวัสดุการเกษตรในท้องที่ เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์วัสดุทางการเกษตร ร่วมกับการแปรรูปกระเทียม ให้ชุมชนเข้มแข็ง ยั่งยืน
          5. อบรมและตรวจรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตร GAP
          6. ใช้ประโยชน์วัสดุทางการเกษตรเหลือทิ้งในท้องที่ เป็นพลังงานทดแทน ลดการใช้ฟืนจากป่า เป็นการป้องกันป่าต้นน้ำ

 

งบประมาณ
          งบประมาณประจำปี 2553 จำนวน 600,000 บาท

 

พื้นที่ดำเนินงาน
          กลุ่มแปรรูปกระเทียม ในโครงการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาเกษตรอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ หมู่ที่ 11 ตำบลภูซาง อ.ภูซาง จ.พะเยา

 

 

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
          4 ปี (2553-2556)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
          1. มีความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม
          2. มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน/เกษตรกร
          3. เกษตรกรมีความรู้ด้านการผลิตและการบริหารการค้า
          4. เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จากกระเทียม/หอมแดง 
          5. มีแนวทางการใช้ประโยชน์จากวัสดุทางการเกษตร (ซังข้าวโพด)
          6. ชุมชนมีความเข้มแข็ง ยั่งยืน
          7. ป่าต้นน้ำได้รับการดูแล มีการใช้ทรัพยากรจากป่าไม้ที่เหมาะสม

 

ผู้รับผิดชอบ

  ชื่อ - นามสกุล นายพงศ์ภรณ์ อนุสกุลโรจน์
  ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี
    ผู้จัดการทั่วไป  สำนักงานเทคโนโลยี SMEs
  ที่ทำงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
       126  ถนนประชาอุทิศ  แขวงบางมด   เขตทุ่งครุ  กทม. 10140
  โทรศัพท์ 0-2470-8326-30
  โทรสาร 0-2470-8050
  e-mail อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
  ชื่อ - นามสกุล รศ.ดร. ประเวทย์  ตุ้ยเต็มวงศ์
  ตำแหน่ง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์
  ที่ทำงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
    126  ถนนประชาอุทิศ  แขวงบางมด   เขตทุ่งครุ  กทม. 10140
  โทรศัพท์ 0-2470-9878
  โทรสาร 0-2470-8050
  e-mail  -
     


หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  ถ.พระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
  โทร. 0 2 333 3700 Call Center 1313
  โทรสาร 0 2 333 3833
  เว็บไซต์ หมู่บ้านกระเทียมและวิทยาศาสตร์การเกษตร ศูนย์เรียนรู้ห้วยไฟ

 


 

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» โครงการจัดทำแผนที่ออนไลน์ระบบนิเวศและเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่า ชายเลนและชายฝั่ง บริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
» โครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศพระราชกรณียกิจผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
» โครงการการคัดเลือกนักศึกษา และครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น
» โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี่
» โครงการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป