กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลงานกระทรวง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต โครงการการใช้ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาชุมชนชนบท อ.เต่างอย จ.สกลนคร

โครงการการใช้ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาชุมชนชนบท อ.เต่างอย จ.สกลนคร

พิมพ์ PDF

ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล

               พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ให้ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรในหมู่บ้านนางอย – โพนปลาโหล ให้ดีขึ้น ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้น โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 อ.เต่างอย จ.สกลนคร จึงถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2526  ภายหลังดำเนินการพัฒนาแล้ว ราษฎรในหมู่บ้านมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และพัฒนาต่อไปด้วยกลุ่มของชาวบ้านเอง
    ปี พ.ศ. 2526 – 2537  โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 เต่างอย ดำเนินงานโดยโครงการหลวง  มีบทบาทในด้านการส่งเสริมการปลูกพืชในระบบเกษตรอุตสาหกรรมและเป็นตลาดรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร เพื่อทำการแปรรูปและจำหน่าย ซึ่งนอกจากมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรแล้วโรงงานหลวงฯ ยังจ้างแรงงาน (ลูกหลานชาวบ้าน) เข้าไปทำงานในโรงงานอีกด้วย  ในอดีตที่ผ่านมาทั้งค่าวัตถุดิบ (ผลผลิตการเกษตร) และค่าแรงงาน ของโรงงานแห่งนี้ ปีละไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท ที่กระจายเข้าไปในชุมชน  ซึ่งส่งผลต่อการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของชุมชน ตามแนวพระราชดำริของการก่อตั้งโรงงาน ในด้านสังคมอาจกล่าวได้ว่าโรงงานหลวงฯ  ได้เป็นกลไกในการสร้างและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว ไม่ทำให้เกิดครอบครัวแตกแยก  เนื่องจากเป็นแหล่งจ้างงานขนาดค่อนข้างใหญ่  (ประมาณ 500 คน)  ทำให้ลูกหลานของเกษตรกรหรือชาวบ้านไม่ต้องอพยพไปหางานทำในเมือง แต่ยังคงอยู่ร่วมกันและทำงานได้ในชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม  กล่าวได้ว่าระบบเกษตรอุตสาหกรรม มีเป้าหมายให้เกษตรกรมีการวางแผนการเพาะปลูกพืชให้สัมพันธ์กับตลาด  เน้นการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมผสมผสานกับการจัดการทรัพยากร (ดิน น้ำ)  เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ ทำให้การเกษตรกรรมมีประสิทธิภาพสูง ไม่ต้องขยายพื้นที่การเกษตร ซึ่งอาจนำมาซึ่งการแผ้วถางป่าเพื่อนำมาใช้เพื่อการเกษตร จึงนับได้ว่าระบบเกษตรอุตสาหกรรมได้ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    ปี พ.ศ. 2538 – 2550  โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 เต่างอย  เปลี่ยนการดำเนินงานโดยบริษัท ดอยคำ จำกัด ดำเนินงานโรงงานฯ โดยใช้กลไกทางธุรกิจเป็นตัวตั้ง รวมทั้งทำให้ความใกล้ชิดกับชุมชนลดลง ผลการดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจ บริษัท ดอยคำ จำกัด จึงมีแนวคิดในการปิดโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3  เต่างอย  เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ทรงทราบ  จึงมีแนวพระราชดำริให้ชุมชนได้ดำเนินกิจการต่อจากบริษัท ดอยคำ จำกัด โดยให้ใช้โรงงานหลวงฯ เป็นกลไกการพัฒนาพื้นที่ หารูปแบบวิธีที่เหมาะสมให้ชุมชนเป็นเจ้าของกิจการ ดังนั้นสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  และหน่วยงานพันธมิตรในพื้นที่   ได้พิจารณาศักยภาพของพื้นที่ พบว่าพื้นที่ความพร้อมด้านพื้นที่เพาะปลูก มีอ่างเก็บน้ำพร้อมระบบชลประทานตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่  เกษตรกรมีขีดความสามารถในการเพาะปลูกพืชในระบบเกษตรอุตสาหกรรม  มีแหล่งปลูกพืชขนาดใหญ่สามารถใช้เป็นวัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร  และพื้นที่มีผลผลิตจากพืชตามฤดูกาลที่อยู่ตามไร่นาของเกษตรกร  หากรวบรวมสามารถใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานอุสาหกรรมเกษตร   นอกจากนี้ ชุมชน โดยรอบสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณจึงในจัดเป็นพิพิธภัณฑ์  ในการเรียนรู้แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการพัฒนาพื้นที่ทุรกันดารโดยอุตสาหกรรม  และการทรงงานในพื้นที่ครั้งแรกของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  ตามรอยพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ในปี พ.ศ. 2551 จึงได้ดำเนิน “โครงการวิสาหกิจชุมชน – โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป” โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้โดยใช้โรงงานเป็นเครื่องมือของชุมชนในการสร้างรายได้ มีกลุ่มเป้าหมายพื้นที่รอบภูพาน 3 จังหวัด (นครพนม มุกดาหาร และสกลนคร) เกษตรกรจำนวน 5,000 ครัวเรือน ใน 5 หมู่บ้าน


วัตถุประสงค์

                  เพื่อให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ โดยใช้โรงงานหลวงสำเร็จรูปที่ 3  เป็นเครื่องมือของชุมชน  ในการสร้างรายได้ มีกลุ่มเป้าหมายพื้นที่รอบภูพาน 3 จังหวัด (นครพนม มุกดาหาร และสกลนคร)

กิจกรรมและแผนการดำเนินงาน

          - กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ระยะเวลาดำเนินงาน  3 ปี 
          - ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี


ผลการดำเนินงานโดยสรุป

               มีการจดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจุชมชนจำนวน 10 กลุ่ม คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตามโครงการตามพระราชดำริบ้านนางอย – โพนปลาโหล สมาชิกทั้งสิ้นจำนวน 395 คน จาก 3 อำเภอ คือ อำเภอเต่างอย อำเภอโคกศรีสุพรรณ และอำเภอเมืองสกลนคร   กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและเป็นเครือข่าย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีระดับชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวปลอดสารพิษ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าว ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมทำให้เกิดองค์ความรู้ และมีการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชน อีกทั้งยังมีการสร้างความความสามารถของสมาชิกอย่างเต็มที่ และมีการจัดกิจกรรมเพื่อกระจายองค์ความรู้ที่มีผ่านศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การดำเนินงาน  ซึ่งในอนาคตมีแผนในการขยายผลในวงกว้าง เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 


  ประธานกลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

                    

 ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนมอบข้าวกล้องงอกให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
(นายวิทยา  ผิวผ่อง)



งบประมาณ

           งบประมาณปี 2553 เป็นเงิน  1,000,000 บาท
           งบประมาณปี 2554 เป็นเงิน  1,500,000 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

          พื้นที่รอบภูพาน 3 จังหวัด ได้แก่ นครพนม มุกดาหาร และสกลนคร


ระยะเวลาดำเนินงาน

          เริ่มตั้งแต่ปี 2526 และดำเนินการต่อเนื่องทุกปี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          •    ช่วยแก้ปัญหาและยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพและในด้านการพัฒนาใช้ประโยชน์และอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
          •    เกิดเครือข่ายชุมชนที่มีขีดความสามารถในการเสริมพลังและบูรณาการเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี
          •    เกิดกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สื่อการเรียนรู้  

ผู้รับผิดชอบ

    1. นายสมศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ
        หน่วยบริการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท
        ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
        สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
        โทร. 02-564-6700 ต่อ 3627
         e-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

    2. นางลัดดา  หงส์ลดารมภ์
        ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ สำนักงานกลาง
        สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
        โทร. 02-644-8150 ต่อ 702
        โทรสาร 02-333-3934
         e-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
 
 

หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  73/1 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
  กรุงเทพฯ 10400
  โทรศัพท์ 0-2644-8150-54
  โทรสาร 0-2644-8027-29
  เว็บไซต์ http://www.nstda.or.th

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» โครงการจัดทำแผนที่ออนไลน์ระบบนิเวศและเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่า ชายเลนและชายฝั่ง บริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
» โครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศพระราชกรณียกิจผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
» โครงการการคัดเลือกนักศึกษา และครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น
» โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี่
» โครงการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป