กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลงานกระทรวง ผลงานรัฐบาลครบรอบ 1 ปี อินโฟกราฟิกส์ กระทรวงวิทย์ฯ แจงขีดความสามารถการแข่งขันไทยขึ้นอันดับ 28 สถิติการใช้เน็ตนำโด่งเล่นโซเชียลติดเกมส์ ห่วงแรงงานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขาดแคลน

กระทรวงวิทย์ฯ แจงขีดความสามารถการแข่งขันไทยขึ้นอันดับ 28 สถิติการใช้เน็ตนำโด่งเล่นโซเชียลติดเกมส์ ห่วงแรงงานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขาดแคลน


 

               กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน.) ชี้ไทยขึ้นอันดับ 28 จาก 30 ในการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน (IMD World Competitiveness) จากประสิทธิภาพการบริหารภาครัฐ นโยบายการเงินการคลังมีอันดับดีขึ้น ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอันดับทรงตัว ห่วงอันดับด้านการศึกษากลับลดลง สถิติการใช้อินเตอร์เน็ตไทยนำโด่งเรื่องการเล่นเกมส์ โซเชียลเน็ตเวิร์ค และดูหนังฟังเพลง ตัวเลขแรงงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทำงานไม่ตรงสายจำนวนมาก

 

               ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการ สวทน. ได้ให้ข้อมูลว่า ไอเอ็มดี (International Institute for Management Development: IMD) ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน (IMD World Competitiveness)ล่าสุด ปี 2559 การจัดอันดับภาพรวมปีนี้ของไทยอยู่ในอันดับที่ 28 จาก 61 ประเทศ ขึ้นมา 2 อันดับ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างฮ่องกง ขึ้นอยู่ในอันดับที่ 1 และสิงคโปร์อยู่อันดับที่ 4 ของโลก โดยหลักเกณฑ์การพิจารณา จะใช้เกณฑ์วัดเรื่องด้านเศรษฐกิจ ด้านประสิทธิภาพการบริหาร ด้านประสิทธิภาพทางธุรกิจ และด้านโครงสร้างซึ่งรวมถึงเรื่องการศึกษา โครงสร้างด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไว้ด้วย  โดยในปีนี้การจัดดันดับประสิทธิภาพการบริหารภาครัฐ นโยบายการเงินการคลังมีอันดับที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากอันดับที่ 27 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับที่ 23 จึงส่งผลให้การจัดอันดับโดยรวมขึ้นมาในอันดับที่ 28 ได้ ในขณะที่อันดับประสิทธิภาพทางธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานมีอันดับลงลงเล็กน้อย หากพิจารณาเกณฑ์วัดเรื่องการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยหลักปัจจัยหนึ่งของการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะเห็นว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นบ้าง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี แต่โดยภาพรวมประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ หากเปรียบเทียบกับประเทศทั่วโลกหรือในภูมิภาคเดียวกัน โดยรั้งอันดับที่ 47 มา 2 ปีซ้อน

 

               ดร.กิติพงค์ฯ กล่าวต่อว่าผลการประมาณการตัวเลขการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาของไทย พบว่าสัดส่วนการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทย (Gross domestic expenditure on R&D : Gross domestic product -GERD:GDP) ปี 2558 ตัวเลขการลงทุนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.65 โดยคาดว่าตัวเลขสัดส่วนการลงทุนจะขึ้นไปถึงร้อยละ 1 ได้ในปี 2561 และมีสัดส่วนการลงทุนภาคเอกชนต่อภาครัฐที่ 71:29 หากสถิติเป็นไปตามที่คาด อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยจะสูงขึ้นไปอยู่ในกลุ่ม 20 ประเทศแรกอย่างแน่นอน

 

               หากพิจารณาตัวเลขด้านทรัพยากรบุคคลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการพิจารณาการเลื่อนอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ พบว่า ณ สิ้นปี 2557 ตัวเลขบุคลากรวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน มีจำนวนประมาณ 84,000 คน คิดเป็นสัดส่วน 13 คน ต่อประชากร 10,000 คน แต่ยังถือว่าเรายังอยู่ในอันดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ อาทิ สัดส่วนบุคลากรวิจัยของประเทศมาเลเซียมีจำนวน 21 ต่อ ประชากร 10,000 หรือประเทศสิงคโปร์มีสัดส่วน 77:10,000 คน เป็นต้น “เป้าหมายคือเราต้องขยับสัดส่วนบุคคลากรวิจัยให้ถึง 25 คน ต่อประชากร10,000 คนในปี 2564” ดร.กิติพงค์ฯ กล่าว

 

               หากมองลงไปถึงกำลังแรงงานทั้งหมดในประเทศไทยที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีจำนวนประมาณ 3.97 ล้านคน เติบโตจากปี 2557 ร้อยละ 5.2 ในจำนวนนี้พบว่ามีคนที่จบการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ แต่ทำงานไม่ตรงสาย มากถึง 1.5 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วงถึงแนวโน้มการขาดแคลนแรงงานและบุคลากรเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคตได้

  

               ดร.กิติพงค์ฯ กล่าวทิ้งท้ายในเรื่องดัชนีชี้วัดด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีในปี 2558 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่42 โดยเลื่อนอันดับขึ้นมาจาก 44 ว่ามีตัวเลขที่น่าสนใจคือ สถิติด้านไอซีทีในปี 2558 จำนวนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์มีเพียงร้อยละ 34 ในขณะที่ประเทศมาเลเซียมีสัดส่วนครัวเรือนทีมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 67 ประเทศสิงคโปร์มีสัดส่วนร้อยละ 88  โดยประเทศไทยมีสถิติกิจกรรมการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ในการเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ค การอัพโหลด ดาว์นโหลดหนัง เพลง และเล่นเกมส์มากถึง 53% แต่สถิติด้านการสืบค้นหาความรู้ ใช้งานและเรื่องการเรียนมีเพียง 26% เท่านั้น


 

ขอข้อมูลเพิ่มเติมงานประชาสัมพันธ์ : นางสาวนิรมล เทพทวีพิทักษ์ หรือ นางสาวมนต์ศิริ ธรมธัช

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)

โทรศัพท์ 02 160 5432 ต่อ 703 (นิรมล) หรือ 081 – 9225149 (มนต์ศิริ)

อีเมล    อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน    Website: www.sti.or.th


เผยแพร่ข่าวโดย : นางสาวนฤมล รัตนสุวรรณ์ 

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834
e-mail :      อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน  Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313
 
 
Tags IMD - สวทน.
 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» “กิติพงค์” ถอดรหัสประเทศไทย แนะนวัตกรรมแห่งอนาคตปูทางสู่ไทยแลนด์ 4.0
» สทน. ลงนามความร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตร ร่วมวิจัยพัฒนาแมลงวันผลไม้สายพันธุ์ใหม่ ใช้ลดปริมาณแมลงในพื้นที่เกษตรกรรม
» สทน. ลงนามความร่วมมือกับวินอะตอม เวียดนาม ร่วมวิจัยและสร้างมาตรการความปลอดภัยทางนิวเคลียร์
» ก.วิทย์ฯ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมร่วมกับประเทศอาเซียน เร่งเดินหน้าแผน APASTI 2015-2025 ให้สมบูรณ์
» ก.วิทย์ฯ จัดประชุมระดมความคิด 10 สมาชิกอาเซียน สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายด้านวิทยาศาสตร์ฯร่วมกัน!
» กระทรวงวิทย์ฯ เดินหน้าปฏิรูปกลไกบริหารจัดการกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
» กระทรวงวิทย์ฯ ผลิตรายการ “ส่องโลกนวัตกรรม” ออกอากาศทางช่องไทยพีบีเอส คัด 80 นวัตกรรมฝีมือคนไทย
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป