กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลงานกระทรวง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต โครงการพื้นที่ปฏิบัติการจังหวัดน่าน “ ไบโอเทค -ศูนย์ภูฟ้าฯ กับการพัฒนาชนบท

โครงการพื้นที่ปฏิบัติการจังหวัดน่าน “ ไบโอเทค -ศูนย์ภูฟ้าฯ กับการพัฒนาชนบท

พิมพ์ PDF

ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล

          เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรและทอดพระเนตรบ่อเกลือสินเธาว์ ณ บ้านบ่อหลวง อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรที่มีความด้อยโอกาสทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม จึงได้มีพระราชดำริให้สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ฯ ดำเนินการช่วยเหลือการพัฒนาในพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

วัตถุประสงค์

              พัฒนาศูนย์ศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ รวมถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น   

กิจกรรมและแผนการดำเนินงาน

          -  จัดอบรมการทำโครงงานให้กับครู และนักเรียน
          -  จัดค่ายเรียนรู้วิทยาศาสตร์
          -  จัดกิจกรรมพัฒนาครู โดยอบรมเชิงปฏิบัติการ
          -  พัฒนาสื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
          -  จัดกิจกรรมในงานวันเด็ก
          -  จัดทำโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนแกนนำท้องถิ่นฐานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
        -  พัฒนาศูนย์ศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมภูฟ้า

ผลการดำเนินงานโดยสรุป

           การเข้าไปดำเนินงานภายใต้แผนภูฟ้าพัฒนา ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2550-2554) ซึ่งเริ่มจากการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา(พ.ศ.2552- 2554) ที่ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์ภูฟ้าพัฒนา 6 ยุทธศาสตร์ คือ เพิ่มผลผลิตข้าว ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้  พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการที่ดี   ผลการดำเนินงานพัฒนาตามยุทธศาสตร์ ในปี 2553 สรุปได้ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ที่  1  เพิ่มผลผลิตข้าว
           ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาเกษตรกรและราษฎรในตำบลภูฟ้าประสบปัญหาปลูกข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภคตลอดทั้งปี เพราะพื้นที่มีความลาดชันสูงการปลูกข้าวส่วนใหญ่จึงเป็นการปลูกข้าวไร่  ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ทำให้ผลผลิตต่ำและในปีที่ผ่านมายังพบปัญหาเรื่องหนูทำลายผลผลิตข้าว ดังนั้นในปี 2553 ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาจึงได้ดำเนินการนำเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าว ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา ลำปาง  โดยการสนับสนุนของ สวทช. โดยไบโอเทค มาถ่ายทอดให้เกษตรกรที่ปลูกข้าว รวมทั้งจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ  ตลอดจนปรับปรุงดินในแปลงข้าวของเกษตรกร  จากการดำเนินการดังกล่าวคาดว่าผลผลิตข้าวใน ปี 2553 จะเพิ่มขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ลดรายจ่าย
           จากการสำรวจปัญหาของครอบครัวเกษตรกรในศูนย์ภูฟ้าพัฒนา  พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีหนี้สินเพราะมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ  เนื่องจากเกษตกรหันมานิยมการซื้ออาหารจากรถขายกับข้าวที่ขึ้นมาขายตามหมู่บ้านแทนการผลิตอาหารในพื้นที่  ดังนั้น ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาจึงได้ดำเนินการส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้เกษตรกรรู้จักวางแผนในการใช้จ่ายในครัวเรือน  ส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกผักอินทรีย์ ปลูกพืชพื้นบ้านและเลี้ยงสัตว์เพื่อให้เกษตรกรสามารถพี่งพาตนเองด้านอาหารได้

ยุทธศาสตร์ที่ 3  เพิ่มรายได้
           สำหรับเกษตรกรที่มีความสามารถพึ่งพาตนเองด้านอาหารได้แล้ว  ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพภาคเกษตรให้เกษตรกรนำผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคมาจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว โดยเฉพาะการปลูกชาอูหลงและปลูกหม่อนผล โครงการแปรรูปอาหารศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบพัฒนาจังวัดน่านปีละ 2 ล้านบาท จะเป็นแหล่งรับซื้อวัตถุดิบผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาทรพัยากรมนุษย์
           ดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้  โดยพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในศูนย์ภูฟ้าพัฒนา เช่น ห้องสารสนเทศชุมชน  ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  ห้องนิทรรศการการเรียนรู้  และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นต้น  ซึ่งในปี 2553 มีผู้เข้ามาใช้บริการแหล่งเรียนรู้ของศูนย์ภูฟ้าพัฒนาเป็นจำนวนมาก  ทั้งจากในและนอกพื้นที่  และมีผู้มาศึกษาดูงานจากหน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ จำนวน 14 คณะ รวมทั้งสิ้น 698 คน 

ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
           จากการที่ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาประสบปัญหาเรื่องน้ำไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรมตลอดทั้งปี  จึงได้ดำเนินการบริหารจัดการน้ำ โดยการซ่อมแซม บำรุงรักษา และแก้ไขระบบน้ำให้สามารถใช้การได้  และจากพื้นที่บางส่วนของเกษตรกรมีความลาดชันสูงไม่เหมาะกับการทำเกษตรกรรม  จึงได้ส่งเสริมการปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง  จัดสร้างฝายผสมผสานเพื่อลดการเกิดการชะล้างพังทะลายของดิน  เพาะพันธุ์กล้าไม้แจกจ่ายให้เกษตรกร  รวมทั้งการดูแลรักษาสภาพป่าในพื้นที่ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา  โดยจัดกิจกรรมปลูกป่าเชิงระบบนิเวศน์  ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติในวันสำคัญต่าง ๆ 

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการที่ดี
           การดำเนินงานของศูนย์ภูฟ้าพัฒนา  จะเป็นการดำเนินงานในลักษณะของการบูรณาการงานหลาย ๆ ด้าน จากหลาย ๆ หน่วยงานที่เข้ามาดำเนินงานสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ดังนั้นภายในศูนย์ภูฟ้าพัฒนาจึงมีผู้เข้ามาปฏิบีติงานประจำอย่างหลากหลาย  ในปีงบประมาณ 2553 มีจำนวน 71 คน จาก 12 หน่วยงาน  จึงต้องอาศัยการประสานงานอย่างดีกับทุกหน่วยงาน  มีการจัดทำฐานข้อมูลของเกษตรกรทั้ง 127 ครอบครัว และจัดทำเว็บไซท์ www.phufacenter.com เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานในศูนย์ภูฟ้าพัฒนาให้กับหน่วยงานและผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาและเยี่ยมชม 


งบประมาณ

          งบประมาณปี 2553 เป็นเงิน  1,500,000  บาท
          งบประมาณปี 2554 เป็นเงิน  1,500,000  บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

          อ.บ่อเกลือ จ.น่าน

 

ระยะเวลาดำเนินงาน       2552-2554

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          สามารถอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมได้  และประชากรในพื้นที่มีความเป็นอยู่ดีขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการ

           1.  นางสาวผ่องพรรณ เอกอาวุธ
           หน่วยบริการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท
           ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
           สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
           โทร. 02-564-6700 ต่อ 3641
           อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

           2. นางลัดดา  หงส์ลดารมภ์
           ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ สำนักงานกลาง
           สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
           โทร. 02-644-8150 ต่อ 702
           โทรสาร 02-333-3934
           e-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  73/1 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
  กรุงเทพฯ 10400
  โทรศัพท์ 0-2644-8150-54
  โทรสาร 0-2644-8027-29
  เว็บไซต์หน่วยงาน http://www.nstda.or.th
  เว็บไซต์โครงการ http://www.phufacenter.com

 

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» โครงการจัดทำแผนที่ออนไลน์ระบบนิเวศและเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่า ชายเลนและชายฝั่ง บริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
» โครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศพระราชกรณียกิจผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
» โครงการการคัดเลือกนักศึกษา และครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น
» โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี่
» โครงการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป