กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลงานกระทรวง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การส่งเสริมการเรียนรู้ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ในโรงเรียนชนบท

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ในโรงเรียนชนบท

พิมพ์ PDF

ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล

           จากแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร  โดยเฉพาะกลุ่มเด็กด้อยโอกาสให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเพิ่มโอกาสให้ได้รับการพัฒนามากขึ้น  ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ  สวทช. จึงได้ดำเนินโครงการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท (Science in Rural Schools : SiRS)  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเด็กและเยาวชน ที่มุ่งเน้นการกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนเกิดความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ่นในด้านกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ทำให้เกิดการปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียน  โดยการสร้างความเข้มแข็งให้กับครูและบุคลากรในโรงเรียนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเด็กและเยาชนอย่างยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์

         -  พัฒนากระบวนการเรียนรู้ ว และ ท แก่เด็กและเยาวชนในถิ่นธุรกันดาร
         -  กระตุ้นให้เกิดการนำกระบวนการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น
         -  สร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารได้เข้าถึงองค์ความรู้ด้าน ว และ ท
         -  นำกระบวนการเรียนรู้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนและชุมชนอย่างยั่งยืน

กิจกรรมและแผนการดำเนินงาน

          -  ส่งเสริมการเรียนรู้ครูและนักเรียนผ่านค่ายเรียนรู้วิทยาศาสตร์และโครงงาน
             วิทยาศาสตร์
          -  การจัดทำสื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          -  การจัดนิทรรศการ  ประกวดโครงงาน ประชุมวิชาการ และอื่นๆ

ผลการดำเนินงานโดยสรุป

          โครงการ SiRS จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถและพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 32 ครั้ง ให้กับคณะครูและนักเรียนจำนวน 4,600 คน ใน 139 โรงเรียนและ 109 ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง ใน จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ จ.สกลนคร จ.พังงา และจ.นราธิวาส นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนในพื้นที่ จ.น่าน จ.แพร่ และ จ.เชียงราย โดยมีผลการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่ ดังเช่น
การพัฒนาครูและเสริมสร้างความสามารถของโรงเรียน  โดยได้ดำเนินโครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากการเกษตรอาหารกลางวันจังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่  จังหวัดสกลนคร และจังหวัดพังงา  โครงการครุวิจัยอุตสาหกรรมเกษตร ปี 2553  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  โครงการฝึกอบรมการทำวิจัยอย่างง่าย สำหรับบุคลากรศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่  โครงการโรงเรียนต้นแบบท้องถิ่นฐานวิทยาศาสตร์ สำหรับโรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่  และโรงเรียนบ้านบอนสหราษฎรอุทิศ จังหวัดสกลนคร  ค่ายเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากกล้วยจังหวัดสกลนคร  และจังหวัดนราธิวาส  โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาครูเครือข่ายคุณภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  จังหวัดพังงา”  และโครงการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการอยู่ดีมีสุขสำหรับโรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้  โครงการ “ เรียน เล่น คิดแบบนักวิทยาศาสตร์น้อย นราธิวาส”  และโครงการการจัดกิจกรรมค่ายเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ  โรงเรียนสุไหงโก-ลก  
การสร้างความสนใจและพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน  โดยจัดกิจกรรมงานเด็กวิทย์คิดไกลกับไอที ครั้งที่ 3 จ.พังงา เมื่อวันที่ 3-4 สิงหาคม 2553 ณ โรงเรียนราชประชานุ  การสนับสนุนเด็กเรียนดีโรงเรียนพระราชทานทับละมุ และโรงเรียนคุระบุรีชัยพัฒนาพิทยาคม จังหวัดพังงา เข้าค่ายโอริกามิ ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร  งานพัฒนาภูมิปัญญาและทักษะชีวิตครั้งที่ 6 อ.แว้ง จ.นราธิวาส

          สำหรับในพื้นที่ จ.น่าน  เน้นการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของครูและนักเรียนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยผ่านโครงการคลีนิคโครงงานวิทยาศาสตร์ การผลักดันให้เกิดเครื่อข่ายชมรมครูวิทยาศาสตร์อำเภอบ่อเกลือและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับครูและนักเรียนในพื้นที่ โดยมีนักวิจัย สวทช. เป็นพี่เลี้ยง การให้คำปรึกษาและสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์  สนับสนุนและ/หรือจัดค่ายให้กับนักเรียน การพัฒนาศักภาพนักเรียนแกนนำคนรักภูฟ้า แกนนำเยาวชนในพื้นที่อำเภอบ่อเกลือให้สามารถจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ รวมทั้งมุ่งเสริมสร้างความสามารถของโรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ฐานวิทย์ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทั้งโรงเรียนอย่างเป็นระบบอย่างยั่งยืน

          ส่วนในพื้นที่ จ.เชียงราย และจ.แพร่ เน้นการพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล และการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบให้กับครู โดยผ่านการทำวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่าน เขียนภาษาไทยไม่คล่องของนักเรียนสามเณร และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนพระปริยตธรรมฯ จ.เชียงราย และจ.แพร่ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551  เพื่อให้ครูจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องทั้งหลักพุทธศาสนาและแผนกสามัญ นอกจากนี้โครงการฯ ได้พัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้สร้างและกระตุ้นให้นักเรียนสามเณรมีนิสัยชอบการสืบค้นและค้นคว้า ความก้าวหน้า เช่น จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ในงานวิชาการสามเณรเชียงรายสัมพันธ์ มีโครงงานวิทยาศาสตร์ส่งเข้าประกวดจำนวน 22 โครงงานและมีผู้เข้าร่วมงานจำนวน 500 รูป/คน   และได้จัดนิทรรศการ/เสวนา ในงาน 30 ปี กพด. จ.แพร่ และ จ.เชียงราย  อบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 3 ครั้ง ผู้เข้าร่วมจำนวน 190 รูป/ คน  และจัดค่ายเรียนรู้วิทยาศาสตร์วิถีพุทธ ผู้เข้าร่วมจำนวน 120 รูป/คน
(รายละเอียดตามเอกสารแนบ ข้อมูลเพิ่มเติมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ในโรงเรียนชนบท )
 


 

งบประมาณ

        งบประมาณปี 2553 เป็นเงิน  6,200,000  บาท
        งบประมาณปี 2554 เป็นเงิน  4,700,000  บาท
        งบประมาณปี 2555 เป็นเงิน  4,700,000  บาท


พื้นที่ดำเนินงาน

          อ. บ่อเกลือ และอ. เฉลิมพระเกียรติ  จ. น่าน  อ. กุสุมาลย์ /อ. เต่างอย จ. สกลนคร จ. แม่ฮ่องสอน อ. แว้ง  จ. นราธิวาส  อ. อมก๋อย และอื่นๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ จ. กาญจนบุรี อ. นายาว  จ. ฉะเชิงเทรา อ.อุ้งผาง จ. ตาก  และ จ. นครศรีธรรมราช

 

 


ระยะเวลาดำเนินงาน     2552-2554
 

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          ครูและนักเรียนนำกระบวนการคิด และองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในกระบวนการเรียน และการสอน รวมทั้งประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ผู้รับผิดชอบโครงการ

          1.   นางสาวกิตติยา บำบัดภัย
          หน่วยบริการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท
          ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
          โทร. 025646700 ต่อ 3637
          e-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

          2.  นางสาวสุคนธา อาวัชนาการ
          หน่วยบริการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท
          ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
          โทร. 02-564-6700 ต่อ 3635
          e-mail :  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

          3. นางลัดดา  หงส์ลดารมภ์
          ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ สำนักงานกลาง
          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
          โทร. 02-644-8150 ต่อ 702
          โทรสาร 02-333-3934
          e-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

เอกสารแนบ

          ข้อมูลเพิ่มเติมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ในโรงเรียนชนบท

 

 

หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  73/1 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
  กรุงเทพฯ 10400
  โทรศัพท์ 0-2644-8150-54
  โทรสาร 0-2644-8027-29
  เว็บไซต์ http://www.nstda.or.th

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» โครงการจัดทำแผนที่ออนไลน์ระบบนิเวศและเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่า ชายเลนและชายฝั่ง บริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
» โครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศพระราชกรณียกิจผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
» โครงการการคัดเลือกนักศึกษา และครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น
» โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี่
» โครงการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป